แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย OnceFor_ME เมื่อ 2013-12-24 02:40
โนบุนากะ เกิดในปี ค.ศ. 1534 เป็นบุตรของ โอดะ โนบุฮิเดะ เจ้าเมืองโอวาริ ซึ่งเป็นเพียงแคว้นเล็ก ๆ ต่อมาเมื่อบิดาสิ้นชีวิตลงอย่างกะทันหันในปี ค.ศ. 1549 โนบุนากะซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 15 ปี ได้ฉายแววความสามารถโดยการกำราบบรรดาญาติของตน ด้วยกำลังทหาร และขึ้นเป็นผู้นำตระ:Xลโอดะ ในปี ค.ศ. 1559 แม้จะได้เป็นเจ้าครองแคว้น แต่โอวาริก็เป็นเพียงแคว้นเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญอะไร จนกระทั่งเมื่อ อิมากาว่า โยชิโมโตะ ไดเมียวแห่ง มิคาว่าซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ นำกองทัพจำนวน 25,000 นาย เข้าโจมตีโอวาริเพื่อเปิดทางสู่การบุกเกียวโต โนบุนากะ ไม่ยอมจำนนต่อกองทัพข้าศึกและตั้งมั่นในปราสาท ทหารของอิมากาว่า ตั้งค่ายกระจายล้อมปราสาทไว้และเตรียมการเข้าตี
ทว่าในคืนหนึ่งเกิดพายุฝน ทัพของอิมากาว่าหลบพักอยู่ในค่าย โนบุนากะคุมทหารม้า 500 นาย บุกเข้าโจมตี ค่ายหลวงของอิมากาว่า เนื่องจาฝ่ายข้าศึกไม่คิดว่าจะถูกโจมตีจึงประมาทไม่ทันระวังตัว ประกอบกับขาดความชำนาญพื้นที่ จึงถูกตีแตกพ่าย ตัวของอิมากาว่า โยชิโมโตะเองถูกสังหารในค่ายของตน ทหารอิมากาว่าเสียขวัญและแตกพ่ายยับเยินกลับไป ส่งผลให้ชื่อเสียงของโนบุนากะโด่งดังทั่วแผ่นดิน
โนบุนากะเป็นนักการทหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกองทหารราบอะชิการุซึ่งเป็นทหารที่เกณฑ์มาจากชาวบ้านธรรมดา และใช้กองทัพขนาดใหญ่ในการทำสงครามผิดกับไดเมียวอื่นๆ ที่นิยมสะสมซามูไรไว้ในกองทัพ ทั้งนี้ซามูไร มีข้อเสียที่หาได้ยาก ใช้เวลาฝึกนานและค่าจ้างแพง แม้ว่าพวกอะชิการุจะเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา แต่โนบุนากะก็พิสูจน์ให้เห็นว่า กองทหารอะชิการุจำนวนมากก็สามารถเอาชนะซามูไรได้ ถ้าหากมีแม่ทัพที่ดี นับเป็นการเปิดปฐมบทของการทำสงครามด้วยกองทหารขนาดใหญ่ แต่ทหารชาวนาเหล่านี้มีข้อเสียในด้านขวัญกำลังใจและมักหนีทัพเสมอเพราะกลัวตาย ผิดกับซามูไรที่ยินดีสู้เพื่อตายอย่างมีเกียรติ
นอกจากนี้ โนบุนากะยังให้การต้อนรับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนาเป็นอย่างดี โดยโนบุนากะมีความสนใจในสองสิ่งที่พวกนั้นนำมา นั่นคือ ปืนคาบศิลา และศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะปืนนั้น โนบุนากะถึงกับยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เพื่อให้กองทัพของตนเต็มไปด้วยออาวุธปืนที่สั่งตรงมาจากโปรตุเกส ต่อมาในปี ค.ศ. 1544 โนบุนากะก็ให้ช่างชาวญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตอาวุธปืนขึ้น ทำให้กองทัพของโนบุนากะมีปืนใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ในการโจมตีปราสาท มุรากิ โนบุนากะมีพลปืนถึง 1,200 นาย ในเวลาต่อมาไดเมียวทั้งหลายต่างก็หันมาใช้อาวุธปืนกัน เนื่องจากฝึกใช้ได้ง่ายกว่าดาบหรือธนู แม้แต่ชาวนาก็สามารถฝึกใช้ปืนได้ในเวลาไม่นาน
นอกจากนี้ โนบุนากะยังให้การต้อนรับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนาเป็นอย่างดี โดยโนบุนากะมีความสนใจในสองสิ่งที่พวกนั้นนำมา นั่นคือ ปืนคาบศิลา และศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะปืนนั้น โนบุนากะถึงกับยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เพื่อให้กองทัพของตนเต็มไปด้วยออาวุธปืนที่สั่งตรงมาจากโปรตุเกส ต่อมาในปี ค.ศ. 1544 โนบุนากะก็ให้ช่างชาวญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตอาวุธปืนขึ้น ทำให้กองทัพของโนบุนากะมีปืนใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ในการโจมตีปราสาท มุรากิ โนบุนากะมีพลปืนถึง 1,200 นาย ในเวลาต่อมาไดเมียวทั้งหลายต่างก็หันมาใช้อาวุธปืนกัน เนื่องจากฝึกใช้ได้ง่ายกว่าดาบหรือธนู แม้แต่ชาวนาก็สามารถฝึกใช้ปืนได้ในเวลาไม่นาน
แม้ว่าจะกำจัดโชกุนได้แล้วโนบุนากะมีศัตรูมากมายที่ยังต่อต้านเขาอยู่ ศัตรูสำคัญพวกหนึ่งคือพวกพระนักรบ หรือ อิคโค อิกกิ ซึ่งในช่วงสงครามกลางเมือง พระนักรบเหล่านี้มีอำนาจมาก พวกนี้เป็นนักบวชในพุทธศาสนาที่ชำนาญการใช้อาวุธเหมือนซามูไร พระนักรบเหล่านี้ต่อต้านอำนาจของโนบุนากะเนื่องจากเห็นว่าโนบุนากะนับถือศาสนาคริสต์ โนบุนากะได้ทำสงครามเพื่อกวาดล้างพระนักรบหลายครั้ง การรบครั้งสำคัญ เช่น การทำลายสำนักสงฆ์บนเขาฮิเออันเป็นพุทธสถานเก่าแก่อายุนับพันปี ถูกมองว่าเป็นแหล่งซ่องสุม กำลังที่สำคัญของพวกอิคโค อิคกิ ที่นี่มีป้อมปราการวัดพุทธที่เข้มแข็งพร้อมทั้งพระนักรบนับหมื่นคน โนบุนากะใช้ทหาร 30,000 นาย ล้อมภูเขาและบุกขึ้นไปจนถึงวัดซากาโมโตะ อันเป็นศูนย์ของพระนักรบ โนบุนากะออกคำสั่งให้ทหารฆ่าทุกคนที่อยู่บนเขาไม่จะเป็น ผู้ชาย ผู้หญิง หรือแม้แต่ทารกก็ตาม รวมทั้งเผาอาคารทุกหลัง ในเวลาไม่นาน ภูเขาฮิเอ ก็ไม่มีอะไรเหลือ นอกจากนี้โนบุนากะยังโจมตีพุทธสถานอื่นๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อกบฏต่อเขา จนทำให้อำนาจของพวกพระที่เคยมีอิทธิพลอยู่สูงหมดสิ้นไป โนบุนากะได้ให้การสนับสนุนการเผยแผ่ศาสนาของพวกบาทหลวงโปรตุเกสเป็นอย่างดี เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินและอาวุธปืนที่พวกนี้นำมาให้
แม้ว่าโนบุนากะจะทำสงครามอย่างโหดเ:X้ยมแต่เขาก็ให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจของประเทศ เช่น ในการโจมตีเมืองซาไกซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญ โนบุนากะไม่ได้ทำลายเมืองนี้ แต่กลับให้ความช่วยเหลือบรรดาพ่อค้ารายใหญ่ของเมือง ในการก่อตั้งสมาคมพ่อค้า นอกจากนี้ยังมีการให้สิทธิพิเศษ ด้านภาษีอากรและรวบรวมระบบชั่ง ตวง วัด ให้ได้มาตรฐานทั้งประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่เลวร้ายอย่างที่น่าจะเป็น นอกเหนือจากการเป็นนักรบ โนบุนากะไม่เคยละเลยเรื่องศิลปะ โดยหลังจากได้อำนาจแล้ว โนบุนากะ ได้สร้างปราสาทอาซึชิ ที่ริมทะเลสาปบิวะ ซึ่งเป็นปราสาทที่สวยงามและมีกำแพงหินที่แข็งแรงทนทานต่อปืนใหญ่ นอกจากนี้ยังสร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่เกียวโตด้วย อย่างไรก็ดี ยุคสมัยของโนบุนากะไม่ยาวนานนัก จุดจบของเขามาถึงอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน โดยมีสาเหตุมาจากในงานเลี้ยงคืนหนึ่ง ด้วยอารมณ์สนุกสนาน โนบุนากะได้ล็อกศรีษะของอะเดจิ มัตสึฮิเดะนายทหารคนสนิทไว้ในวงแขนและใช้ด้ามพัดตีศรีษะ มัตสึฮิเดะอับอายและเคียดแค้นมาก และรอโอกาสล้างแค้น
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1582 โนบุนากะส่งกองทัพส่วนใหญ่ไปทำสงครามที่คิวชู ทำให้กำลังในเกียวโตมีเพียงเล็กน้อย มัตสึฮิเดะเองก็เป็นนายพลคนหนึ่งที่ต้องคุมทัพไปด้วย ได้ยกทัพย้อนกลับมาโดยกะว่านายพลคนอื่นๆ ไปกันหมดแล้ว จากนั้นจึงเข้าล้อมวัดฮอนโนจิที่ โนบุนากะ พักอยู่ และเข้าโจมตี โนบุนากะถูกธนูยิงบาดเจ็บสาหัส และถอยเข้าไปในห้องจากนั้นได้จุดไฟเผาวัดและกระทำพิธีเซปปุกุหรือคว้านท้องฆ่าตัวตาย โนบุนากะได้เสียชีวิตลงทั้งๆ ที่ภารกิจรวมประทศยังไม่เสร็จสิ้น หลังจากนั้น มัตสึฮิเดะได้ยกกำลังไปที่ปราสาทนิโจ และสังหาร โอดะ โนบุทาดะ บุตรชายของโนบุนากะเสีย แต่มัตสึฮิเดะก็อยูได้อีกไม่นาน กล่าวคือ ฮิเดโยชิ นายพลของโนบุนากะ ได้นำทัพกลับมาล้างแค้นให้เจ้านาย และสังหารมัตสึฮิเดะได้ในสงครามที่ยามาซากิ จากนั้นก็รวบรวมแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ
โนบุนากะ เกิดในปี ค.ศ. 1534 เป็นบุตรของ โอดะ โนบุฮิเดะ เจ้าเมืองโอวาริ ซึ่งเป็นเพียงแคว้นเล็ก ๆ ต่อมาเมื่อบิดาสิ้นชีวิตลงอย่างกะทันหันในปี ค.ศ. 1549 โนบุนากะซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 15 ปี ได้ฉายแววความสามารถโดยการกำราบบรรดาญาติของตน ด้วยกำลังทหาร และขึ้นเป็นผู้นำตระ:Xลโอดะ ในปี ค.ศ. 1559 แม้จะได้เป็นเจ้าครองแคว้น แต่โอวาริก็เป็นเพียงแคว้นเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญอะไร จนกระทั่งเมื่อ อิมากาว่า โยชิโมโตะ ไดเมียวแห่ง มิคาว่าซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ นำกองทัพจำนวน 25,000 นาย เข้าโจมตีโอวาริเพื่อเปิดทางสู่การบุกเกียวโต โนบุนากะ ไม่ยอมจำนนต่อกองทัพข้าศึกและตั้งมั่นในปราสาท ทหารของอิมากาว่า ตั้งค่ายกระจายล้อมปราสาทไว้และเตรียมการเข้าตี
ทว่าในคืนหนึ่งเกิดพายุฝน ทัพของอิมากาว่าหลบพักอยู่ในค่าย โนบุนากะคุมทหารม้า 500 นาย บุกเข้าโจมตี ค่ายหลวงของอิมากาว่า เนื่องจาฝ่ายข้าศึกไม่คิดว่าจะถูกโจมตีจึงประมาทไม่ทันระวังตัว ประกอบกับขาดความชำนาญพื้นที่ จึงถูกตีแตกพ่าย ตัวของอิมากาว่า โยชิโมโตะเองถูกสังหารในค่ายของตน ทหารอิมากาว่าเสียขวัญและแตกพ่ายยับเยินกลับไป ส่งผลให้ชื่อเสียงของโนบุนากะโด่งดังทั่วแผ่นดิน
โนบุนากะเป็นนักการทหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกองทหารราบอะชิการุซึ่งเป็นทหารที่เกณฑ์มาจากชาวบ้านธรรมดา และใช้กองทัพขนาดใหญ่ในการทำสงครามผิดกับไดเมียวอื่นๆ ที่นิยมสะสมซามูไรไว้ในกองทัพ ทั้งนี้ซามูไร มีข้อเสียที่หาได้ยาก ใช้เวลาฝึกนานและค่าจ้างแพง แม้ว่าพวกอะชิการุจะเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา แต่โนบุนากะก็พิสูจน์ให้เห็นว่า กองทหารอะชิการุจำนวนมากก็สามารถเอาชนะซามูไรได้ ถ้าหากมีแม่ทัพที่ดี นับเป็นการเปิดปฐมบทของการทำสงครามด้วยกองทหารขนาดใหญ่ แต่ทหารชาวนาเหล่านี้มีข้อเสียในด้านขวัญกำลังใจและมักหนีทัพเสมอเพราะกลัวตาย ผิดกับซามูไรที่ยินดีสู้เพื่อตายอย่างมีเกียรติ
นอกจากนี้ โนบุนากะยังให้การต้อนรับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนาเป็นอย่างดี โดยโนบุนากะมีความสนใจในสองสิ่งที่พวกนั้นนำมา นั่นคือ ปืนคาบศิลา และศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะปืนนั้น โนบุนากะถึงกับยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เพื่อให้กองทัพของตนเต็มไปด้วยออาวุธปืนที่สั่งตรงมาจากโปรตุเกส ต่อมาในปี ค.ศ. 1544 โนบุนากะก็ให้ช่างชาวญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตอาวุธปืนขึ้น ทำให้กองทัพของโนบุนากะมีปืนใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ในการโจมตีปราสาท มุรากิ โนบุนากะมีพลปืนถึง 1,200 นาย ในเวลาต่อมาไดเมียวทั้งหลายต่างก็หันมาใช้อาวุธปืนกัน เนื่องจากฝึกใช้ได้ง่ายกว่าดาบหรือธนู แม้แต่ชาวนาก็สามารถฝึกใช้ปืนได้ในเวลาไม่นาน
นอกจากนี้ โนบุนากะยังให้การต้อนรับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนาเป็นอย่างดี โดยโนบุนากะมีความสนใจในสองสิ่งที่พวกนั้นนำมา นั่นคือ ปืนคาบศิลา และศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะปืนนั้น โนบุนากะถึงกับยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เพื่อให้กองทัพของตนเต็มไปด้วยออาวุธปืนที่สั่งตรงมาจากโปรตุเกส ต่อมาในปี ค.ศ. 1544 โนบุนากะก็ให้ช่างชาวญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตอาวุธปืนขึ้น ทำให้กองทัพของโนบุนากะมีปืนใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ในการโจมตีปราสาท มุรากิ โนบุนากะมีพลปืนถึง 1,200 นาย ในเวลาต่อมาไดเมียวทั้งหลายต่างก็หันมาใช้อาวุธปืนกัน เนื่องจากฝึกใช้ได้ง่ายกว่าดาบหรือธนู แม้แต่ชาวนาก็สามารถฝึกใช้ปืนได้ในเวลาไม่นาน
แม้ว่าจะกำจัดโชกุนได้แล้วโนบุนากะมีศัตรูมากมายที่ยังต่อต้านเขาอยู่ ศัตรูสำคัญพวกหนึ่งคือพวกพระนักรบ หรือ อิคโค อิกกิ ซึ่งในช่วงสงครามกลางเมือง พระนักรบเหล่านี้มีอำนาจมาก พวกนี้เป็นนักบวชในพุทธศาสนาที่ชำนาญการใช้อาวุธเหมือนซามูไร พระนักรบเหล่านี้ต่อต้านอำนาจของโนบุนากะเนื่องจากเห็นว่าโนบุนากะนับถือศาสนาคริสต์ โนบุนากะได้ทำสงครามเพื่อกวาดล้างพระนักรบหลายครั้ง การรบครั้งสำคัญ เช่น การทำลายสำนักสงฆ์บนเขาฮิเออันเป็นพุทธสถานเก่าแก่อายุนับพันปี ถูกมองว่าเป็นแหล่งซ่องสุม กำลังที่สำคัญของพวกอิคโค อิคกิ ที่นี่มีป้อมปราการวัดพุทธที่เข้มแข็งพร้อมทั้งพระนักรบนับหมื่นคน โนบุนากะใช้ทหาร 30,000 นาย ล้อมภูเขาและบุกขึ้นไปจนถึงวัดซากาโมโตะ อันเป็นศูนย์ของพระนักรบ โนบุนากะออกคำสั่งให้ทหารฆ่าทุกคนที่อยู่บนเขาไม่จะเป็น ผู้ชาย ผู้หญิง หรือแม้แต่ทารกก็ตาม รวมทั้งเผาอาคารทุกหลัง ในเวลาไม่นาน ภูเขาฮิเอ ก็ไม่มีอะไรเหลือ นอกจากนี้โนบุนากะยังโจมตีพุทธสถานอื่นๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อกบฏต่อเขา จนทำให้อำนาจของพวกพระที่เคยมีอิทธิพลอยู่สูงหมดสิ้นไป โนบุนากะได้ให้การสนับสนุนการเผยแผ่ศาสนาของพวกบาทหลวงโปรตุเกสเป็นอย่างดี เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินและอาวุธปืนที่พวกนี้นำมาให้
แม้ว่าโนบุนากะจะทำสงครามอย่างโหดเ:X้ยมแต่เขาก็ให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจของประเทศ เช่น ในการโจมตีเมืองซาไกซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญ โนบุนากะไม่ได้ทำลายเมืองนี้ แต่กลับให้ความช่วยเหลือบรรดาพ่อค้ารายใหญ่ของเมือง ในการก่อตั้งสมาคมพ่อค้า นอกจากนี้ยังมีการให้สิทธิพิเศษ ด้านภาษีอากรและรวบรวมระบบชั่ง ตวง วัด ให้ได้มาตรฐานทั้งประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่เลวร้ายอย่างที่น่าจะเป็น นอกเหนือจากการเป็นนักรบ โนบุนากะไม่เคยละเลยเรื่องศิลปะ โดยหลังจากได้อำนาจแล้ว โนบุนากะ ได้สร้างปราสาทอาซึชิ ที่ริมทะเลสาปบิวะ ซึ่งเป็นปราสาทที่สวยงามและมีกำแพงหินที่แข็งแรงทนทานต่อปืนใหญ่ นอกจากนี้ยังสร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่เกียวโตด้วย อย่างไรก็ดี ยุคสมัยของโนบุนากะไม่ยาวนานนัก จุดจบของเขามาถึงอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน โดยมีสาเหตุมาจากในงานเลี้ยงคืนหนึ่ง ด้วยอารมณ์สนุกสนาน โนบุนากะได้ล็อกศรีษะของอะเดจิ มัตสึฮิเดะนายทหารคนสนิทไว้ในวงแขนและใช้ด้ามพัดตีศรีษะ มัตสึฮิเดะอับอายและเคียดแค้นมาก และรอโอกาสล้างแค้น
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1582 โนบุนากะส่งกองทัพส่วนใหญ่ไปทำสงครามที่คิวชู ทำให้กำลังในเกียวโตมีเพียงเล็กน้อย มัตสึฮิเดะเองก็เป็นนายพลคนหนึ่งที่ต้องคุมทัพไปด้วย ได้ยกทัพย้อนกลับมาโดยกะว่านายพลคนอื่นๆ ไปกันหมดแล้ว จากนั้นจึงเข้าล้อมวัดฮอนโนจิที่ โนบุนากะ พักอยู่ และเข้าโจมตี โนบุนากะถูกธนูยิงบาดเจ็บสาหัส และถอยเข้าไปในห้องจากนั้นได้จุดไฟเผาวัดและกระทำพิธีเซปปุกุหรือคว้านท้องฆ่าตัวตาย โนบุนากะได้เสียชีวิตลงทั้งๆ ที่ภารกิจรวมประทศยังไม่เสร็จสิ้น หลังจากนั้น มัตสึฮิเดะได้ยกกำลังไปที่ปราสาทนิโจ และสังหาร โอดะ โนบุทาดะ บุตรชายของโนบุนากะเสีย แต่มัตสึฮิเดะก็อยูได้อีกไม่นาน กล่าวคือ ฮิเดโยชิ นายพลของโนบุนากะ ได้นำทัพกลับมาล้างแค้นให้เจ้านาย และสังหารมัตสึฮิเดะได้ในสงครามที่ยามาซากิ จากนั้นก็รวบรวมแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ
โอดะ โนบุนากะ ขุนพลสยบปฐพี
[IMG]