แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย bright182009 เมื่อ 2011-11-28 16:15
ภาพตะเกียงเจ้าพายุ
แสงสว่างยามค่ำคืนของสยามในอดีต
ชาวสยามในอดีตอาศัย เทียนไขและตะเกียง ในการให้แสงสว่างในตอนกลางคืน บางทีก็เอาหญ้าปล้องมาแซะเอาไส้ออกแล้วตากแดดไว้ให้แห้ง เพื่อเอาไปทำไส้ตะเกียงส่วนผู้ที่มีฐานะดีสักหน่อยก็ใช้ ้ตะเกียงน้ำมันก๊าด เป็นโคมชนิดที่มีหูหิ้วที่เรียกกันว่า "ตะเกียงรั้ว" ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เพราะเมื่อแรกสั่งเข้ามาใช้นั้นเอามาจุดประดับตามรั้วเวลา มีงาน รอบตะเกียงรั้วมีโป๊ะแก้วกันลมได้ ตะเกียงอีกชนิดหนึ่งเรียกกันว่า "ตะเกียงแมงดา" มีลักษณะกลม ๆ นูนเล็กน้อย
และค่อนข้างแบนคล้ายรูปแมงดา ในหม้อมีน้ำมันก๊าดบรรจุอยู่ ประเทศไทยเริ่มใช้น้ำมันก๊าดตั้งแต่ พ.ศ. 2417 และใช้น้ำมันเบนซินพร้อมๆ กับสั่งรถยนต์เข้ามาในปี 2447 มีท่อเล็กๆ ต่อหม้อน้ำมันบงมาที่ปลายท่อมีรูเล็กๆ เรียกว่า นมหนูเมื่อน้ำมันหยดลงมาตะเกียงก็จะสว่างขึ้น นอกจากนี้ยังมีตะเกียงลานที่ไขลานให้หมุนใบพัดเป่าลม ให้เปลวไฟตั้งตรงทำให้แสงไฟไม่วูบวาบเย็นตาและไม่มีควัน ส่วนตะเกียงเจ้าพายุก็มีการใช้อยู่ทั่วไป
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทคือสถานที่แห่งแรกในสยามที่มีการใช้ไฟฟ้า
ประวัติไฟฟ้าในสยาม
ส่วนไฟฟ้าในสยาม เริ่มครั้งแรกเมื่อ จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ครั้งยังเป็น จมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปทูตได้เดินทางไปกับเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และได้เห็นกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า เมื่อกลับมาสยามจึงคิดว่า เมืองสยามน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ และการนี้จะทำให้สำเร็จได้คงต้องเริ่มภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 แต่มีพระราชดำรัสว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" เมื่อเป็นเช่นนี้ จมื่นไวยวรนาถ ก็ตระหนักว่าก่อนที่จะ
เริ่มดำเนินการจำเป็นต้องหาวิธีจูงใจให้ผู้ที่ไม่เคยเห็นเคยใช้ไฟฟ้าเกิดความนิยม ขึ้นก่อน จึงนำความไปกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ขอให้ช่วยกราบทูล สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีให้ทรงรับซื้อที่ดิน ซึ่งได้รับมรดกจากบิดา ณ ตำบลวัดละมุด บางอ้อ ได้เป็นเงิน 180 ชั่ง หรือ 14,400.00 บาท ปรากฏว่าเป็นผลสำ เร็จ แล้วให้ นายมาโยลา ชาวอิตาเลียนที่มารับราชการเป็นครูฝึกทหารเดินทางไปซื้อเครื่องจักรและเครื่องไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2427 โดยให้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาสองเครื่อง เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนกันได้ และซื้อสายเคเบิ้ลสำหรับฝังสายใต้ดินจากโรงทหารม้า (ปัจจุบันคือ กระทรวงกลาโหม) ไปจนถึงพระบรมมหาราชวัง และจัดซื้อโคมไฟชนิดต่าง ๆ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาปรากฏว่าไฟฟ้าเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ทั้งในราชสำนัก วังเจ้านาย และชาวบ้านผู้มีอันจะกิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดพระราชทานเงินที่ใช้จ่าย ในการติดตั้งไฟฟ้าคืนให้จมื่นไวยวรนาถจึงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯได้ใช้ไฟฟ้า แต่เกิดมีราชการสงครามต้องไปปราบฮ่ออยู่เป็นเวลานานเรื่องเลยระงับไว้ อย่างไรก็ตามไฟฟ้าก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
gotoknow.org
www.mea.or.th
www.oknation.net
http://historyclubsite.forumotion.com ขอบคุณมากนะครับ^^ปล.เจอโดยบังเอิญตอนกำลังทำงานอยู่
ปล.2ช่วยโพสแสดงความรู้สึกกันซักนิดด้วยนะครับขอบคุณมากนะครับ^^
การไฟฟ้าในสยาม ครั้งแรกที่สยามมีการใช้ไฟฟ้า
กุโระ..โมเอะที่โลกลืม
[IMG]