ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) กระรอกบินออสเตรเลีย หรือที่เรียกกันว่า จิงโจ้บิน คือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน(pouch) อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า และจิงโจ้ ชูการ์ ไกลเดอร์ มีถิ่นกำเนิดในเกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน กลางวันจะชอบนอน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้ เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว
ทั้งนี้ ชูก้าไกลเดอร์ จะมีน้ำหนักประมาณ 90-150 กรัม ขนาดของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 12 นิ้ว มีขนที่นิ่มละเอียด แน่น เป็นสีเทาหรือน้ำตาลตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหาง และมีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่เริ่มระหว่างตา และ แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง มีดวงตาที่โปน และมีขนาดใหญ่ ข้างลำตัวมีผังผืด ที่เหยียดจากข้อมือไปจนถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยในการบินหรือร่อน
สำหรับนิสัยของ ชูการ์ ไกลเดอร์ มันเป็นสัตว์ที่ต้องการสนใจและเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับมันบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก
อาหารและการเลี้ยงดู
ชูการ์ ไกลเดอร์ มีอายุขัยเฉลี่ย 10-15 ปี ชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์เชื่อง นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี 2542 ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่องหรือกรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ ไกลเดอร์ ชอบกระโดดและปีนป่าย แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว
ในเรื่องอาหารการกิน ชูก้า ไกลเดอร์ สามารถกินอาหารได้หลายประเภท คือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะมม่วงสุก แตงโม ฯลฯ ทั้งนี้ ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน นอกจากนี้ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีน
ส่วนปริมาณอาหารในช่วงอายุ 2 เดือนแรก ให้กินวันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ลดเหลือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น อายุ 4 เดือนขึ้นไปให้อาหารวันละ 1 ครั้งคือ ก่อนนอนก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย
และแม้ว่า ชูการ์ ไกลเดอร์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์ ไกลเดอร์ สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็สามารถพามันไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัว จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ ป้องกันไม่ให้ปอดชื้น
สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูเจ้า ชูการ์ ไกลเดอร์ คือ เล็บอันคมกริบของมัน เวลาที่เค้าเกาะจะเจ็บพอสมควร ยิ่งหาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เกิดตกใจจะกระตุกเท้าแล้วเล็บจะจิกเราทำให้เป็นแผลได้ ดังนั้น ควรตัดเล็บโดยนำกรรไกรตัดเล็บมาตัดบริเวณปลายๆ เล็บ ระวังอย่าตัดลึก เพราะอาจโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ ซึ่งในการตัดเล็บครั้งแรกอาจยากสักหน่อย เพราะความไม่เคยชิน จึงแนะนำให้แอบตัดตอนที่เขานอน หรือกำลังกินจะง่ายที่สุด
การเลือกซื้อ ชูการ์ ไกลเดอร์
ในปัจจุบัน ชูก้า ไกลเดอร์ ที่นำเข้ามาขายในไทยจะเป็นสายพันธุ์ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาก ทั้งนี้ ชูการ์ ไกลเดอร์ สายพันธุ์ออสเตรเลียจะมีสีเงิน จากหน้าไปถึงหาง ส่วน ชูการ์ ไกลเดอร์ พันธุ์อินโดนีเซียจะออกสีน้ำตาลหรือส้มๆ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อควรเลือกซื้อ ชูก้า ไกลเดอร์ ที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ควรเลือกตัวที่ซน ร่าเริง ปีนป่ายเก่งๆ แต่ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะ ชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์กลางคืน ตอนกลางวันจึงเอาแต่นอน
ทั้งนี้ ชูก้าไกลเดอร์ จะมีน้ำหนักประมาณ 90-150 กรัม ขนาดของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 12 นิ้ว มีขนที่นิ่มละเอียด แน่น เป็นสีเทาหรือน้ำตาลตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหาง และมีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่เริ่มระหว่างตา และ แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง มีดวงตาที่โปน และมีขนาดใหญ่ ข้างลำตัวมีผังผืด ที่เหยียดจากข้อมือไปจนถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยในการบินหรือร่อน
สำหรับนิสัยของ ชูการ์ ไกลเดอร์ มันเป็นสัตว์ที่ต้องการสนใจและเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับมันบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก
อาหารและการเลี้ยงดู
ชูการ์ ไกลเดอร์ มีอายุขัยเฉลี่ย 10-15 ปี ชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์เชื่อง นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี 2542 ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่องหรือกรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ ไกลเดอร์ ชอบกระโดดและปีนป่าย แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว
ในเรื่องอาหารการกิน ชูก้า ไกลเดอร์ สามารถกินอาหารได้หลายประเภท คือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะมม่วงสุก แตงโม ฯลฯ ทั้งนี้ ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน นอกจากนี้ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีน
ส่วนปริมาณอาหารในช่วงอายุ 2 เดือนแรก ให้กินวันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ลดเหลือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น อายุ 4 เดือนขึ้นไปให้อาหารวันละ 1 ครั้งคือ ก่อนนอนก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย
และแม้ว่า ชูการ์ ไกลเดอร์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์ ไกลเดอร์ สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็สามารถพามันไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัว จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ ป้องกันไม่ให้ปอดชื้น
สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูเจ้า ชูการ์ ไกลเดอร์ คือ เล็บอันคมกริบของมัน เวลาที่เค้าเกาะจะเจ็บพอสมควร ยิ่งหาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เกิดตกใจจะกระตุกเท้าแล้วเล็บจะจิกเราทำให้เป็นแผลได้ ดังนั้น ควรตัดเล็บโดยนำกรรไกรตัดเล็บมาตัดบริเวณปลายๆ เล็บ ระวังอย่าตัดลึก เพราะอาจโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ ซึ่งในการตัดเล็บครั้งแรกอาจยากสักหน่อย เพราะความไม่เคยชิน จึงแนะนำให้แอบตัดตอนที่เขานอน หรือกำลังกินจะง่ายที่สุด
การเลือกซื้อ ชูการ์ ไกลเดอร์
ในปัจจุบัน ชูก้า ไกลเดอร์ ที่นำเข้ามาขายในไทยจะเป็นสายพันธุ์ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาก ทั้งนี้ ชูการ์ ไกลเดอร์ สายพันธุ์ออสเตรเลียจะมีสีเงิน จากหน้าไปถึงหาง ส่วน ชูการ์ ไกลเดอร์ พันธุ์อินโดนีเซียจะออกสีน้ำตาลหรือส้มๆ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อควรเลือกซื้อ ชูก้า ไกลเดอร์ ที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ควรเลือกตัวที่ซน ร่าเริง ปีนป่ายเก่งๆ แต่ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะ ชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์กลางคืน ตอนกลางวันจึงเอาแต่นอน
ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider)
[img]
[IMG]
[/img]