Curtiss P-40 Warhawk
พี-40 วอร์ฮอร์ค ถูกออกแบบโดยบริษัท Curtiss-Wright อันเป็นเครื่องบินขับไล่และโจมตีภาคพื้นดิน ใบพัดที่นั่งเดี่ยว P-40 ถูกพัฒนาต่อจาก เครื่องบินขับไล่ใบพัดแบบ P-36 Hawk ให้ดีขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว โดยเครื่องบินที่ใช้
โดยนาวิกโยธินสหรัฐจะเรียกชื่อของมันว่า Warhawk ส่วนในอังกฤษและโซเวียตจะเรียกมันว่า Tomahawk และในรุ่น P-40D มันถูกตั้งชื่อใหม่ว่า Kittyhawk
เครื่อง P-40 โด่งดังอย่างมากในการถูกใช้งานในจีน โดยนาวิกโยธินสหรัฐในชื่อ Flying Tiger และลายปากฉลามอันโด่งดังก็สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลของ P-40E Kittyhawk
บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดที่นั่งเดี่ยว
สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา
ผู้ผลิต : Curtiss-Wright Corporation
ผู้ออกแบบ : โดโนแวน เบอร์ลิน
บินครั้งแรก : 14 ตุลาคม 1938
สถานะ : ปลดประจำการ
ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกสหรัฐ, กองทัพอากาศอังกฤษ, กองทัพอากาศออสเตรเลีย, กองทัพอากาศแคนาดา และ อื่นๆ
ผลิตทั้งหมด : 13,738 ลำ ตั้งแต่ปี 1939-1944
พัฒนาจาก : Curtiss P-36 Hawk
การพัฒนาต่อ : Curtiss XP-46
นักบิน : 1 นาย
ความยาวตัวเครื่อง : 9.66 เมตร
ความกว้างปีก : 11.38 เมตร
ความสูง : 3.76 เมตร
น้ำหนักตัวเปล่า : 2.9 ตัน
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 3.8 ตัน
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 4 ตัน
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Aliison V-1710-39
ความเร็วสูงสุด : 580 กิโลเมตร/ชั่วโมง
พิสัยบินทำการ : 1,100 กิโลเมตร
เพดานบินสูงสุด : 29,000 ฟุต(8,800 เมตร)
อัตราไต่ระดับ : 11 เมตร/วินาที(2,100 ฟุต/นาที)
อาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M2 Browning ขนาด 12.7 มม.(.50) 6 กระบอก กระสุน 900-1,200 นัด
บอมท์ : ระเบิด 250 ถึง 1,000 ปอนด์ บรรทุกได้ 2,000 ปอนด์ ใต้ปีก
Nakajima Ki-27 Otsu
นากาจิม่า เคไอ-27 โอ๊ท หรือ คิวนานะ-ชิกิ เซ็นโตกิ 'Type 97 Fighter' ถูกผลิตโดยบริษัท Nakajima ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ใบพัดใช้งานโดยกองบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่น มันถูกเรียกจากสัมพันธมิตรในชื่อ 'Nate'
Ki-27 เคยประจำการในไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงที่นายพลฮิเดกิ โตโจ ได้มาเยี่ยมชมวัดพระแก้ว จึงลั่นวาจาว่าจะมอบเครื่องบินขับไล่ให้กองทัพอากาศไทยใช้ป้องกันน่านฟ้าจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรมา มิให้ทำลายวัดอันสวยงามแห่งนี้ลง
ข้อมูลของ Ki-27b Otsu
บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดที่นั่งเดี่ยว
สัญชาติ : ญี่ปุ่น
ผู้ผลิต : Nakajima Aircraft Company
บินครั้งแรก : 15 ตุลาคม 1936
สถานะ : ปลดประจำการ
ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกญี่ปุ่น, กองทัพอากาศไทย
ผลิตทั้งหมด : 3,368 ลำ
นักบิน : 1 นาย
ความยาวตัวเครื่อง : 7.53 เมตร
ความกว้างปีก : 11.31 เมตร
ความสูง : 3.3 เมตร
น้ำหนักตัวเปล่า : 1.1 ตัน
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 3.5 ตัน
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 3.9 ตัน
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูบสูบใบพัด Nakajima Ha-1 1 เครื่องยนต์
ความเร็วสูงสุด : 470 กิโลเมตร/ชั่วโมง
พิสัยบินทำการ : 627 กิโลเมตร
เพดานบินสูงสุด : 32,940 ฟุต (12,250 เมตร)
อัตราไต่ระดับ : 15.3 เมตร/วินาที (3,010 ฟุต/นาที)
อาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Type 89 ขนาด 7.7 มม. 2 กระบอก
บอมท์ : ระเบิด 100 กิโลกรัม
Nakajima Ki-43 Hayabusa
นากาจิม่า เคไอ-43 ฮายาบูซะ หรือ 'Army Type 1 Fighter' ถูกผลิตโดยบริษัทนากาจิม่า และถูกใช้งานโดยกองบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สัมพันธมิตรเรียกมันว่า 'Oscar' แต่บ่อยครั้งมันก็ถูกเรียกว่า 'Army Zero' หรือก็คือ Zero แห่งกองทัพบก ที่เปรียบว่ามันร้ายกาจราวกับเครื่องบินรบในตำนานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Mitsubishi A6M Zero
เหมือนกับซีโร่ Ki-43 เป็นเครื่องบินที่มีเกราะบาง ทำให้ตัวเครื่องนั้นเบา สามารถบินได้คล่องแคล่วและง่ายในการแปรขบวนในการรบอย่างมาก ด้วยความสามารถทางการบินอันน่าตกใจนั้น ทำให้ มันเป็นที่เกรงกลัวในหมู่นักบินอเมิรกันที่เน้นเครื่องบินเกราะหนา ที่สู้กับความคล่องตัวของเครื่องบินญี่ปุ่นไม่ได้
ข้อมูลของ Ki-43-IIB Hayabusa
บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดขนาดเบา ที่นั่งเดี่ยว
สัญชาติ : ญี่ปุ่น
ผู้ผลิต : Nakajima Aircraft Company
ผู้ออกแบบ : ฮิเดโอะ อิโตคาวะ
บินครั้งแรก : มกราคม 1939
สถานะ : ปลดประจำการ
ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกญี่ปุ่น,กองทัพอากาศไทย
ผลิตทั้งหมด : 5,919 ลำ ตั้งแต่ปี 1942-1945
นักบิน : 1 นาย
ความยาวตัวเครื่อง : 8.9 เมตร
ความกว้างปีก : 10.8 เมตร
ความสูง : 3.3 เมตร
น้ำหนักตัวเปล่า : 1.9 ตัน
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 2.6 ตัน
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 3 ตัน
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Nakajima Ha-115 1 เครื่องยนต์
ความเร็วสูงสุด : 530 กิโลเมตร/ชั่วโมง
พิสัยบินทำการ : 1,760 กิโลเมตร
เพดานบิน : 36,750 ฟุต (11,200 เมตร)
อาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Ho-103 ขนาด 12.7 มม.(.50) 2 กระบอก
บอมท์ : ระเบิด 250 กิโลกรัม 2 ลูก
Ki-43 ของไทยเคยทำวีรกรรมในการบินขึ้นสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรแบบ B-29 Super Fortress และสามารถยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดเกราะหนาของสัมพันธมิตรตกได้ 1 ลำ
Mitsubishi Ki-21 Nagoya
มิทซูบิชิ เคไอ-21 นาโกย่า ถูกผลิตโดย Mitsubishi และใช้งานโดยกองบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 สัมพันธมิตรเรียกมันว่า 'Sally' หรือ 'Gwen' มันเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางที่เชื่องช้า
ข้อมูลของ Ki-21-IIB Nagoya
บทบาท : เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง
สัญชาติ : ญี่ปุ่น
ผู้ผลิต : Mitsubishi Aircraft Company
บินครั้งแรก : 18 ธันวาคม 1936
ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกญี่ปุ่น, กองทัพอากาศไทย
ผลิตทั้งหมด : 2,064 ลำ(รวม Ki-57)
การพัฒนาต่อ : Mitsubishi Ki-57
นักบิน : 5-7 นาย
ความยาวตัวเครื่อง : 16 เมตร
ความกว้างปีก : 22.5 เมตร
ความสูง : 4.8 เมตร
น้ำหนักตัวเปล่า : 6 ตัน
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 10 ตัน
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Mitsubishi Ha-101 2 เครื่องยนต์
ความเร็ซสูงสุด : 485 กิโลเมตร/ชั่วโมง
พิสัยบินทำการ : 2,700 กิโลเมตร
เพดานบินสูงสุด : 32,800 ฟุต (10,000 เมตร)
อาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Type 89 ขนาด 7.7 มม. 4 กระบอก, ปืนกลหนัก Type 1 -okf 12.7 มม. 1 กระบอก
บอมท์ : ระเบิดหนัก 1 ตัน
ภาพวาด Ki-21 ตัวไทย(สังเกตุสีธงชาติที่แพนหาง)
Grumman F4F Wildcat
กรัมแมน เอฟ4เอฟ ไวด์แค็ท มันถูกออกแบบโดยบริษัท Grumman Aircraft ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ขึ้น-ลงจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ของกรมนาวีสหรัฐ และ ราชนาวีอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ข้อมูลของ F4F-3 Wildcat
บทบาท : เครื่องบินขับไล่
สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา
ผู้ผลิต : Grumman Aircraft
บินครั้งแรก : 2 กันยายน 1937
สถานะ : ปลดประจำการ
ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพเรือสหรัฐ, นาวิกโยธินสหรัฐ, ราชนาวีอังกฤษ, กองทัพอากาศแคนาดา
ผลิตทั้งหมด : 7,885 ลำ
นักบิน : 1 นาย
ความยาวตัวเครื่อง : 8.7 เมตร
ความกว้างปีก : 11.6 เมตร
ความสูง : 3.6 เมตร
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 3.2 ตัน
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Pratt & Whitney R-1830-76 1 เครื่องยนต์
ความเร็ซสูงสุด : 531 กิโมตร/ชั่วโมง
พิสัยบินทำการ : 1,360 กิโลเมตร
เพดานบินสูงสุด : 39,500 ฟุต (12,000 เมตร)
อัตราไต่ระดับ : 11.7 เมตร/วินาที (2,303 ฟุต/นาที)
อาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M2 Browning ขนาด 12.7 มม.(.50) 4 กระบอก กระสุน 450 นัดต่อ กระบอก
บอมท์ : ระเบิด 45 กิโลกรัม 2 ลูก
F4F ทำยุทธวิธีสำคัญในการปกป้องเกาะกัวดัลคาแนลจากเงื้อมมือของจักรวรรดิญี่ปุ่นในการรบระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้าหากหสรัฐไม่สามารถยึดเกาะกาดัลคาแนลได้ ญี่ปุ่นจะสามารถตัดกำลังของออเตรเลียได้อย่างรวดเร็ว และอาจจะผลิกชะตาของสงครามโลกใช้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือในที่สุด
Mitsubishi A6M Zero
มิทซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่ หรือ เรย์-ชิกิ-คันโจ-เซ็นโตกิ(Mitsubishi Navy Type 0 Carrier Fighter) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือ A6M Rei-sen(อุดองเกอิน... เอ๊ยไม่ใช่) หรือ เซโร่เซ็น นั่นเอง มันถูกผลิตโดยบริษัท Mitsubishi บทบาทของมันคือเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาความคล่องตัวสูง ถูกใช้งานโดยกราชนาวีจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สัมพันธมิตรเรียกมันว่า 'Zeke'(ชื่อนี้ใช้ตั้งชื่อเจ้าหมาน้อยใน HOTD ด้วยนะเออ)
ซีโร่ ถือเป็นเครื่องบินระดับตำนานแห่งราชนาวีญี่ปุ่น มันมีเกราะหุ้มลำตัวที่บาง แต่ความคล่องตัวในการบินสูง ทำให้มันเป็นที่น่าเกรงขามในหมู่นักบินอเมริกันที่รู้จักความสามารถอันน่าสะพรึงของมันดี ในช่วงแรกๆของสงคราม แต่เมื่อสัมพันธมิตรกู้ซากซีโร่ได้ ก็นำมาวิจัยหาข้อเสียของมันและสร้างเครื่องบินที่ใช้ในการโจมตีข้อเสียของซีโร่ขึ้นมาสำหรับปราบมันโดยเฉพาะ
ด้วยการที่ถูกยิงตกเป็นจำนวนมากหลังการมาของเครื่องตระกูล 'Cat' ซีโร่ถูกนำไปใช้ในภาระกิจพลีชีพที่รู้จักกันดีว่า 'คามิกาเซ่' จากการขาดนักบินฝีมือดีเป็นจำนวนมาก เหล่าลูกพระอาทิตย์จึงยอมถวายชีวิตเพื่อจมเรือรบแห่งทัพอเมริกาลงให้จงได้
ข้อมูลของ A6M2 Type Zero Model 21
บทบาท : เครื่องบินขับไล่ขึ้น-ลงจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ขนาดเบา ที่นั่งเดี่ยว
ผู้ผลิต : Mitsubishi Aircraft Company
บินครั้งแรก : 1 เมษายน 1939
สถานะ : ปลดประจำการ
ผลิตทั้งหมด : 10,939 ลำ ตั้งแต่ปี 1940-1945
การพัฒนาต่อ : Mitsubishi A6M2-N
นักบิน : 1 คน
ความยาวตัวเครื่อง : 9.06 เมตร
ความกว้างปีก : 12 เมตร
ความสูง : 3.05 เมตร
น้ำหนักตัวเปล่า : 1.6 ตัน
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 2.4 ตัน
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Nakajima Sakae 1 เครื่องยนต์
ความเร็วสูงสุด : 533 กิโลเมตร/ชั่วโมง
พิสัยบินทำการ : 3,105 กิโลเมตร
เพดานบินสูงสุด : 33,000 ฟุต (10,000 เมตร)
อัตราไต่ระดับ : 15.7 เมตร/วินาที (3,100 ฟุต/นาที)
อาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Type 97 ขนาด 7.7 มม.(0.303) 2 กระบอก กระสุน 1,000 นัด, ปืนใหญ่ Type 99 ขนาด 20 มม. 2 กระบอก กระสุน 120 นัด
บอมท์ : ระเบิด 60 กิโลกรัม 2 ลูก, ระเบิด 250 กิโลกรัม 1 ลูก สำหรับภาระกิจ 'คามิกาเซ่'
ส่วนตัวขอบอกว่าซีโร่เป็นเครื่องบินที่สวยมากในสายตาผมเลยทีเดียว ใครสนใจเก็บโมเดลไว้ครอบครอง ตอนนี้ตามห้างทั่วไปมีโมเดลซีโร่สวยๆของ Doyusha ขายตามแผนกโมเดลกล่องครับ
หน้าตาราวๆนี้ ราคาทั่วไปไม่น่าเกิน 250 ครับ(ในตัวเมืองกรุงเทพน่าจะ 199 นะ) งานเนี้ยบ ลายเส้นชัด สวยงามครับ มีฐานสีดำขนาดใหญ่ให้ด้วยใครสนใจ คลิกดูได้ที่รูปค์ด้านล่างครับ ผมทำรีวิวไว้แล้ว
ผมเอาเครื่องบินww2พนชร้อมข้อมูลมาให้ดูกัน