แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย mintwwwe เมื่อ 2011-11-14 11:19
ทำตามที่บอกนะ
มันเกิดจากอะไรอ่ะ?
ปรากฏการณ์นี้เค้าเรียกว่า "Afterimage" หรือที่เรียกกันว่า "ภาพติดตา" เป็นแบบ negative afterimage ซะด้วยนะ คือ สีที่เห็นจะตรงข้ามกับภาพจริงๆ เช่น นกสีแดง เราก็จะเห็นเป็นสีที่เกิดจากเอาแสงสีขาวมาลบสีแดงออก นั่นก็คือสีเขียวน้ำเงินไง
แล้วเจ้าภาพติดตานี่มันเกิดขึ้นได้ยังไงนะ? ...อธิบายง่ายๆได้ว่า ตาของคนเราจะมี ตัวรับสี (color receptor) อยู่เป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่
แล้วเจ้าภาพติดตานี่มันเกิดขึ้นได้ยังไงนะ? ...อธิบายง่ายๆได้ว่า ตาของคนเราจะมี ตัวรับสี (color receptor) อยู่เป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่
- ตัวรับแสงสีแดง-เขียว
- ตัวรับแสงสีเหลือง-น้ำเงิน
- ตัวรับแสงสีดำ-ขาว
ตัวรับแสงสีแดง-เขียว ตัวใดตัวหนึ่งจะรับ-ส่งสัญญาณเฉพาะสีแดงหรือสีเขียวเท่านั้น เช่น หากเรามองภาพดอกกุหลาบสีแดง กับ ใบไม้สีเขียว ตัวรับแสงสีแดง-เขียวกลุ่มหนึ่ง (หลายตัว) ก็จะรับ-ส่งเฉพาะสัญญาณแสงสีแดงจากกลีบดอก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง(อีกหลายตัว) ก็จะรับ-ส่งสัญญาณเฉพาะแสงสีเขียวจากใบเท่านั้นจ้า
ตัวรับแสงสีเหลือ ง-น้ำเงินก็จะทำงานคล้ายๆกัน ส่วนตัวรับแสงสีดำ-ขาวจะต่างไปหน่อย คือทำให้เราเห็นว่าแสงสีที่เห็นเนี่ยดูสว่างหรือดูทึมๆ
ทฤษฏีนี้เค้าเรียกกันว่า "ทฤษฎีกระบวนการคู่ตรงกันข้าม (Opponent-process theory)" ก็อย่างที่ยกตัวอย่างไปแล้วว่า ตัวรับแสงแบบหนึ่งๆ จะเลือกรับ-ส่งสัญญาณคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกันสีใดสีหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้ามันส่งสัญญาณสีแดง ก็จะไม่ส่งสีเขียว เป็นต้น
และจากทฤษฎีนี้นี่เอง ทำให้หากเราจ้องภาพที่มีสีแดงนานๆ เจ้าตัวรับแสงสีแดง-เขียวกลุ่มหนึ่งเนี่ยก็จะรับเฉพาะสีแดงและส่งสัญญาณสีแด งนี้ไปยังสมอง นอกจากนั้น ตัวรับแสงกลุ่มนี้ยังค่อยๆปรับตัว ทำให้ตัวมันเองมีความ "ไว" ต่อแสงสีแดงน้อยลงอีกด้วย นั่นก็คือ ถ้ามีแสงสีแดงมากระตุ้นซ้ำอีก พวกตัวรับแสงกลุ่มนี้ก็จะตอบสนองได้ไม่ดีเท่าที่ควร คือ อาจจะไม่ส่งสัญญาณแสงสีแดงไปยังสมองเลย หรือว่าส่งไปน้อยมากๆจ้า
>> http://www.dek-d.com/board/view.php?id=927487 <<
ตัวรับแสงสีเหลือ ง-น้ำเงินก็จะทำงานคล้ายๆกัน ส่วนตัวรับแสงสีดำ-ขาวจะต่างไปหน่อย คือทำให้เราเห็นว่าแสงสีที่เห็นเนี่ยดูสว่างหรือดูทึมๆ
ทฤษฏีนี้เค้าเรียกกันว่า "ทฤษฎีกระบวนการคู่ตรงกันข้าม (Opponent-process theory)" ก็อย่างที่ยกตัวอย่างไปแล้วว่า ตัวรับแสงแบบหนึ่งๆ จะเลือกรับ-ส่งสัญญาณคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกันสีใดสีหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้ามันส่งสัญญาณสีแดง ก็จะไม่ส่งสีเขียว เป็นต้น
และจากทฤษฎีนี้นี่เอง ทำให้หากเราจ้องภาพที่มีสีแดงนานๆ เจ้าตัวรับแสงสีแดง-เขียวกลุ่มหนึ่งเนี่ยก็จะรับเฉพาะสีแดงและส่งสัญญาณสีแด งนี้ไปยังสมอง นอกจากนั้น ตัวรับแสงกลุ่มนี้ยังค่อยๆปรับตัว ทำให้ตัวมันเองมีความ "ไว" ต่อแสงสีแดงน้อยลงอีกด้วย นั่นก็คือ ถ้ามีแสงสีแดงมากระตุ้นซ้ำอีก พวกตัวรับแสงกลุ่มนี้ก็จะตอบสนองได้ไม่ดีเท่าที่ควร คือ อาจจะไม่ส่งสัญญาณแสงสีแดงไปยังสมองเลย หรือว่าส่งไปน้อยมากๆจ้า
>> http://www.dek-d.com/board/view.php?id=927487 <<
shock!!! แบบนี้ก็มีด้วย