ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา หลายภาคในประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก หลายๆ ครอบครัวต้องสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากิน ทั้งยังต้องตกอยู่ในสภาวะ มีการขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
จนมาถึง ณ เวลานี้สถานการณ์น้ำท่วมก็ยังอยู่ในสภาวะวิกฤตอยู่ โดยล่าสุดนี้ได้มีการแถลงการสถานการณ์น้ำท่วมจสกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ว่า จากข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ กรุงเทพมหานครมีเวลาในการเตรียมตัว 48 ชั่วโมง ซึ่งทางกรุงเทพขอเวลาประเมินผลกระทบเพื่อได้รายละเอียดที่แน่ชัดก่อน จะแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติต่อไป ...
1. เพื่อความแน่นอนในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วม ให้ติดต่อไปที่หน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำท่วมโดยเฉพาะ เช่น ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย www.thaiflood.com โดยสิ่งที่เราควรจะสอบถามคือ
- บริเวณที่อยู่อาศัยของเรามีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมในระดับใด
- บริเวณที่อยู่อาศัยขอบเราเคยมีปริมาณน้ำท่วมมากที่สุดแค่ไหน (เราจะได้เตรียมกระสอบทรายหรือก่อซีเมนต์กั้นไม่ให้น้ำเข้ามาในตัวบ้านได้)
- เราจะสามารับทราบวิธีการแจ้งเตือนภัยได้ทางไหนบ้าง และจะแจ้งล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ (เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือให้ทัน)
- ถ้าหากจะต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย มีเส้นทางไหนบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง และควรจะเดินทางโดยวิธีใด เส้นทางใด ถึงจะปลอดภัยที่สุด
2. เราจะต้องติดตามการรายงานข่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ควรเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่เชื่อถือได้เท่านั้น ข้อมูลจาก Social Network ต่าง อาจมีทั้งข่าวที่เชื่อถือได้และข่าวลือปะปนกันอยู่ ต้องเช็คข้อมูลข่าวสารดังกล่าวให้ดี
3. ควรปฎิบัติตามคำเตือนของราชการอย่างเคร่งครัด
4. ระหว่างที่อยู่ในช่วงเตรียมตัวรับมือกับสภาวะน้ำท่วม เราควรจะศึกษาขั้นตอนในอพยพ ระบบการเตือนภัย เส้นทางการเคลื่อนย้ายในกรณีเร่งด่วน สถานที่ของศูนย์อพยพที่ใกล้เคียงพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และสามารถไปถึงได้เร็วที่สุด
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ โทร 044-242047 ต่อ 21 , 044-212200 , 037-211098 , 036-461422 , 036-211105 ต่อ 24
เบอร์โทรศัพท์ดังกล่าวนี้เราควรจะบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในบ้าน ควรไปถึงจดไว้ที่บ้านในที่ที่สังเกตง่ายด้วย และที่สำคัญควรชาร์ตแบตเตอร์รี่โทรใทรศัพท์ทุกเครื่องในบ้านให้เต็มอยู่เสมอ
5. ถ้าหากครอบครัวของเรามีคนพิการ คนป่วย หรือสตรีมีครรภ์ใกล้คลอด ควรแจ้งหน่วยงานราชการทันทีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม เพื่อที่หน่วยงานดังกล่าวจะได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
6. เตรียมอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องพร้อมกับที่เปิดกระป๋องสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ น้ำดื่มที่เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทและอุปกรณ์ทำน้ำให้สะอาด ได้แก่ เม็ดคลอรีน ไว้สำรองในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้
8. ควรเตรียมไฟฉาย ถ่านไฟฉายสำรอง เทียนไข และไฟแชค ไว้กรณีไฟฟ้าดับ หรือถูกตัดไฟฟ้า
9. เตรียมวิทยุ (แบบทรานสิสเตอร์) พร้อมถ่านสำรอง เพื่อฟังติดตามข่าวสารและรายงานสภาพอากาศจากหน่วยงานราชการ
10. ถ้ามีรถยนต์ควรเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินไว้ในรถให้พร้อม และนำไปจอดในที่สูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
11. สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเตรียมเป็นอย่างยิ่งคือ รองเท้าบู๊ต ถุงมือกันน้ำ กางเกงใน ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก ยาทากันยุง ยาฆ่าแมลง เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันยุง หรือแมลงกัดต่อยที่มาจากน้ำท่วมขัง
12. พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้
13. ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เซนติเมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม
14. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
15. สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
16. สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ
17. ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น แต่ถ้าหากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้
18. จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสรกปกลงไปในน้ำ
... 18 ข้อควรปฎิบัตินี้คือ
1. สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกก็คือ ให้จัดการเรื่องระบบไฟในบ้านโดยการปลดคัทเอ๊าท์ และสำรวจปิดแก๊สหุงต้มทุกจุดในบ้าน อยู่ในอาคารที่แข็งแรงและสูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
2. ไม่ควรเล่นหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ไม่ควรสวมเสื้อผ้าเปียกชื้นด้วยนะคะ เพราะอาจจะทำให้ป่วยได้ ควรทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ และถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรขับขี่รถฝ่ากระแสน้ำเพราะว่า เสี่ยงต่ออันตรายสูงมากเลยล่ะค่ะ
หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำ แช่น้ำเป็นเวลานาน หรือใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้นนะครับ และทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
3. ให้คอยระวังสัตว์มีพิษที่หนีน้ำท่วมมาอาศัยอยู่ในบ้านหรือบนหลังคา เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู สัตว์มีพิษเหล่านี้อาจทำอันตรายต่อเราได้ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที (ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางไปได้ให้ติดต่อไปที่ 1669 หรือ 02-591-9769 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง)
4. เตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับการเคลื่อนย้ายไปยังศูนย์อพยพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตคนในครอบครัวมากกว่าทรัพย์สินในบ้าน
ที่มา : Dek-d
จนมาถึง ณ เวลานี้สถานการณ์น้ำท่วมก็ยังอยู่ในสภาวะวิกฤตอยู่ โดยล่าสุดนี้ได้มีการแถลงการสถานการณ์น้ำท่วมจสกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ว่า จากข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ กรุงเทพมหานครมีเวลาในการเตรียมตัว 48 ชั่วโมง ซึ่งทางกรุงเทพขอเวลาประเมินผลกระทบเพื่อได้รายละเอียดที่แน่ชัดก่อน จะแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติต่อไป ...
1. เพื่อความแน่นอนในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วม ให้ติดต่อไปที่หน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำท่วมโดยเฉพาะ เช่น ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย www.thaiflood.com โดยสิ่งที่เราควรจะสอบถามคือ
- บริเวณที่อยู่อาศัยของเรามีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมในระดับใด
- บริเวณที่อยู่อาศัยขอบเราเคยมีปริมาณน้ำท่วมมากที่สุดแค่ไหน (เราจะได้เตรียมกระสอบทรายหรือก่อซีเมนต์กั้นไม่ให้น้ำเข้ามาในตัวบ้านได้)
- เราจะสามารับทราบวิธีการแจ้งเตือนภัยได้ทางไหนบ้าง และจะแจ้งล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ (เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือให้ทัน)
- ถ้าหากจะต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย มีเส้นทางไหนบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง และควรจะเดินทางโดยวิธีใด เส้นทางใด ถึงจะปลอดภัยที่สุด
2. เราจะต้องติดตามการรายงานข่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ควรเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่เชื่อถือได้เท่านั้น ข้อมูลจาก Social Network ต่าง อาจมีทั้งข่าวที่เชื่อถือได้และข่าวลือปะปนกันอยู่ ต้องเช็คข้อมูลข่าวสารดังกล่าวให้ดี
3. ควรปฎิบัติตามคำเตือนของราชการอย่างเคร่งครัด
4. ระหว่างที่อยู่ในช่วงเตรียมตัวรับมือกับสภาวะน้ำท่วม เราควรจะศึกษาขั้นตอนในอพยพ ระบบการเตือนภัย เส้นทางการเคลื่อนย้ายในกรณีเร่งด่วน สถานที่ของศูนย์อพยพที่ใกล้เคียงพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และสามารถไปถึงได้เร็วที่สุด
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ โทร 044-242047 ต่อ 21 , 044-212200 , 037-211098 , 036-461422 , 036-211105 ต่อ 24
เบอร์โทรศัพท์ดังกล่าวนี้เราควรจะบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในบ้าน ควรไปถึงจดไว้ที่บ้านในที่ที่สังเกตง่ายด้วย และที่สำคัญควรชาร์ตแบตเตอร์รี่โทรใทรศัพท์ทุกเครื่องในบ้านให้เต็มอยู่เสมอ
5. ถ้าหากครอบครัวของเรามีคนพิการ คนป่วย หรือสตรีมีครรภ์ใกล้คลอด ควรแจ้งหน่วยงานราชการทันทีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม เพื่อที่หน่วยงานดังกล่าวจะได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
6. เตรียมอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องพร้อมกับที่เปิดกระป๋องสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ น้ำดื่มที่เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทและอุปกรณ์ทำน้ำให้สะอาด ได้แก่ เม็ดคลอรีน ไว้สำรองในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้
7. เตรียมภาชนะที่ปิดสนิทป้องกันน้ำเข้าเพื่อบรรจุอุปกรณ์ทำแผล ยาสำหรับโรคประจำตัว และยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแผล และยาแก้พิษจากการกัดต่อยของตะขาบ แมงป่อง งู และสัตว์อื่นๆ ที่หนีน้ำมาอาศัยอยู่ในบริเวณบ้านของเรา
8. ควรเตรียมไฟฉาย ถ่านไฟฉายสำรอง เทียนไข และไฟแชค ไว้กรณีไฟฟ้าดับ หรือถูกตัดไฟฟ้า
9. เตรียมวิทยุ (แบบทรานสิสเตอร์) พร้อมถ่านสำรอง เพื่อฟังติดตามข่าวสารและรายงานสภาพอากาศจากหน่วยงานราชการ
10. ถ้ามีรถยนต์ควรเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินไว้ในรถให้พร้อม และนำไปจอดในที่สูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
11. สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเตรียมเป็นอย่างยิ่งคือ รองเท้าบู๊ต ถุงมือกันน้ำ กางเกงใน ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก ยาทากันยุง ยาฆ่าแมลง เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันยุง หรือแมลงกัดต่อยที่มาจากน้ำท่วมขัง
12. พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้
13. ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เซนติเมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม
14. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
15. สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
16. สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ
17. ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น แต่ถ้าหากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้
18. จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสรกปกลงไปในน้ำ
... 18 ข้อควรปฎิบัตินี้คือ
1. สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกก็คือ ให้จัดการเรื่องระบบไฟในบ้านโดยการปลดคัทเอ๊าท์ และสำรวจปิดแก๊สหุงต้มทุกจุดในบ้าน อยู่ในอาคารที่แข็งแรงและสูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
2. ไม่ควรเล่นหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ไม่ควรสวมเสื้อผ้าเปียกชื้นด้วยนะคะ เพราะอาจจะทำให้ป่วยได้ ควรทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ และถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรขับขี่รถฝ่ากระแสน้ำเพราะว่า เสี่ยงต่ออันตรายสูงมากเลยล่ะค่ะ
หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำ แช่น้ำเป็นเวลานาน หรือใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้นนะครับ และทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
3. ให้คอยระวังสัตว์มีพิษที่หนีน้ำท่วมมาอาศัยอยู่ในบ้านหรือบนหลังคา เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู สัตว์มีพิษเหล่านี้อาจทำอันตรายต่อเราได้ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที (ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางไปได้ให้ติดต่อไปที่ 1669 หรือ 02-591-9769 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง)
4. เตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับการเคลื่อนย้ายไปยังศูนย์อพยพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตคนในครอบครัวมากกว่าทรัพย์สินในบ้าน
ที่มา : Dek-d
18 ขั้นตอนเตรียมตัวรับมือสภาวะน้ำท่วม !