เรือประจัญบาน ยามาโต เรือที่ทรงพลังและอานุภาพมากที่สุดในโลก
เรือประจัญบานยามาโตเข้าร่วมกองเรือประจัญบานในเดือนธันวาคม 1941 โดยหน่วยข่าวกรองของอเมริกาก็รับรู้ถึงการประจำการนี้ ทว่าไม่มีใครรู้ถึงอานุภาพอันร้ายแรงของมัน นักวิเคราะห์จากกองทัพเรือสหรัฐเชื่อว่ายามาโตมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเรือประจัญบานลำใหม่ ๆ ของอเมริกา แต่ที่จริงแล้วมันใหญ่กว่าเรือเหล่านั้นถึงสองเท่า เพราะต้องออกแบบเพื่อรองรับปืนประจำเรือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการติดตั้งบนเรือประจัญบาน การยิงปืนขนาด 18 นิ้วด้วยความเร็วเหนือเสียง โดยที่กระสุนแต่ละนัดหนักพอ ๆ กับรถยนต์หนึ่งคัน ทำให้คาดการณ์ได้ว่าปืนของยามาโตน่าจะสามารถเจาะเกราะที่หนาเกือบสองฟุตได้
สาเหตุที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างเรือใหญ่ขนาดนั้นมาลอยลำอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ ขณะที่อเมริกาคู่ต่อสู้ทำไม่ได้ทั้ง ๆ ที่มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่ากันก็เพราะเรือของญี่ปุ่นไม่ต้องกังวลเรื่องการผ่านเข้าออกทางคลองปานามาที่มีล็อกยกระดับขนาด 110 ฟุตเป็นตัวกำหนด ไม่เพียงอานุภาพของอาวุธที่ร้ายแรง แต่การออกแบบยามาโตนั้นพิถีพิถันแทบจะทุกขั้นตอน เพราะแม้แต่หัวเรือก็มีการออกแบบให้ลดแรงเสียดทาน ความกว้างของยามาโตทำให้ความลู่น้ำมีความจำเป็นยิ่ง เพราะเมื่อมันแล่นผ่านน้ำหัวเรือก็จะก่อให้เกิดคลื่นอย่างต่อเนื่อง โหนกที่ท้องเรือยามาโตจะก่อให้เกิดคลื่นนำหน้าหัวเรือไปสองสามฟุต ซึ่งจะขจัดคลื่นที่เกิดจากตัวเรือเอง และเมื่อมีคลื่นปะทะน้อยลงแรงเหนี่ยวของน้ำก็ลดลง
ในเดือนมิถุนายน 1942 กองทัพเรือสหรัฐได้ล่อญี่ปุ่นเข้ามาติดกับ และส่งเครื่องบินรบหลายร้อยลำเข้าโจมตีกองเรือของญี่ปุ่นภายในไม่กี่ชั่วโมง ญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไปสี่ลำและเครื่องบินกว่า 330 ลำ เป็นความพ่ายแพ้ซึ่งทำให้กองทัพเรือของพระจักรพรรดิไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกเลยการสูญเสียกำลังคุ้มกันทางอากาศทำให้จุดด้อยของยามาโตมีเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อมันกลับเข้าสู่น่านน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกอีกครั้ง หลังจากจอดรออยู่ในที่ปลอดภัยนานนับปี ช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1945 ขณะที่กำลังเสียท่าให้กับอเมริกา ญี่ปุ่นส่งอาสาสมัครนักบินกามิกาเซ่ไปพุ่งชนเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรไป 300 ลำ คร่าชีวิตลูกเรืออเมริกันไปหลายพันคน แต่การยอมตายเพื่อศักดิ์ศรีของญี่ปุ่นก็ยังไม่จบสิ้นลง เพราะยามาโตคือคำสั่งลับสำหรับแผนการที่สิ้นหวังลำดับต่อไป
ยามาโตแล่นตรงไปสู่กองเรือของอเมริกา 1,500 ลำ โดยปราศจากการคุ้มกันทางอากาศ เมื่อเครื่องบินลำแรกโจมตียามาโตขณะที่มันอยู่ห่างจาก เรือรบอเมริกาถึงสองร้อยไมล์ ปืนขนาด 18 นิ้วที่มีอยู่ จึงไร้ความหมาย เพราะมันไม่สามารถยิงเครื่องบินที่ เข้ามาใกล้ในระยะ 10 ไมล์ได้สะดวกท่ามกลางเมฆที่ ลอยต่ำ ทันทีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดลำแรกสามารถทะลุรัศมีป้องกัน 10 ไมล์เข้ามาได้ ปืนต่อสู้อากาศยานนับร้อยกระบอกของยามาโตก็ถูกยิงขึ้น แต่เครื่องบินเกือบทุกลำก็สามารถบินเข้าสู่ระยะ 20,000 ฟุตเหนือเรือลำนี้พอดิบพอดี ระเบิดหนัก 500 ปอนด์ลูกแรกโดนดาดฟ้าเรือ แต่สิ่งที่ทำให้เรือประจัญบานลำนี้ถึงจุดจบก็คือตอร์ปิโดนับสิบ ๆ ลูกที่ถูกทิ้งจากอากาศและเจาะทะลุ ยามาโตจากใต้ระดับน้ำใกล้กับหัวเรือและท้ายเรือซึ่งเป็นจุดที่เปราะบางที่สุด
เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่ายามาโตได้จมลงพร้อมกับลูกเรือ 3,000 คน ผู้รอดชีวิตถูกนำตัวไปยังอาคารท่าเรือที่เคยถูกระเบิด ที่ซึ่งพวกเขาถูกซ่อนไว้ หนึ่งเดือนหลังจากเรือจมผู้รอดชีวิตเหล่านั้นจึงได้รับอนุญาตให้กลับไปหาครอบครัว เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามาแทนที่เรือประจัญบาน ในฐานะสัญลักษณ์แห่งอำนาจของชาติบนพื้นน้ำ ในระยะเวลาหกสิบปีหลังจากยามาโตจมลง ไม่มีชาติใดในโลกตัดสินใจสร้างเรือประจัญบานอีกเลย
ข้อมูลคร่าวๆของเรือยามาโต
เรือประจัญบานยามาโต และน้องสาว คือ เรือ มูซาชิ วางกระดูกงูเรือ ในช่วงปี ค.ศ. 1937-38 และสร้างเสร็จประมาณปี 1941-42 นับเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยระวางขับน้ำ 65,000 ตัน, ความเร็วเรือสูงสุด 27 นอต, มีปืนเรือขนาดใหญ่ที่สุด คือ 18.1 นิ้ว, ความยาวตลอดลำเรือ 862 ฟุต, ความกว้าง (บีมเรือ) 121 ฟุต, ดาดฟ้าเรือติดเกราะหนา 9.1 นิ้ว ซึ่งสามารถรับแรงระเบิดขนาด 2,000 lb ซึ่งถูกยิงมาจากระยะไกล 15,000 ฟุตได้ เรือยามาโต สร้างเสร็จในปี 1941 ตามมาด้วยเรือมูซาชิ ในปี 1942 อาวุธประจำเรือชั้นยามาโต
1. ปืนเรือ ขนาด 18.1"/45 เก้ากระบอก
2. ปืนเรือ ขนาด 6.1"/60 สิบสองกระบอก ภายหลังลดเหลือหกกระบอก
3. ปืน DP ขนาดลำกล้อง 5"/40 สิบสองกระบอก ต่อมาเพิ่มเป็นยี่สิบสี่กระบอก (DP เป็นปืนต่อสู้อากาศยานหนักแบบมาตรฐานของญีปุ่นในช่วงนั้น
4. ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาดลำกล้อง 25 ม.ม. มากกว่า 150 กระบอก
5. ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 13 ม.ม. สี่กระบอก
เรือ ยามาโต (Yamato) เป็นเรือประจัญบาน (battleship) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีปืนเรือที่ใหญ่และทรงอานุภาพที่สุด โดยเรือที่ใหญ่รองลงมาก็มีเรือ ไอโอว่า มิซซูรี่ ของอเมริกา
ยามาโมโต (Yamamoto) เป็นชื่อจอมพลเรือของญีปุ่น ผู้วางแผนโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เรือประจัญบานยามาโต ได้เป็นเรือธงของท่านด้วย เมื่อครั้งจอมพลยามาโมโต ไปบัญชาการรบในยุทธนาวีที่มิดเวย์
จะเห็นว่าสองชื่อนี้ (ยามาโต และ ยามาโมโต) คล้ายกันมาก ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกและการจำ
ที่ท่าเรือคูเระทางตอนใต้ของญี่ปุ่น อู่ต่อเรือ ณ วันนี้คือสถานที่ผลิตเรือบรรทุกสินค้าที่ทันสมัยที่สุดในโลก แต่ราว 60 ปีที่แล้วมันคือสถานที่ก่อกำเนิดอาวุธทางทะเลที่น่าเกรงขามที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ยามาโตคือเรือรบที่ร้ายกาจที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา มันถูกออกแบบขึ้นอย่างเป็นความลับสุดยอด ไม่มีแม้กระทั่งภาพวาดและแบบแปลนฉบับสมบูรณ์ นอกจากภาพวาดลายเส้นไม่กี่ชิ้นกับภาพถ่ายอีกหยิบมือเดียวที่เหลืออยู่ และข่าวลือที่ว่ายามาโตมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของคู่ต่อกรจากอเมริกา
ป้อมปืนที่มีอยู่สามป้อมนั้น แต่ละป้อมหนัก กว่าเรือพิฆาตของอเมริกา ปืนกระบอกหลัก ๆ ถูกออกแบบให้โจมตีได้ในระยะ 25 ไมล์ ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้ มาก่อน โดยในระยะไกลขนาดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องบินระบุตำแหน่งช่วยบินนำวิถีกระสุนอยู่เหนือเส้นขอบฟ้า ยามาโตก็เหมือนกับเรือขนาดใหญ่ที่มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่ามันจะไม่มีทางจม แต่แล้วเรือเหล่านั้นก็มักจะมีเหตุต้องจมลงจนทำให้เป็นที่มาของประวัติศาสตร์และตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา
ยามาโมโต (Yamamoto) เป็นชื่อจอมพลเรือของญีปุ่น ผู้วางแผนโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เรือประจัญบานยามาโต ได้เป็นเรือธงของท่านด้วย เมื่อครั้งจอมพลยามาโมโต ไปบัญชาการรบในยุทธนาวีที่มิดเวย์
จะเห็นว่าสองชื่อนี้ (ยามาโต และ ยามาโมโต) คล้ายกันมาก ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกและการจำ
ที่ท่าเรือคูเระทางตอนใต้ของญี่ปุ่น อู่ต่อเรือ ณ วันนี้คือสถานที่ผลิตเรือบรรทุกสินค้าที่ทันสมัยที่สุดในโลก แต่ราว 60 ปีที่แล้วมันคือสถานที่ก่อกำเนิดอาวุธทางทะเลที่น่าเกรงขามที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ยามาโตคือเรือรบที่ร้ายกาจที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา มันถูกออกแบบขึ้นอย่างเป็นความลับสุดยอด ไม่มีแม้กระทั่งภาพวาดและแบบแปลนฉบับสมบูรณ์ นอกจากภาพวาดลายเส้นไม่กี่ชิ้นกับภาพถ่ายอีกหยิบมือเดียวที่เหลืออยู่ และข่าวลือที่ว่ายามาโตมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของคู่ต่อกรจากอเมริกา
ป้อมปืนที่มีอยู่สามป้อมนั้น แต่ละป้อมหนัก กว่าเรือพิฆาตของอเมริกา ปืนกระบอกหลัก ๆ ถูกออกแบบให้โจมตีได้ในระยะ 25 ไมล์ ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้ มาก่อน โดยในระยะไกลขนาดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องบินระบุตำแหน่งช่วยบินนำวิถีกระสุนอยู่เหนือเส้นขอบฟ้า ยามาโตก็เหมือนกับเรือขนาดใหญ่ที่มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่ามันจะไม่มีทางจม แต่แล้วเรือเหล่านั้นก็มักจะมีเหตุต้องจมลงจนทำให้เป็นที่มาของประวัติศาสตร์และตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา
เรือประจัญบานยามาโตเข้าร่วมกองเรือประจัญบานในเดือนธันวาคม 1941 โดยหน่วยข่าวกรองของอเมริกาก็รับรู้ถึงการประจำการนี้ ทว่าไม่มีใครรู้ถึงอานุภาพอันร้ายแรงของมัน นักวิเคราะห์จากกองทัพเรือสหรัฐเชื่อว่ายามาโตมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเรือประจัญบานลำใหม่ ๆ ของอเมริกา แต่ที่จริงแล้วมันใหญ่กว่าเรือเหล่านั้นถึงสองเท่า เพราะต้องออกแบบเพื่อรองรับปืนประจำเรือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการติดตั้งบนเรือประจัญบาน การยิงปืนขนาด 18 นิ้วด้วยความเร็วเหนือเสียง โดยที่กระสุนแต่ละนัดหนักพอ ๆ กับรถยนต์หนึ่งคัน ทำให้คาดการณ์ได้ว่าปืนของยามาโตน่าจะสามารถเจาะเกราะที่หนาเกือบสองฟุตได้
สาเหตุที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างเรือใหญ่ขนาดนั้นมาลอยลำอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ ขณะที่อเมริกาคู่ต่อสู้ทำไม่ได้ทั้ง ๆ ที่มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่ากันก็เพราะเรือของญี่ปุ่นไม่ต้องกังวลเรื่องการผ่านเข้าออกทางคลองปานามาที่มีล็อกยกระดับขนาด 110 ฟุตเป็นตัวกำหนด ไม่เพียงอานุภาพของอาวุธที่ร้ายแรง แต่การออกแบบยามาโตนั้นพิถีพิถันแทบจะทุกขั้นตอน เพราะแม้แต่หัวเรือก็มีการออกแบบให้ลดแรงเสียดทาน ความกว้างของยามาโตทำให้ความลู่น้ำมีความจำเป็นยิ่ง เพราะเมื่อมันแล่นผ่านน้ำหัวเรือก็จะก่อให้เกิดคลื่นอย่างต่อเนื่อง โหนกที่ท้องเรือยามาโตจะก่อให้เกิดคลื่นนำหน้าหัวเรือไปสองสามฟุต ซึ่งจะขจัดคลื่นที่เกิดจากตัวเรือเอง และเมื่อมีคลื่นปะทะน้อยลงแรงเหนี่ยวของน้ำก็ลดลง
เส้นทางการเดินเรือในภารกิจไม่มีวันกลับและจุดที่ยามาโต โดนโจมตีจนจม
ในเดือนมิถุนายน 1942 กองทัพเรือสหรัฐได้ล่อญี่ปุ่นเข้ามาติดกับ และส่งเครื่องบินรบหลายร้อยลำเข้าโจมตีกองเรือของญี่ปุ่นภายในไม่กี่ชั่วโมง ญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไปสี่ลำและเครื่องบินกว่า 330 ลำ เป็นความพ่ายแพ้ซึ่งทำให้กองทัพเรือของพระจักรพรรดิไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกเลยการสูญเสียกำลังคุ้มกันทางอากาศทำให้จุดด้อยของยามาโตมีเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อมันกลับเข้าสู่น่านน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกอีกครั้ง หลังจากจอดรออยู่ในที่ปลอดภัยนานนับปี ช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1945 ขณะที่กำลังเสียท่าให้กับอเมริกา ญี่ปุ่นส่งอาสาสมัครนักบินกามิกาเซ่ไปพุ่งชนเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรไป 300 ลำ คร่าชีวิตลูกเรืออเมริกันไปหลายพันคน แต่การยอมตายเพื่อศักดิ์ศรีของญี่ปุ่นก็ยังไม่จบสิ้นลง เพราะยามาโตคือคำสั่งลับสำหรับแผนการที่สิ้นหวังลำดับต่อไป
ยามาโต ขณะแล่นฟ่าระเบิดที่ถูกเครื่องบินทิ้งใส่
ยามาโตแล่นตรงไปสู่กองเรือของอเมริกา 1,500 ลำ โดยปราศจากการคุ้มกันทางอากาศ เมื่อเครื่องบินลำแรกโจมตียามาโตขณะที่มันอยู่ห่างจาก เรือรบอเมริกาถึงสองร้อยไมล์ ปืนขนาด 18 นิ้วที่มีอยู่ จึงไร้ความหมาย เพราะมันไม่สามารถยิงเครื่องบินที่ เข้ามาใกล้ในระยะ 10 ไมล์ได้สะดวกท่ามกลางเมฆที่ ลอยต่ำ ทันทีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดลำแรกสามารถทะลุรัศมีป้องกัน 10 ไมล์เข้ามาได้ ปืนต่อสู้อากาศยานนับร้อยกระบอกของยามาโตก็ถูกยิงขึ้น แต่เครื่องบินเกือบทุกลำก็สามารถบินเข้าสู่ระยะ 20,000 ฟุตเหนือเรือลำนี้พอดิบพอดี ระเบิดหนัก 500 ปอนด์ลูกแรกโดนดาดฟ้าเรือ แต่สิ่งที่ทำให้เรือประจัญบานลำนี้ถึงจุดจบก็คือตอร์ปิโดนับสิบ ๆ ลูกที่ถูกทิ้งจากอากาศและเจาะทะลุ ยามาโตจากใต้ระดับน้ำใกล้กับหัวเรือและท้ายเรือซึ่งเป็นจุดที่เปราะบางที่สุด
เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่ายามาโตได้จมลงพร้อมกับลูกเรือ 3,000 คน ผู้รอดชีวิตถูกนำตัวไปยังอาคารท่าเรือที่เคยถูกระเบิด ที่ซึ่งพวกเขาถูกซ่อนไว้ หนึ่งเดือนหลังจากเรือจมผู้รอดชีวิตเหล่านั้นจึงได้รับอนุญาตให้กลับไปหาครอบครัว เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามาแทนที่เรือประจัญบาน ในฐานะสัญลักษณ์แห่งอำนาจของชาติบนพื้นน้ำ ในระยะเวลาหกสิบปีหลังจากยามาโตจมลง ไม่มีชาติใดในโลกตัดสินใจสร้างเรือประจัญบานอีกเลย
ข้อมูลคร่าวๆของเรือยามาโต
เรือประจัญบานยามาโต และน้องสาว คือ เรือ มูซาชิ วางกระดูกงูเรือ ในช่วงปี ค.ศ. 1937-38 และสร้างเสร็จประมาณปี 1941-42 นับเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยระวางขับน้ำ 65,000 ตัน, ความเร็วเรือสูงสุด 27 นอต, มีปืนเรือขนาดใหญ่ที่สุด คือ 18.1 นิ้ว, ความยาวตลอดลำเรือ 862 ฟุต, ความกว้าง (บีมเรือ) 121 ฟุต, ดาดฟ้าเรือติดเกราะหนา 9.1 นิ้ว ซึ่งสามารถรับแรงระเบิดขนาด 2,000 lb ซึ่งถูกยิงมาจากระยะไกล 15,000 ฟุตได้ เรือยามาโต สร้างเสร็จในปี 1941 ตามมาด้วยเรือมูซาชิ ในปี 1942 อาวุธประจำเรือชั้นยามาโต
1. ปืนเรือ ขนาด 18.1"/45 เก้ากระบอก
2. ปืนเรือ ขนาด 6.1"/60 สิบสองกระบอก ภายหลังลดเหลือหกกระบอก
3. ปืน DP ขนาดลำกล้อง 5"/40 สิบสองกระบอก ต่อมาเพิ่มเป็นยี่สิบสี่กระบอก (DP เป็นปืนต่อสู้อากาศยานหนักแบบมาตรฐานของญีปุ่นในช่วงนั้น
4. ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาดลำกล้อง 25 ม.ม. มากกว่า 150 กระบอก
5. ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 13 ม.ม. สี่กระบอก
ภาพการยิงปืนใหญ่เรือ16นิ้วของเรือประจัญบานไอโอว่า แต่ปืนเรือยามาโตมีขนาดถึง18นิ้วซึ่งรุนแรงกว่าหลายเท่า
เรือยามาโต้เรือบชื่อดัง1