ร้าน The Chocolate Line
ร้านนี้ตกแต่งแบบโบราณ สไตล์ร้านขนมสมัยคุณร้านยายยังสาว
เพียงได้เห็นของที่นำมาจัดโชว์ที่หน้าต่าง กระจกของทางร้าน
ใครๆ ก็ต้องน้ำลายสอแล้ว และเมื่อเข้ามาในร้าน กลิ่นหอมตลบ
อบอวลของเมล็ดโกโก้และช็อกโกแลตรูปแบบต่างๆ ที่เห็นเรียงราย
อยู่ในร้านก็ยิ่งยั่วใจแบบสุดๆ
เมื่อมองทะลุกระจกบานใหญ่เข้าไปที่หลังร้าน ก็จะเห็น
Dominique Per-soone เชพปรุงช็อกโกแลตชั้นบรมครู
วัย 36 ปี กำลังยืนทำช็อกโกแลตอยู่อย่างขะมักเขม้น
เขาบอกว่า“ผมอยากให้ลูกค้าของเราได้เห็นว่าเราทำ
ช็อกโกแลตกันแบบสดๆ กับมือ”
Dominique เริ่มงานโดยการเป็นพ่อครัวฝึกหัดใน
ภัตตาคารระดับ 3 ดาว ในกรุงปารีส ต่อมาในปี
พ.ศ.2532 เขากับภรรยา ชื่อ Fabienne จึงได้มาเปิด
ร้าน The Chocolate Line ขณะนี้ร้านของเขามี
พนักงานถึง 11 คน
“วัตถุดิบที่มีคุณภาพคือปัจจัยสำคัญในการปรุง
ช็อกโกแลตชั้นยอด ผมชอบใช้ช็อกโกแลตสด
ใหม่ที่มาจากแหล่งปลูกจริงๆ แต่ละปีจะมีการเก็บ
เกี่ยวเมล็ดโกโก้กัน 2 ครั้ง และของที่ดีที่สุด จะมา
จากประเทศไอวอรี่โคสต์,กานา และปาปัวนิวกินี”
Dominique ได้คิดค้นช็อกโกแลตสูตรแปลกใหม่ขึ้นมา
หลายสูตร เขาบอกว่า “เมื่อหลายปีก่อน ผมได้คิดสูตร
ช็อกโกแลตผสมพริกขึ้นมา ซึ่งผมได้รับแรงบันดาลใจ
มาจากหนังชื่อดังเรื่อง Chocolat ผู้คนพากันหัวเราะ
เยาะผม แต่ลูกค้าก็ติดใจและกลับมาซื้อกันอีก แล้วตอน
นี้ร้านของเราก็มีชื่ออยู่ใน ไกด์บุ๊คของมิชลินด้วย”
ผลงานสร้างสรรค์แปลกๆของเขายังมี Tonka ที่ทำ
จาก white ganache (ช็อกโกแลตขาวผสมครีมข้น)
กะทิ วานิลลาเบอร์เบิ้น และเมล็ดโกโก้พันธุ์ตองกา
จากประเทศเวเนซุเอลา หรือ Havana ที่ทำจาก
marzipan (อัลมอนด์บดผสมน้ำตาล) และเหล้าลิเคียวร์
จากใบยา สูบพันธุ์คิวบา หมักในเหล้ารัมและคอนยัค
อย่างละครึ่ง ความพิเศษของช็อกโกแลตฝีมือ Dominique
ก็คือรส ชาติที่ผสมผสานกันหลากหลาย กับไส้ในสุด
เซอร์ไพรส์ที่ใครๆ ก็นึกไม่ถึง
ร้านนี้ตั้งอยู่ที่ Simon Stevinplein 19, ในเมืองบรูกส์
สินค้าจากร้าน The Chocolate Line
ร้าน Le Chocolatier Manon
ถ้าช็อกโกแลตของร้าน Chocolate Lines ของ
Dominique Persoone จัดเป็นผลงานสร้างสรรค์
ยุคใหม่ ช็อกโกแลตของ Christian Vanderkerken
เจ้าของร้าน Le Chocolatier Manon วัย 52 ปี
ก็ต้องนับเป็นผลงานแบบโบราณดั้งเดิม ที่เขาบอกว่า
“ผมไม่ถนัดที่จะปรุงช็อกโกแลตสูตรแปลกๆ ใหม่ๆ
ผมชอบทำตามแบบโบราณตามสูตรที่ตกทอดมาจาก
คุณปู่มากกว่า” และเขายังเสริมว่า “สำหรับชาวเบลเยียม
แล้ว ช็อกโกแลต คือ ความคลั่งไคล้ที่ห้ามใจไม่ได้
มันเป็นสิ่งเสพติดที่แสนหวาน และเป็นความภูมิใจของ
ประเทศเรา”
ช็อกโกแลตของร้าน Manon ทำด้วยมือทุกขั้นตอน
และส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
และ สหรัฐอเมริกาถึง 85% ส่วนที่เหลือจะขายที่ร้าน
เล็กๆ แต่หรูหราของเขาที่มีอยู่ 2 แห่ง ในกรุงบรัสเซลส์
คือที่ Rue de Congres 24 และ Rue Tilmont 64
Christian Vanderkerken หรือ ที่เรียกกันว่า Mr. Manon
เล่าให้ฟังว่า “ผมไม่เคยไปร่วมงาน ประกวดช็อกโกแลต
ที่ไหน แต่ก็ได้มา 5 รางวัล”
พร้อมกับโชว์ผลงานของเขาที่ได้รับรางวัลมา คือ
Sputnik ซึ่งเป็นช็อกโกแลตทรงกระสวยอวกาศ
ทำจากช็อกโกแลต 2 ชนิด สอดไส้ด้วยครีมสดรสส้ม
ตรงส่วนกรวย ส่วนลำตัวกระสวยนั้น สอดไส้ด้วย
marzipan ชุบเหล้าลิเคียวร์ Cointreau
“คุณต้องโยนเข้าปากทั้งชิ้นเลยนะ แล้วคุณจะได้
สัมผัสรสชาติของส่วนผสมทุกอย่างพร้อมกัน”
ผลงานของ Mr. Manon โด่งดัง ไปไกลถึงต่างแดน
แฟนๆ ช็อกโกแลตของเขา ได้แก่ อดีตสุภาพสตรีหมาย
เลข 1 ของประเทศสหรัฐอเมริกา นางแนนซี่ เรแกน
หรือนักร้องและดาราดัง อย่าง ไดอาน่า รอส และ
เจน ฟอนด้า แม้แต่ตัวเขาเองก็ยังกินช็อกโกแลตดำ
วันละถึง 250 กรัม เขาบอกว่า
“มันทำให้ผมอารมณ์ดีครับ”
ร้าน Choco-Story/The Chocolate Museum
พิพิธภัณฑ์ช็อกโกแลต (The Chocolate Museum)
ตั้งอยู่ในอาคาร Huis de Crone ซึ่งเป็นบ้านจากยุค
กลางที่ใหญ่ที่สุดหลังหนึ่งในเมืองบรูกส์ พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น
ในอาคารนำเสนอเรื่องราวของช็อกโกแลต ตั้งแต่เมื่อ
2,600 ปีก่อนจนถึงยุคปัจจุบัน เช่น เรื่องการค้นพบเมล็ด
โกโก้ของชาวเผ่ามายา ผู้นำโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่ม
รวมทั้งใช้เป็นเงินตราด้วยและขบวนการผลิตช็อกโกแลต
ตั้งแต่ขั้นแรกเมื่อยังเป็นเมล็ดโกโก้ เป็นต้น
“เมืองบรูกส์มีร้านช็อกโกแลต ไม่ต่ำกว่า 40 ร้าน
จึงเหมาะจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ช็อกโกแลต”
Cedric van Belle ลูกชายของ Eddy van Belle
ผู้ก่อตั้งกิจการพร้อมกับเพื่อนชื่อ Jacky Vergote
เล่าให้ฟัง
“Jacky สะสมกล่องและแม่พิมพ์แบบช็อกโกแลตไว้
จำนวนหนึ่ง ส่วนพ่อของผมก็จะสะสมของมาตั้งแต่
ยุคก่อนโคลอมเบียน พวกเขาจึงเริ่มต้นตั้งแต่จุดนั้น
ความตั้งใจของพวกเราก็คือ ต้องการให้พิพิธภัณฑ์
ของเราเป็นแหล่งความรู้ และต้องการให้แฟนพันธุ์แท้
ของช็อกโกแลต เบลเยียม รู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน
เวลาที่พวกเขามาที่นี่”
เวลา 10.30 นาฬิกา เด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งมาถึงที่ห้องชั้น
ล่างของพิพิธภัณฑ์ เพื่อชมการสาธิตวิธีทำช็อกโกแลต
Jacky Vergote ให้เกียรติมาสาธิตให้เด็กๆ ได้ชม หนวดโง้ง
และหมวกสีขาวทรงสูงของเขาดูสมกับเป็นเชพปรุงช็อกโกแลต
ชั้นบรมครู
“ผมจะเริ่มโดยการเติมช็อกโกแลตลงในแม่พิมพ์ก่อน”
เขาพูดพร้อมกับนำแม่พิมพ์ไปรองที่ก๊อก ก่อนที่
จะปล่อยช็อกโกแลตเหลวออกมา จากนั้นเพียงไม่กี่
นาที เด็กๆ ก็ส่งเสียงฮือฮาเมื่อเห็นเขาเติมถั่วเฮเซิล
ลงไปในแม่พิมพ์ ที่โรงงานช็อกโกแลตในพิพิธภัณฑ์
แห่งนี้ ดาราตัวจริงก็คือ Jacky Vergote นี่เอง
ร้าน Wittamer
ครอบครัว Wittamer ได้เปิดร้านช็อกโกแลตในกรุง
บรัสเซลส์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2453 นับแล้วก็อายุเกือบ
100 ปีทีเดียว Henri Wittamer วัย 87 ปี เจ้าของร้าน
คนปัจจุบันมีเชพปรุงช็อกโกแลตระดับฝีมือร่วมงานด้วย
ถึง 55 คน
Michael Lewis Anderson นักตกแต่งและสไตลิสต์
ช็อกโกแลตระดับหัวหน้าของทางร้าน ซึ่งมาจาก
ประเทศอังกฤษ บอกว่า “ตอนเด็กๆ ช็อกโกแลตที่
ผมมีโอกาสลิ้มรสก็มีเพียงของยี่ห้อ Mars กับ Twix
ที่ซื้อในโรงเรียนเท่านั้นเอง”
แต่ปัจจุบันเขามีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านออกแบบ
ช็อกโกแลตระดับหรูที่ทำให้ร้าน Wittamer โดดเด่น
ต่างไปจากร้านอื่นๆ
“งานของเราเป็นการผสมแฟชั่นเข้ากับช็อกโกแลต”
เขาบอกพร้อมกับชี้ ให้ดูช็อกโกแลตรูปรองเท้ายี่ห้อ
หลุยส์ วิตตอง ที่ตั้งโชว์ที่กระจกหน้าต่างของทางร้าน
“ร้าน Wittamer ของเราได้สร้างสรรค์งานพิเศษชุด
นี้ออกมาในโอกาสที่ได้มาร่วมงานกับแบรนด์ชั้นนำ
อย่าง หลุยส์ วิตตอง และที่ผมยังจำได้อีกงานหนึ่ง
ก็คือ งานฉลองครบรอบ 20 ปี ของบริษัทไมโครซอฟต์
ที่เราทำช็อกโกแลตเค้กชนิดพิเศษให้กับคุณบิล เกตส์
แต่ร้านของเราก็มีช็อกโกแลตแบบดั้งเดิมด้วย เมื่อคุณ
ได้ลองลิ้มรสช็อกโกแลตของ Wittamer เพียงคำแรก
คุณก็จะได้สัมผัสกับรสชาติแท้ๆ ของเมล็ดโกโก้ผสมกับ
รสชาตินุ่มนวลของไส้ชนิดต่างๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น
แบบพื้นๆ เช่น ไส้ราสเบอร์รี่ หรือที่หรูหราขึ้นมาอีกนิด
อย่างไส้ชาจีน จุดมุ่งหมายของเราคือ รสชาติจะต้อง
ผสมผสานกันได้อย่างกลมกล่อม”
เมื่อปี พ.ศ. 2543 พระราชวงศ์แห่งเบลเยียมได้แต่ง
ตั้งให้ร้าน Wittamer เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตเจ้า
ประจำของสำนักพระราชวัง
(6, 12-13 Place du Grand Sablon, Brussels)
ร้าน Chocolaterie Sukerbuyc
ภาพนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่กำลังเบียดเสียดยัดเยียดกัน
อยู่ในร้าน Cho-colaterie Sukerbuyc แถว Katelijnes-traat 5,
กลางเมืองบรูกส์ ถือเป็นเรื่องปกติของที่นี่ Mr.Sukerbuyc
เจ้าของร้านซึ่งก่อตั้งกิจการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 บอกว่า
“เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นวันละ 3-4 รอบ ที่ประเทศญี่ปุ่น
ช็อกโกแลตราคาแพงมาก ช็อกโกแลตแค่ชิ้นเดียว
ก็มีราคาเท่ากับของที่นี่ถึงครึ่งกิโลกรัม”
Mr.Sukerbuyc เป็นนักเคมีซึ่งนับว่าเหมาะทีเดียวเพราะเชพ
ปรุงช็อกโกแลตคนแรกของเบลเยียมก็เป็นนักเคมี เขาบอกว่า
“สมัยก่อน ช็อกโกแลตคือยา และมีขายตามร้านขายยาเท่านั้น
ช็อกโกแลตมีสาร theobromin ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบประสาท
ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง และรักษาอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งนับวัน
ผู้คนก็เริ่มหันมากินช็อกโกแลตคุณภาพดี โดยเฉพาะช็อกโกแลตดำ
ตามอย่างชาวเบลเยียมมากขึ้น เพราะพวกเขารู้ว่ามันมีประโยชน์”
ร้าน Chocolaterie Sukerbuyc เป็นหนึ่งในร้านช็อกโกแลต
เพียง 2 ร้านในเมืองบรูกส์ ที่ผลิตช็อกโกแลตภายในร้าน
ของตัวเองและทำด้วยมือทุกขั้นตอน Mr.Sukerbuyc บอกว่า
เรามีวิธีการทำ 2 แบบ คือ เติมช็อกโกแลตลงในแม่พิมพ์
ได้เลย หรือทำไส้ก่อนแล้วจึงนำช็อกโกแลตไปเคลือบ”
ส่วนที่ฝั่งตรงข้ามถนนกันนั้นคือ ร้านกาแฟของ Sukerbuyc
ซึ่งมีเครื่องดื่มชนิดพิเศษที่เป็นช็อกโกแลตร้อนชั้นดี เสิร์ฟ
พร้อมกับช็อกโกแลตอร่อยๆ ของทางร้านนั่นเอง
ร้าน Mary Chocolatier
ผู้ที่มองเข้าไปในร้าน Mary Chocolatier ที่ตั้งอยู่(Rue Royale 73)
ใกล้กับ เขตพระราชฐาน ในกรุงบรัสเซลส์ แถมยังตกแต่งด้วย
กำมะหยี่สีน้ำเงินและสีทอง และมีเฟอร์นิเจอร์สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
อาจจะคิดว่านี่คงเป็นร้านขายเครื่องเพชร มากกว่าจะเป็นร้านขาย
ช็อกโกแลตชื่อดัง Madam Marie Delluc ก่อตั้งร้านนี้ขึ้นตั้งแต่ปี
พ.ศ.2462 และปัจจุบัน ทางร้านก็ยังผลิตช็อกโกแลตด้วยสูตรดังเดิม
ตั้งแต่ยุคนั้น
เจ้าของร้านรุ่นปัจจุบัน คือ คู่สามีภรรยา Michel และ Sarah Boey
“ร้าน Mary ได้จัดทำช็อกโกแลตถวายพระราชวงศ์เบลเยียม มา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 จนถึงปัจจุบัน” Sarah เล่าให้ฟังด้วยความ
ภาคภูมิใจ
“ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เมื่อมาที่เบลเยียม ก็เคยได้
ชิมและติดใจช็อกโกแลตของทางร้านมาก”
ขณะที่ Michel เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตชนิดต่างๆของทางร้าน
ภรรยาของเขา Sarah จะเป็นฝ่ายต้อนรับลูกค้าและรับออเดอร์
อยู่ที่บริเวณที่รับแขกของร้าน
เธอจะช่วยลูกค้าเลือกช็อกโกแลตที่มีมากกว่า 70 ชนิด
ทั้งช็อกโกแลตดำ แบบสอดไส้ครีมข้น หรือแบบ truffles
(แบบมีไส้เคลือบผิวด้วยเนื้อช็อกโกแลตหรือผงโกโก้หน้าตา
คล้ายเห็ดทรัฟเฟิลส์)
เมื่อลูกค้าเลือกเสร็จแล้ว จากนั้นเขาก็จะบรรจุลงในกล่อง
และห่อกระดาษ พร้อมผูกริบบิ้นให้อย่างสวยงาม ช็อกโกแลต
ของร้าน Mary มีคุณค่าไม่ต่างไปจากขนมหวานของพระราชา
จริงๆ
ช็อกโกแลตจากร้าน Mary Chocolatier
Credit: http://atcloud.com
ร้านนี้ตกแต่งแบบโบราณ สไตล์ร้านขนมสมัยคุณร้านยายยังสาว
เพียงได้เห็นของที่นำมาจัดโชว์ที่หน้าต่าง กระจกของทางร้าน
ใครๆ ก็ต้องน้ำลายสอแล้ว และเมื่อเข้ามาในร้าน กลิ่นหอมตลบ
อบอวลของเมล็ดโกโก้และช็อกโกแลตรูปแบบต่างๆ ที่เห็นเรียงราย
อยู่ในร้านก็ยิ่งยั่วใจแบบสุดๆ
เมื่อมองทะลุกระจกบานใหญ่เข้าไปที่หลังร้าน ก็จะเห็น
Dominique Per-soone เชพปรุงช็อกโกแลตชั้นบรมครู
วัย 36 ปี กำลังยืนทำช็อกโกแลตอยู่อย่างขะมักเขม้น
เขาบอกว่า“ผมอยากให้ลูกค้าของเราได้เห็นว่าเราทำ
ช็อกโกแลตกันแบบสดๆ กับมือ”
Dominique เริ่มงานโดยการเป็นพ่อครัวฝึกหัดใน
ภัตตาคารระดับ 3 ดาว ในกรุงปารีส ต่อมาในปี
พ.ศ.2532 เขากับภรรยา ชื่อ Fabienne จึงได้มาเปิด
ร้าน The Chocolate Line ขณะนี้ร้านของเขามี
พนักงานถึง 11 คน
“วัตถุดิบที่มีคุณภาพคือปัจจัยสำคัญในการปรุง
ช็อกโกแลตชั้นยอด ผมชอบใช้ช็อกโกแลตสด
ใหม่ที่มาจากแหล่งปลูกจริงๆ แต่ละปีจะมีการเก็บ
เกี่ยวเมล็ดโกโก้กัน 2 ครั้ง และของที่ดีที่สุด จะมา
จากประเทศไอวอรี่โคสต์,กานา และปาปัวนิวกินี”
Dominique ได้คิดค้นช็อกโกแลตสูตรแปลกใหม่ขึ้นมา
หลายสูตร เขาบอกว่า “เมื่อหลายปีก่อน ผมได้คิดสูตร
ช็อกโกแลตผสมพริกขึ้นมา ซึ่งผมได้รับแรงบันดาลใจ
มาจากหนังชื่อดังเรื่อง Chocolat ผู้คนพากันหัวเราะ
เยาะผม แต่ลูกค้าก็ติดใจและกลับมาซื้อกันอีก แล้วตอน
นี้ร้านของเราก็มีชื่ออยู่ใน ไกด์บุ๊คของมิชลินด้วย”
ผลงานสร้างสรรค์แปลกๆของเขายังมี Tonka ที่ทำ
จาก white ganache (ช็อกโกแลตขาวผสมครีมข้น)
กะทิ วานิลลาเบอร์เบิ้น และเมล็ดโกโก้พันธุ์ตองกา
จากประเทศเวเนซุเอลา หรือ Havana ที่ทำจาก
marzipan (อัลมอนด์บดผสมน้ำตาล) และเหล้าลิเคียวร์
จากใบยา สูบพันธุ์คิวบา หมักในเหล้ารัมและคอนยัค
อย่างละครึ่ง ความพิเศษของช็อกโกแลตฝีมือ Dominique
ก็คือรส ชาติที่ผสมผสานกันหลากหลาย กับไส้ในสุด
เซอร์ไพรส์ที่ใครๆ ก็นึกไม่ถึง
ร้านนี้ตั้งอยู่ที่ Simon Stevinplein 19, ในเมืองบรูกส์
สินค้าจากร้าน The Chocolate Line
ร้าน Le Chocolatier Manon
ถ้าช็อกโกแลตของร้าน Chocolate Lines ของ
Dominique Persoone จัดเป็นผลงานสร้างสรรค์
ยุคใหม่ ช็อกโกแลตของ Christian Vanderkerken
เจ้าของร้าน Le Chocolatier Manon วัย 52 ปี
ก็ต้องนับเป็นผลงานแบบโบราณดั้งเดิม ที่เขาบอกว่า
“ผมไม่ถนัดที่จะปรุงช็อกโกแลตสูตรแปลกๆ ใหม่ๆ
ผมชอบทำตามแบบโบราณตามสูตรที่ตกทอดมาจาก
คุณปู่มากกว่า” และเขายังเสริมว่า “สำหรับชาวเบลเยียม
แล้ว ช็อกโกแลต คือ ความคลั่งไคล้ที่ห้ามใจไม่ได้
มันเป็นสิ่งเสพติดที่แสนหวาน และเป็นความภูมิใจของ
ประเทศเรา”
ช็อกโกแลตของร้าน Manon ทำด้วยมือทุกขั้นตอน
และส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
และ สหรัฐอเมริกาถึง 85% ส่วนที่เหลือจะขายที่ร้าน
เล็กๆ แต่หรูหราของเขาที่มีอยู่ 2 แห่ง ในกรุงบรัสเซลส์
คือที่ Rue de Congres 24 และ Rue Tilmont 64
Christian Vanderkerken หรือ ที่เรียกกันว่า Mr. Manon
เล่าให้ฟังว่า “ผมไม่เคยไปร่วมงาน ประกวดช็อกโกแลต
ที่ไหน แต่ก็ได้มา 5 รางวัล”
พร้อมกับโชว์ผลงานของเขาที่ได้รับรางวัลมา คือ
Sputnik ซึ่งเป็นช็อกโกแลตทรงกระสวยอวกาศ
ทำจากช็อกโกแลต 2 ชนิด สอดไส้ด้วยครีมสดรสส้ม
ตรงส่วนกรวย ส่วนลำตัวกระสวยนั้น สอดไส้ด้วย
marzipan ชุบเหล้าลิเคียวร์ Cointreau
“คุณต้องโยนเข้าปากทั้งชิ้นเลยนะ แล้วคุณจะได้
สัมผัสรสชาติของส่วนผสมทุกอย่างพร้อมกัน”
ผลงานของ Mr. Manon โด่งดัง ไปไกลถึงต่างแดน
แฟนๆ ช็อกโกแลตของเขา ได้แก่ อดีตสุภาพสตรีหมาย
เลข 1 ของประเทศสหรัฐอเมริกา นางแนนซี่ เรแกน
หรือนักร้องและดาราดัง อย่าง ไดอาน่า รอส และ
เจน ฟอนด้า แม้แต่ตัวเขาเองก็ยังกินช็อกโกแลตดำ
วันละถึง 250 กรัม เขาบอกว่า
“มันทำให้ผมอารมณ์ดีครับ”
ร้าน Choco-Story/The Chocolate Museum
พิพิธภัณฑ์ช็อกโกแลต (The Chocolate Museum)
ตั้งอยู่ในอาคาร Huis de Crone ซึ่งเป็นบ้านจากยุค
กลางที่ใหญ่ที่สุดหลังหนึ่งในเมืองบรูกส์ พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น
ในอาคารนำเสนอเรื่องราวของช็อกโกแลต ตั้งแต่เมื่อ
2,600 ปีก่อนจนถึงยุคปัจจุบัน เช่น เรื่องการค้นพบเมล็ด
โกโก้ของชาวเผ่ามายา ผู้นำโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่ม
รวมทั้งใช้เป็นเงินตราด้วยและขบวนการผลิตช็อกโกแลต
ตั้งแต่ขั้นแรกเมื่อยังเป็นเมล็ดโกโก้ เป็นต้น
“เมืองบรูกส์มีร้านช็อกโกแลต ไม่ต่ำกว่า 40 ร้าน
จึงเหมาะจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ช็อกโกแลต”
Cedric van Belle ลูกชายของ Eddy van Belle
ผู้ก่อตั้งกิจการพร้อมกับเพื่อนชื่อ Jacky Vergote
เล่าให้ฟัง
“Jacky สะสมกล่องและแม่พิมพ์แบบช็อกโกแลตไว้
จำนวนหนึ่ง ส่วนพ่อของผมก็จะสะสมของมาตั้งแต่
ยุคก่อนโคลอมเบียน พวกเขาจึงเริ่มต้นตั้งแต่จุดนั้น
ความตั้งใจของพวกเราก็คือ ต้องการให้พิพิธภัณฑ์
ของเราเป็นแหล่งความรู้ และต้องการให้แฟนพันธุ์แท้
ของช็อกโกแลต เบลเยียม รู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน
เวลาที่พวกเขามาที่นี่”
เวลา 10.30 นาฬิกา เด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งมาถึงที่ห้องชั้น
ล่างของพิพิธภัณฑ์ เพื่อชมการสาธิตวิธีทำช็อกโกแลต
Jacky Vergote ให้เกียรติมาสาธิตให้เด็กๆ ได้ชม หนวดโง้ง
และหมวกสีขาวทรงสูงของเขาดูสมกับเป็นเชพปรุงช็อกโกแลต
ชั้นบรมครู
“ผมจะเริ่มโดยการเติมช็อกโกแลตลงในแม่พิมพ์ก่อน”
เขาพูดพร้อมกับนำแม่พิมพ์ไปรองที่ก๊อก ก่อนที่
จะปล่อยช็อกโกแลตเหลวออกมา จากนั้นเพียงไม่กี่
นาที เด็กๆ ก็ส่งเสียงฮือฮาเมื่อเห็นเขาเติมถั่วเฮเซิล
ลงไปในแม่พิมพ์ ที่โรงงานช็อกโกแลตในพิพิธภัณฑ์
แห่งนี้ ดาราตัวจริงก็คือ Jacky Vergote นี่เอง
ร้าน Wittamer
ครอบครัว Wittamer ได้เปิดร้านช็อกโกแลตในกรุง
บรัสเซลส์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2453 นับแล้วก็อายุเกือบ
100 ปีทีเดียว Henri Wittamer วัย 87 ปี เจ้าของร้าน
คนปัจจุบันมีเชพปรุงช็อกโกแลตระดับฝีมือร่วมงานด้วย
ถึง 55 คน
Michael Lewis Anderson นักตกแต่งและสไตลิสต์
ช็อกโกแลตระดับหัวหน้าของทางร้าน ซึ่งมาจาก
ประเทศอังกฤษ บอกว่า “ตอนเด็กๆ ช็อกโกแลตที่
ผมมีโอกาสลิ้มรสก็มีเพียงของยี่ห้อ Mars กับ Twix
ที่ซื้อในโรงเรียนเท่านั้นเอง”
แต่ปัจจุบันเขามีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านออกแบบ
ช็อกโกแลตระดับหรูที่ทำให้ร้าน Wittamer โดดเด่น
ต่างไปจากร้านอื่นๆ
“งานของเราเป็นการผสมแฟชั่นเข้ากับช็อกโกแลต”
เขาบอกพร้อมกับชี้ ให้ดูช็อกโกแลตรูปรองเท้ายี่ห้อ
หลุยส์ วิตตอง ที่ตั้งโชว์ที่กระจกหน้าต่างของทางร้าน
“ร้าน Wittamer ของเราได้สร้างสรรค์งานพิเศษชุด
นี้ออกมาในโอกาสที่ได้มาร่วมงานกับแบรนด์ชั้นนำ
อย่าง หลุยส์ วิตตอง และที่ผมยังจำได้อีกงานหนึ่ง
ก็คือ งานฉลองครบรอบ 20 ปี ของบริษัทไมโครซอฟต์
ที่เราทำช็อกโกแลตเค้กชนิดพิเศษให้กับคุณบิล เกตส์
แต่ร้านของเราก็มีช็อกโกแลตแบบดั้งเดิมด้วย เมื่อคุณ
ได้ลองลิ้มรสช็อกโกแลตของ Wittamer เพียงคำแรก
คุณก็จะได้สัมผัสกับรสชาติแท้ๆ ของเมล็ดโกโก้ผสมกับ
รสชาตินุ่มนวลของไส้ชนิดต่างๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น
แบบพื้นๆ เช่น ไส้ราสเบอร์รี่ หรือที่หรูหราขึ้นมาอีกนิด
อย่างไส้ชาจีน จุดมุ่งหมายของเราคือ รสชาติจะต้อง
ผสมผสานกันได้อย่างกลมกล่อม”
เมื่อปี พ.ศ. 2543 พระราชวงศ์แห่งเบลเยียมได้แต่ง
ตั้งให้ร้าน Wittamer เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตเจ้า
ประจำของสำนักพระราชวัง
(6, 12-13 Place du Grand Sablon, Brussels)
ร้าน Chocolaterie Sukerbuyc
ภาพนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่กำลังเบียดเสียดยัดเยียดกัน
อยู่ในร้าน Cho-colaterie Sukerbuyc แถว Katelijnes-traat 5,
กลางเมืองบรูกส์ ถือเป็นเรื่องปกติของที่นี่ Mr.Sukerbuyc
เจ้าของร้านซึ่งก่อตั้งกิจการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 บอกว่า
“เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นวันละ 3-4 รอบ ที่ประเทศญี่ปุ่น
ช็อกโกแลตราคาแพงมาก ช็อกโกแลตแค่ชิ้นเดียว
ก็มีราคาเท่ากับของที่นี่ถึงครึ่งกิโลกรัม”
Mr.Sukerbuyc เป็นนักเคมีซึ่งนับว่าเหมาะทีเดียวเพราะเชพ
ปรุงช็อกโกแลตคนแรกของเบลเยียมก็เป็นนักเคมี เขาบอกว่า
“สมัยก่อน ช็อกโกแลตคือยา และมีขายตามร้านขายยาเท่านั้น
ช็อกโกแลตมีสาร theobromin ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบประสาท
ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง และรักษาอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งนับวัน
ผู้คนก็เริ่มหันมากินช็อกโกแลตคุณภาพดี โดยเฉพาะช็อกโกแลตดำ
ตามอย่างชาวเบลเยียมมากขึ้น เพราะพวกเขารู้ว่ามันมีประโยชน์”
ร้าน Chocolaterie Sukerbuyc เป็นหนึ่งในร้านช็อกโกแลต
เพียง 2 ร้านในเมืองบรูกส์ ที่ผลิตช็อกโกแลตภายในร้าน
ของตัวเองและทำด้วยมือทุกขั้นตอน Mr.Sukerbuyc บอกว่า
เรามีวิธีการทำ 2 แบบ คือ เติมช็อกโกแลตลงในแม่พิมพ์
ได้เลย หรือทำไส้ก่อนแล้วจึงนำช็อกโกแลตไปเคลือบ”
ส่วนที่ฝั่งตรงข้ามถนนกันนั้นคือ ร้านกาแฟของ Sukerbuyc
ซึ่งมีเครื่องดื่มชนิดพิเศษที่เป็นช็อกโกแลตร้อนชั้นดี เสิร์ฟ
พร้อมกับช็อกโกแลตอร่อยๆ ของทางร้านนั่นเอง
ร้าน Mary Chocolatier
ผู้ที่มองเข้าไปในร้าน Mary Chocolatier ที่ตั้งอยู่(Rue Royale 73)
ใกล้กับ เขตพระราชฐาน ในกรุงบรัสเซลส์ แถมยังตกแต่งด้วย
กำมะหยี่สีน้ำเงินและสีทอง และมีเฟอร์นิเจอร์สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
อาจจะคิดว่านี่คงเป็นร้านขายเครื่องเพชร มากกว่าจะเป็นร้านขาย
ช็อกโกแลตชื่อดัง Madam Marie Delluc ก่อตั้งร้านนี้ขึ้นตั้งแต่ปี
พ.ศ.2462 และปัจจุบัน ทางร้านก็ยังผลิตช็อกโกแลตด้วยสูตรดังเดิม
ตั้งแต่ยุคนั้น
เจ้าของร้านรุ่นปัจจุบัน คือ คู่สามีภรรยา Michel และ Sarah Boey
“ร้าน Mary ได้จัดทำช็อกโกแลตถวายพระราชวงศ์เบลเยียม มา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 จนถึงปัจจุบัน” Sarah เล่าให้ฟังด้วยความ
ภาคภูมิใจ
“ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เมื่อมาที่เบลเยียม ก็เคยได้
ชิมและติดใจช็อกโกแลตของทางร้านมาก”
ขณะที่ Michel เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตชนิดต่างๆของทางร้าน
ภรรยาของเขา Sarah จะเป็นฝ่ายต้อนรับลูกค้าและรับออเดอร์
อยู่ที่บริเวณที่รับแขกของร้าน
เธอจะช่วยลูกค้าเลือกช็อกโกแลตที่มีมากกว่า 70 ชนิด
ทั้งช็อกโกแลตดำ แบบสอดไส้ครีมข้น หรือแบบ truffles
(แบบมีไส้เคลือบผิวด้วยเนื้อช็อกโกแลตหรือผงโกโก้หน้าตา
คล้ายเห็ดทรัฟเฟิลส์)
เมื่อลูกค้าเลือกเสร็จแล้ว จากนั้นเขาก็จะบรรจุลงในกล่อง
และห่อกระดาษ พร้อมผูกริบบิ้นให้อย่างสวยงาม ช็อกโกแลต
ของร้าน Mary มีคุณค่าไม่ต่างไปจากขนมหวานของพระราชา
จริงๆ
ช็อกโกแลตจากร้าน Mary Chocolatier
Credit: http://atcloud.com
6 ร้านช็อกโกแลตชื่อดังของเบลเยียม