จากการประชุม “การศึกษาเพื่อกำหนดเป้าหมายด้านการจัดการพื้นที่อ่าวไทยตอนบน”โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำของประเทศเนเธอร์แลนด์ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ในขณะนั้น) ระหว่างวันที่ 4 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองฝ่ายสรุปตรงกัน กรุงเทพ ฯ อาจจมอยู่ใต้น้ำ 50 - 100 ซม.
ภายในปี 2025 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้หารือกับเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาพื้นที่อ่าวไทยตอนบน (รวมพื้นที่กรุงเทพฯ ) ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แผ่นดินยุบตัว ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยจัดอยู่ใน 1 ใน 10 ประเทศที่เสี่ยงต่อผลกระทบของสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งสองประเทศจึงมีหลายอย่างที่คล้าย ๆ กัน แต่เนเธอร์แลนด์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งดำเนินการมายาวนานและเป็นระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ 2554 ทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการน้ำเนเธอร์แลนด์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อร่วมสำรวจพื้นที่ตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร-บางขุนเทียน ทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ ตลอดจนความแตกต่างและข้อจำกัดในด้านต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาบริหารจัดการน้ำ พร้อมกันนี้ยังได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทวิภาคี “การศึกษาเพื่อกำหนดเป้าหมายด้านการจัดการพื้นที่อ่าวไทยตอนบน” โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ในการประชุมนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเนเธอร์แลนด์มีความกังวลว่า การสูบน้ำจากชั้นใต้ดินมากอย่างเกินขนาด หลายพื้นที่บริเวณรอบนอกทางตะวันออกเฉียงใต้มีการทรุดตัวของแผ่นดิน 30 มิลลิเมตร ต่อปี ซึ่งหากนำปัญหานี้ไปรวมกับปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของน้ำทะเลของกรุงเทพฯ ก็เป็นไปได้ว่ากรุงเทพ ฯ อาจจะตกอยู่ใต้น้ำ 50- 100 ซม.ภายในปี 2025
นอกเหนือจากแผ่นดินทรุดตัวแล้ว โอกาสในการเกิดอุทกภัยเฉียบพลันก็อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ในปัจจุบันน้ำทะเลในอ่าวไทยสูงขึ้น 25 มิลลิเมตร ทุกปีโดยเฉลี่ย โดยจะเกิดขึ้นช้าๆ อย่างไรก็ตามหากขาดการป้องกันและเกิดน้ำท่วมขึ้นจริง นั่นหมายถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยวของกรุงเทพ ฯ นั้นจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล กล่าวเสริมว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนระบบบริหารจัดการพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยและปากแม่น้ำสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้” และมั่นใจว่า ภายหลังการประชุมและศึกษาดูงานดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อเสนอที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะนำไปพิจารณาและหาแนวทางร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางในการจัดการปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
โครงการล่าสุดของเนเธอร์แลนด์ คือ Delta 2 โครงการนี้เกิดภายใต้การนำของอดีตรัฐมนตรี Cees Veerman เป็นโครงการที่วางแผนและดำเนินงานติดตั้งระบบน้ำบางส่วนเรียบร้อยแล้วและใช้งบประมาณช่วงปี 2015 - 2050
เมื่อมีโครงการ Delta เกิดขึ้นมา ทำให้มีการพุ่งความสนใจไปที่ปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งการป้องกันชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้น้ำของแม่น้ำสายหลักของเนเธอร์แลนด์รวมทั้งบริเวณกักเก็บน้ำของยุโรป ทำเขื่อนและแนวป้องกันน้ำให้มีความแข็งแรง มาตรการเพื่อจัดการระดับการใช้น้ำจากใต้แผ่นดิน การกักเก็บน้ำฝนชั่วคราวการแล้วค่อยระบายออกแทนระบบกำจัดน้ำเสีย รวมถึงการกักเก็บน้ำจำนวนเล็กน้อยแต่เพียงพอ
นอกเหนือจากทำการศึกษาแล้ว เนเธอร์แลนด์ได้วางแผนและดำเนินงานจริงอย่างต่อเนื่องทั้งทางกฎหมายและทางสังคม โดยมากจะทำการมุ่งเน้นไปที่ระบบวิศวกรรมทางน้ำและโยธา ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้ของคนส่วนใหญ่ การให้ความเกี่ยวข้องและร่วมมือ เรียนรู้ปัญหาจากอดีตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการในปัจจุบัน
ตัวอย่างผลงานในโครงการ Delta 2 : The Measlandkering
ป็นสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ Delta สร้างเสร็จในปี 1997 บังคับกลไกและระบบโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานเมื่อมีพายุหรือเฮอริเคน สิ่งก่อสร้างนี้สามารถป้องกันระดับน้ำได้สูงถึง 3 เมตรจากระดับน้ำทะเลปกติ ส่วนเหล็กทรงโค้งทั้งสองด้านสำหรับป้องกันน้ำมีขนาดความยาวถึง 325 เมตร สูง 22 เมตร โดยส่วนโค้งทั้งสองข้างจะเลื่อนเข้าชนกันเมื่อต้องการกีดขวางทางน้ำ และเลื่อนแยกออกจากกันไปไว้บนฝั่งได้เมื่อระดับน้ำกลับสู่สภาวะปกติแล้ว เขื่อนกั้นน้ำนี้ได้รับการยกย่องจาก Discovery ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างควบคุมด้วยระบบคอมพวิเตอร์ที่สุดยอดแห่งศตวรรษ
ซ้ำขออภัย !
เครดิต : >> http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2315923 <<
ภายในปี 2025 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้หารือกับเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาพื้นที่อ่าวไทยตอนบน (รวมพื้นที่กรุงเทพฯ ) ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แผ่นดินยุบตัว ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยจัดอยู่ใน 1 ใน 10 ประเทศที่เสี่ยงต่อผลกระทบของสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งสองประเทศจึงมีหลายอย่างที่คล้าย ๆ กัน แต่เนเธอร์แลนด์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งดำเนินการมายาวนานและเป็นระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ 2554 ทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการน้ำเนเธอร์แลนด์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อร่วมสำรวจพื้นที่ตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร-บางขุนเทียน ทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ ตลอดจนความแตกต่างและข้อจำกัดในด้านต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาบริหารจัดการน้ำ พร้อมกันนี้ยังได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทวิภาคี “การศึกษาเพื่อกำหนดเป้าหมายด้านการจัดการพื้นที่อ่าวไทยตอนบน” โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ในการประชุมนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเนเธอร์แลนด์มีความกังวลว่า การสูบน้ำจากชั้นใต้ดินมากอย่างเกินขนาด หลายพื้นที่บริเวณรอบนอกทางตะวันออกเฉียงใต้มีการทรุดตัวของแผ่นดิน 30 มิลลิเมตร ต่อปี ซึ่งหากนำปัญหานี้ไปรวมกับปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของน้ำทะเลของกรุงเทพฯ ก็เป็นไปได้ว่ากรุงเทพ ฯ อาจจะตกอยู่ใต้น้ำ 50- 100 ซม.ภายในปี 2025
นอกเหนือจากแผ่นดินทรุดตัวแล้ว โอกาสในการเกิดอุทกภัยเฉียบพลันก็อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ในปัจจุบันน้ำทะเลในอ่าวไทยสูงขึ้น 25 มิลลิเมตร ทุกปีโดยเฉลี่ย โดยจะเกิดขึ้นช้าๆ อย่างไรก็ตามหากขาดการป้องกันและเกิดน้ำท่วมขึ้นจริง นั่นหมายถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยวของกรุงเทพ ฯ นั้นจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล กล่าวเสริมว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนระบบบริหารจัดการพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยและปากแม่น้ำสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้” และมั่นใจว่า ภายหลังการประชุมและศึกษาดูงานดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อเสนอที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะนำไปพิจารณาและหาแนวทางร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางในการจัดการปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
โครงการล่าสุดของเนเธอร์แลนด์ คือ Delta 2 โครงการนี้เกิดภายใต้การนำของอดีตรัฐมนตรี Cees Veerman เป็นโครงการที่วางแผนและดำเนินงานติดตั้งระบบน้ำบางส่วนเรียบร้อยแล้วและใช้งบประมาณช่วงปี 2015 - 2050
เมื่อมีโครงการ Delta เกิดขึ้นมา ทำให้มีการพุ่งความสนใจไปที่ปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งการป้องกันชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้น้ำของแม่น้ำสายหลักของเนเธอร์แลนด์รวมทั้งบริเวณกักเก็บน้ำของยุโรป ทำเขื่อนและแนวป้องกันน้ำให้มีความแข็งแรง มาตรการเพื่อจัดการระดับการใช้น้ำจากใต้แผ่นดิน การกักเก็บน้ำฝนชั่วคราวการแล้วค่อยระบายออกแทนระบบกำจัดน้ำเสีย รวมถึงการกักเก็บน้ำจำนวนเล็กน้อยแต่เพียงพอ
นอกเหนือจากทำการศึกษาแล้ว เนเธอร์แลนด์ได้วางแผนและดำเนินงานจริงอย่างต่อเนื่องทั้งทางกฎหมายและทางสังคม โดยมากจะทำการมุ่งเน้นไปที่ระบบวิศวกรรมทางน้ำและโยธา ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้ของคนส่วนใหญ่ การให้ความเกี่ยวข้องและร่วมมือ เรียนรู้ปัญหาจากอดีตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการในปัจจุบัน
ตัวอย่างผลงานในโครงการ Delta 2 : The Measlandkering
ป็นสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ Delta สร้างเสร็จในปี 1997 บังคับกลไกและระบบโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานเมื่อมีพายุหรือเฮอริเคน สิ่งก่อสร้างนี้สามารถป้องกันระดับน้ำได้สูงถึง 3 เมตรจากระดับน้ำทะเลปกติ ส่วนเหล็กทรงโค้งทั้งสองด้านสำหรับป้องกันน้ำมีขนาดความยาวถึง 325 เมตร สูง 22 เมตร โดยส่วนโค้งทั้งสองข้างจะเลื่อนเข้าชนกันเมื่อต้องการกีดขวางทางน้ำ และเลื่อนแยกออกจากกันไปไว้บนฝั่งได้เมื่อระดับน้ำกลับสู่สภาวะปกติแล้ว เขื่อนกั้นน้ำนี้ได้รับการยกย่องจาก Discovery ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างควบคุมด้วยระบบคอมพวิเตอร์ที่สุดยอดแห่งศตวรรษ
ซ้ำขออภัย !
เครดิต : >> http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2315923 <<
นักวิทยาศาสตร์เนเธอร์แลนด์ทำนาย 2025 กรุงเทพฯ จมแน่!