“141 ตัน”
เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ
ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของ ล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของหนุ่ม สาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา
จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร นั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อย หนังสือพมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3 ชม. เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน
ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น “ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ” ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า “ไม่ได้พระราชทานเฉยๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา โบหลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อย บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก”
เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ
ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของ ล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของหนุ่ม สาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา
จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร นั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อย หนังสือพมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3 ชม. เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน
ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น “ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ” ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า “ไม่ได้พระราชทานเฉยๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา โบหลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อย บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก”
“141 ตัน”