นี่เป็นเรื่องที่ผมเคยคุยกับรุ่นพี่คนนึงที่คร่ำหวอดในวงการมาพอสมควร วันนั้นเป็นวันที่ผมชวนรุ่นพี่ท่านนั้นไปดูหนัง และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำหนังสือ คุยกันอิท่าไหนไม่รู้ ก็มาเข้าเรื่องที่ว่า ทำไมการ์ตูนญี่ปุ่นถึงเข้ามาตีตลาดในไทยได้?
ตอนนั้นผมก็ตอบไม่ถูกเหมือนกัน ว่าเป็นเพราะอะไร หรืออาจจะตอบในแบบของคนวาดการ์ตูน แต่รุ่นพี่คนนี้เขาทำงานด้านบริหาร พวกการตลาด แล้วก็กฏหมาย คำตอบที่ได้ก็เลยต่างจากที่เคยได้ยินมาตลอด
คำตอบที่ได้มาในวันนั้นก็คือ การทำการ์ตูนญี่ปุ่นในยุคนั้น ถูกกว่าทำการ์ตูนไทยหลายเท่าตัว อันนี้คงต้องปูพื้นสักหน่อย สำหรับคนที่คิดว่าการ์ตูนไทยเพิ่งมาเริ่มทำกันไม่นานนี้ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ก่อนที่การ์ตูนญี่ปุ่นจะเข้ามาในไทย การ์ตูนไทยเองก็เป็นที่นิยมกันอยู่ค่อนข้างมาก นักเขียนรุ่นเก่าท่านหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า ถึงขนาดมีคนมารอซื้ออ่านกันหน้าโรงพิมพ์เลยทีเดียว
ที่นี้มาดูว่า การทำการ์ตูนญี่ปุ่นยุคนั้น ถูกกว่าทำการ์ตูนไทยอย่างไร ประเด็นสำคัญก็คือ การ์ตูนไทยต้องจ่ายค่าต้นฉบับ แต่การ์ตูนญี่ปุ่นไม่ต้อง แค่ไปซื้อการ์ตูนญี่ปุ่นมาเล่มนึง ยุคนั้นรู้สึกว่าจะมีขายที่ห้างไทยไดมารู(รู้สึกจะอยู่ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิร์ลดิหรือไงนี่แหละ ผมเองก็เกิดไำม่ทัน) แรกๆ นัยว่าจะทำกันเฉพาะในหมู่นักเรียนที่มีวิชาภาษาญี่ปุ่นติดตัวบ้่าง แล้วไปๆมาๆมันก็เริ่มขายดี
ขายดีเพราะมันมีความสด ต้องยอมรับในส่วนหนึ่งว่าการ์ตูนญี่ปุ่นมีแนวทางหลากหลายกว่า แต่ถ้าพูดถึงลายเส้นแล้ว ยุคนั้นผมว่าเรากินขาด นี่ไม่ได้พูดชมกันเองหรอกนะ อีกประการก็เรื่องค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว และประการถัดมาก็คือความเร็ว ของมันมีอยู่แล้ว แค่ไปหยิบฉวยเอามา ขณะที่การ์ตูนไทย กว่าจะปั่นต้นฉบับเสร็จเป็นตอนๆก็กินเวลาอยู่ ทั้งนี้เพราะยุคนั้นยังไม่มีเรื่องของลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์ยุคนั้นก็เลยเอามาทำกันสนุกสนาน เรื่องไหนดังก็ทำกันไป เรื่องเดียวออกมาหลายสำนักพิมพ์ เรื่องไหนไม่ดัง สำนักพิมพ์ก็ไม่ค่อยเสียอะไร เรียกว่าเลือกหยิบเลอกจับมาทำกันตามอัธยาสัย
ผมไม่ได้จะบอกว่าการเข้ามาของการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นสิ่งไม่ดี แต่เป็นเพราะกฏหมายยุคนั้นยังไม่สามารถคุ้มครองผู้ประกอบการเดิม หากยุคนั้นมีกฏหมายลิขสิทธิ์ อย่างน้อยเราก็เริ่มมาสูสีกันล่ะ สำนักพิมพ์ที่พิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นก็ต้องคิดกันหนักหน่อย หรือไม่อาจจะเลือกจ้างนักเขียนไทยเอง แล้วก็มีการ์ตูนญี่ปุ่นมาเป็นคู่แข่งให้ต้องปรับตัวเข้าหา ซึ่งก็หน้าจะไล่ตามกันได้ไม่ยาก
ตอนนั้นผมก็ตอบไม่ถูกเหมือนกัน ว่าเป็นเพราะอะไร หรืออาจจะตอบในแบบของคนวาดการ์ตูน แต่รุ่นพี่คนนี้เขาทำงานด้านบริหาร พวกการตลาด แล้วก็กฏหมาย คำตอบที่ได้ก็เลยต่างจากที่เคยได้ยินมาตลอด
คำตอบที่ได้มาในวันนั้นก็คือ การทำการ์ตูนญี่ปุ่นในยุคนั้น ถูกกว่าทำการ์ตูนไทยหลายเท่าตัว อันนี้คงต้องปูพื้นสักหน่อย สำหรับคนที่คิดว่าการ์ตูนไทยเพิ่งมาเริ่มทำกันไม่นานนี้ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ก่อนที่การ์ตูนญี่ปุ่นจะเข้ามาในไทย การ์ตูนไทยเองก็เป็นที่นิยมกันอยู่ค่อนข้างมาก นักเขียนรุ่นเก่าท่านหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า ถึงขนาดมีคนมารอซื้ออ่านกันหน้าโรงพิมพ์เลยทีเดียว
ที่นี้มาดูว่า การทำการ์ตูนญี่ปุ่นยุคนั้น ถูกกว่าทำการ์ตูนไทยอย่างไร ประเด็นสำคัญก็คือ การ์ตูนไทยต้องจ่ายค่าต้นฉบับ แต่การ์ตูนญี่ปุ่นไม่ต้อง แค่ไปซื้อการ์ตูนญี่ปุ่นมาเล่มนึง ยุคนั้นรู้สึกว่าจะมีขายที่ห้างไทยไดมารู(รู้สึกจะอยู่ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิร์ลดิหรือไงนี่แหละ ผมเองก็เกิดไำม่ทัน) แรกๆ นัยว่าจะทำกันเฉพาะในหมู่นักเรียนที่มีวิชาภาษาญี่ปุ่นติดตัวบ้่าง แล้วไปๆมาๆมันก็เริ่มขายดี
ขายดีเพราะมันมีความสด ต้องยอมรับในส่วนหนึ่งว่าการ์ตูนญี่ปุ่นมีแนวทางหลากหลายกว่า แต่ถ้าพูดถึงลายเส้นแล้ว ยุคนั้นผมว่าเรากินขาด นี่ไม่ได้พูดชมกันเองหรอกนะ อีกประการก็เรื่องค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว และประการถัดมาก็คือความเร็ว ของมันมีอยู่แล้ว แค่ไปหยิบฉวยเอามา ขณะที่การ์ตูนไทย กว่าจะปั่นต้นฉบับเสร็จเป็นตอนๆก็กินเวลาอยู่ ทั้งนี้เพราะยุคนั้นยังไม่มีเรื่องของลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์ยุคนั้นก็เลยเอามาทำกันสนุกสนาน เรื่องไหนดังก็ทำกันไป เรื่องเดียวออกมาหลายสำนักพิมพ์ เรื่องไหนไม่ดัง สำนักพิมพ์ก็ไม่ค่อยเสียอะไร เรียกว่าเลือกหยิบเลอกจับมาทำกันตามอัธยาสัย
ผมไม่ได้จะบอกว่าการเข้ามาของการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นสิ่งไม่ดี แต่เป็นเพราะกฏหมายยุคนั้นยังไม่สามารถคุ้มครองผู้ประกอบการเดิม หากยุคนั้นมีกฏหมายลิขสิทธิ์ อย่างน้อยเราก็เริ่มมาสูสีกันล่ะ สำนักพิมพ์ที่พิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นก็ต้องคิดกันหนักหน่อย หรือไม่อาจจะเลือกจ้างนักเขียนไทยเอง แล้วก็มีการ์ตูนญี่ปุ่นมาเป็นคู่แข่งให้ต้องปรับตัวเข้าหา ซึ่งก็หน้าจะไล่ตามกันได้ไม่ยาก
แล้วคตุณผู้อ่าน คิดยังไงมั่งครับ
ขอขอบคุณบทความของพี่วี จากบอร์ด TCM
การ์ตูนไทยหายไปไหน? ทำไมการ์ตูนญี่ปุ่นจึงครองตลาด? (ซ้ำขออภัย)