![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-01.jpg)
ถ้าพูดถึงอนิเมะที่เรียกเสียงฮาในซีซั่นฤดูใบไม้ผลิ 2013 แล้ว เชื่อว่าหนึ่งในนั้นย่อมต้องมี Haiyore! Nyaruko-san W อนิเมะสุดป่วนระดับจักรวาลรวมอยู่ด้วยแน่นอน ที่แต่ละตอนขนมุกล้อเรื่องอื่นๆ มาได้ไม่หยุดหย่อน แต่ว่าในครั้งนี้เราไม่ได้จะมาพูดถึงเรื่องฮาๆ แต่เป็นตำนานของตัวละครต่างๆ ในเรื่อง อย่างที่แฟนๆ อนิเมะเรื่องนี้น่าจะพอรู้กันว่า ตัวละครรวมถึงสถานที่ต่างๆ ในเรื่องนี้ได้แรงบัลดาลใจมาจาก
งานประพันธ์ชุดตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) ที่ริเริ่มโดย เอช. พี. เลิฟคราฟท์ (H. P. Lovecraft) ดังนั้นเอาเป็นว่าเรามาเล่าถึง “ร่างที่แท้จริง” ของสาวๆ โมเอะในเรื่องตามตำนานกัน!!
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-w-s2-ep-1-seventhstyle-007-614x345-500x280.jpg)
ตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) เป็นตำนานสมมติที่สร้างขึ้นเพื่อรวมงานประพันธ์ของ เอช. พี. เลิฟคราฟท์ โดยนักประพันธ์ชื่อ ออกัสต์ เดอเลธ (August Derleth) เป็นผู้เริ่มใช้คำนี้ ตำนานคธูลูไม่ใช่ซีรีส์เดียว แต่รวมถึงงานประพันธ์ทุกรูปแบบที่มีตัวละคร และเนื้อหาในแบบเดียวกัน โดยเป็นตำนานที่นักประพันธ์ในแนวเลิฟคราฟท์ใช้ประกอบงานเขียน และแต่งเติมขยายจักรจาลสมมตินี้ออกไปจากเดิมอีกมากมาย
สำหรับตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) นั้นจะแบ่งเทพออกเป็น 3 พวกด้วยกันคือ
- เกรทโอลด์วัน หรือ เฒ่าผู้ยิ่งใหญ่ (Great old one)
- เอาเตอร์ก็อด หรือ อุตรเทพ (Other god)
- เอลเดอร์ก็อด หรือ เทพโบราณ (Elder god)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-03-400x533.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-02-400x493.jpg)
ไนอาลาโธเทป, เนียลาโธเทป (Nyarlathotep) หรือในอนิเมะคือ Nyaruko
เป็นหนึ่งในเอาเตอร์ก็อดมีฉายาว่า “ความวุ่นวายที่คืบคลาน” (Crawling Chaos) ปรากฏตัวในเรื่องสั้นชื่อ Nyarlathotep ของ เอช. พี. เลิฟคราฟท์ ปี 1920 เป็นเทพที่มีบทบาทมากที่สุดตนหนึ่ง ถูกใช้เป็นตัวร้ายอยู่บ่อยๆ มีร่างอวตารอยู่มากมายนับพันร่าง บางครั้งก็ปรากฏกายในร่างมนุษย์ เป็นชายชุดดำขี้เล่นรักสนุก ลักษณะคล้ายฟาโรห์ของชาวอียิปต์ และมีสาวกติดตามจำนวนมาก แต่ส่วนมากจะปรากฏตัวเป็นสัตว์ประหลาดอันสะพรึงกลัวเสียมากกว่า อย่างเช่นในบทประพันธ์เรื่อง The Haunter of the Dark ปี 1933 ที่ได้ปรากฏร่างเป็นอสูรกายมีหนวดระยาง มีปีกเหมือนค้างคาว และดวงตาที่ลุกเป็นไฟ ซึ่งร่างอวตารต่างๆ ในบางครั้งก็มีลัทธิเคารพบูชาแตกต่างกันไป
Nyarlathotep มีจุดเด่นตรงที่จะไม่จัดการกับเป้าหมายด้วยตัวเอง แต่จะใช้วิธีหลอกล่อต่างๆ อย่างเช่นการมอบเทคโนโลยีให้แล้วเฝ้าดูการนำไปใช้ในทางที่ผิด จนทำลายตัวเองไปอย่างช้าๆ นอกจากนี้ไน Nyarlathotep ยังมีหน้าที่รับใช้อซาธอท (Azathoth) เอาเตอร์ก็อดที่ทรงพลังที่สุดในจักรวาลผู้หลับไหล บางครั้งเชื่อว่าไนอาลาโธเทปก็คือจิตที่แยกออกมาของอซาธอทนั่นเอง
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-06-e1368643155759-400x449.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-05-400x541.jpg)
คธุกกา (Cthugha) หรือในอนิเมะคือ Cthuko (Kuuko)หนึ่งในเกรทโอลด์วัน ปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The House on Curwen Street ประพันธ์โดยออกัสต์ เดอเลธ (August Derleth) ในปี 1944 โดยเดอเลธได้วางตำแหน่งของคธุกกาไว้กับธาตุไฟตามทฤษฏีธาตุทั้งสี่ คธุกกามีลักษณะเป็นลูกไฟขนาดใหญ่และถูกขังไว้ในดาวโฟมาลออต (Fomalhaut) ในเรื่อง The Dweller in Darkness ซึ่งเป็นเรื่องสั้นอีกเรื่องของเดอเลธที่แต่งในปีเดียวกัน ตัวเอกของเรื่องได้พยายามเรียกคธุกกามาเพื่อขับไล่ร่างอวตารของไนอาลาโธเทป คธุกกามีบริวารเป็นดวงไฟขนาดเล็กซึ่งเรียกว่า “แวมไพร์เพลิง” (ไอ้ที่ในอนิเมะเป็นฟันเนลนั่นอ่ะนะ)![](/e.gif)
ฮัสเทอร์ (Hastur) หรือในอนิเมะคือ Hasta (Hasuta)หนึ่งในเกรทโอลด์วัน แต่อันที่จริงมีต้นกำเนิดมาก่อนหน้านั้นแล้ว ในเรื่องสั้นชื่อ “Haïta the Shepherd” ปี 1983 ของนักประพันธ์นามแอมโบรส เบียซ (Ambrose Bierce) ในฐานะเทพที่คนเลี้ยงแกะเคารพบูชา ผู้เป็นเทพแห่งความดีงาม ผิดกับงานประพันธ์ในยุคต่อมาที่นำเรื่องของฮัสเทอร์มาเขียนถึง ซึ่งก็คือ โรเบิร์ต วิลเลียม แคมเบอร์ (Robert W. Chambers) ในบทประพันธ์รวมเรื่องสั้นสยองขวัญชื่อ The King in Yellow ปี 1895เอช พี เลิฟคราฟท์ ประทับใจในงานของแคมเบอร์ และได้เขียนถึงฮัสเทอร์ไว้ในเรื่องThe Whisperer in Darkness ปี 1931 แต่ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าฮัสเทอร์นี้เป็นอะไร จนกระทั่งออกัสต์ เดอเลธ ยกให้ฮัสเทอร์เป็นเกรทโอลด์วันและวางตำแหน่งไว้กับอากาศธาตุตามทฤษฏีธาตุทั้งสี่ ส่วนร่างจริงของฮัสเทอร์นั้นไม่เคยปรากฏ แต่เชื่อว่ามีคล้ายกับปลาหมึกยักษ์ขนาดมหึมา![](/e.gif)
คธูลู, คุลลู, ธูลู (Cthulhu) หรือในอนิเมะคือ Luhy Distoneหนึ่งในเกรทโอลด์วัน เทพที่ออกัสต์ เดอเลธ นำมาตั้งเป็นชื่อตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) ปรากฏตัวครั้งแรกในงานประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ เรื่อง The Call of Cthulhu ในปี 1928 ว่ากันว่าชื่อจริงของคธูลูนั้นเป็นภาษาที่มนุษย์ไม่สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง ชื่อของคธูลูมักใช้เปรียบเทียบในความหมายของสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ แต่ส่วนหัวคล้ายกับปลาหมึก ร่างกายมีเกล็ด ขาหน้าเป็นกงเล็บแหลมคมและมีปีกคู่หนึ่งอยู่ด้านหลัง ในบทประพันธ์กล่าวว่าคธูลูมีขนาดใหญ่โตราวกับเป็นภูเขาเคลื่อนที่ได้คธูลูมายังโลกตั้งแต่ยุคก่อนจะมีมนุษย์ และสร้างนครลูเยห์ (R’lyeh) ไว้กลางมหาสมุทร แต่ต่อมาได้จมลงสู่ก้นมหาสมุทรพร้อมกับคธูลูในสภาพกึ่งตาย และนำในมหาสมุทรได้กลายเป็นกำแพงธรรมชาติปิดกั้นพลังจิตของคธูลูไว้ และได้รอเวลาที่ดวงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อปลุกคธูลูและนครลูเยห์ขึ้นมาอีกครั้ง
แชนแทค (Shantak) หรือในอนิเมะคือ Shantak-kunสัตว์ประหลาดที่ปรากฏตัวครั้งแรกในนิยายเรื่อง The Dream-Quest of Unknown Kadath ปี 1926 ในบทประพันธ์ระบุว่าแชนแทคนั้นมีขนาดใหญ่กว่าช้าง ตามตัวมีเกล็ด รูปร่างเหมือนนกแต่มีปีกเหมือนค้างคาว มีหัวเหมือนม้า ผิวเป็นเมือก และเท้าเป็นกงเล็บ อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งหนาวเย็นที่เรียกว่า Cold Waste ในโลกแห่งความฝัน ซึ่งบางครั้งจะมีผู้เรียกแชนแทคมาใช้เป็นสัตว์พาหนะเดินทางไปในอากาศได้ แชนแทคนั้นเป็นเผ่าพันธุ์รับใช้ของไนอาลาโธเทป
กาทาโนธอ (Ghatanothoa) หรือในอนิเมะคือ Ghutatan (ซีซั่นแรก)ปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น Out Of The Aeons ซึ่งประพันธ์ร่วมกันโดย เอช. พี. เลิฟคราฟท์ และเฮเซล เฮรัลด์ (Hazel Heald) ในปี 1935 มีขนาดใหญ่โตและรูปร่างอันน่าหวาดกลัว ผู้ที่จ้องมองกาทาโนธอจะกลายเป็นมัมมี่ที่มีชีวิต โดยที่ร่างกายจะกลายเป็นหนังแห้งไม่สามารถขยับได้ แต่อวัยวะภายในรวมถึงสมองจะยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทำให้ยังมีสติรับรู้ตามปกติ การจะหลุดพ้นจากความทรมารนี้ได้มีแต่ต้องทำลายสมองเท่านั้น
เนื้อหาออกจะยาวเสียหน่อย จากการไปรวบรวมมาจากหลายๆ ที่นะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำนานที่ถูกญี่ปุ่นนำไปดัดแปลง จากสัตว์ประหลาดอันน่าสะพรึงให้กลายเป็นสาวน้อยโมเอะกันไปได้ และบอกไว้นิดหนึ่งว่าภาพประกอบที่เป็นลักษณะตามตำนานนั้น นักวาดหลายคนได้วาดออกมาตามจินตนาการของตนเอง ดังนั้นอาจแต่งต่างกันไปตามแต่ผู้วาดเน้อ!
Credit Akibaton.comผู้เผยแพร่ CriMSonTHและขอขอบคุณ 2th
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-12-e1368644351305-400x483.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-11-400x518.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-10-e1368643997220-400x478.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-07-400x544.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-08-500x281.png)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/haiyore-nyaruko-san-on-h-p-lovecraft-cthulhu-mythos-04-500x281.jpg)
![](http://akibatan.com/wp-content/uploads/2013/05/original-cthulhu-image-500x284.jpg)
Credit Akibaton.comผู้เผยแพร่ CriMSonTHและขอขอบคุณ 2th
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย CriMSonTH เมื่อ 2013-5-17 17:47
ตำนานคธูลู ร่างที่แท้จริงของสาวน้อยใน Haiyore! Nyaruko-san