แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย puazalv เมื่อ 2011-10-31 20:24
เกล็ดความรู้ประวัติศาสตร์ครับ
ลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีที่ประชุมกันอยู่บนเรือพระที่นั่งมหาจักรี
-:- ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย-:-
ครั้งที่ ๑ เกาะหมาก(ปีนัง) เสียให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๓๒๙ พื้นที่ ๓๗๕ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ เกิด จาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป
ครั้งที่ ๒ มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖ พื้นที่ ๕๕,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ ๑ ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป
ครั้งที่ ๓ บันทายมาศ(ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
ครั้งที่ ๔ แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ พื้นที่ ๖๒,๐๐๐ ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ ๓ แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ ๒๐ ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง
ครั้งที่ ๕ รัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นการสูญเสียที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่...งจากครั้งก่อนไม่ถึง ๑ ปี
ครั้งที่ ๖ สิบสิงปันนา ให้กับจีนเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๓๙๗ พื้นที่ ๙๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ ๑ ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ ๒ แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
ครั้งที่ ๗ เขมรและเกาะ ๖ เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ พื้นที่ ๑๒๔,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๔ ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดนเขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจากฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๔๓๘ โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.๕ ที่ไปประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป
ครั้งที่ ๘ สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัดกำลังไปปราบ ๒ กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง(เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษาเมืองไลและเมืองเชียงค้อ
ครั้งที่ ๙ ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ ๕ ในห้วงปี ๒๔๓๓ เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
ครั้งที่ ๑๐ ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ พื้นที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย ๑ ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง ๑๕ ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุดของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่อง แต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.๕ เป็นค่าปรับ ร.๕ ต้องนำถุงแดง(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้
ครั้งที่ ๑๑ ฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน,จำปาศักดิ์, ,มโนไพร) ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ พื้นที่ ๒๕,๕๐๐ ตร.กม. ในสมัย.ร.๕ ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึดเมืองตราดแทนอีก ๕ ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย
ครั้งที่ ๑๒ มลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ ๒๔๔๙ พื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย
ครั้งที่ ๑๓ รัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
ครั้งที่ ๑๔ เขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ พื้นที่ ๒ ตร.กม. ในสมัย ร.๙ ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจากหลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพจะเสด็จเขาพระวิหาร จึงไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป
18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นาย นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติ การดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
8 กรกฎาคม พ.ศ 2551 องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก
อาจจะยาวไปหน่อย แต่มันก็เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ขของแผ่นดินไทย เหมือนกัน เลยมาแบ่งปันกันครับ
ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย ๑๔ ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน