แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Nook747 เมื่อ 2014-5-14 18:05
ก่อนที่ผมจะเขียน Greater Mongol Empire Series ต่อ กระทู้นี้ ผมจะพาไปดูต้นกำเนิดของอัษรไทยแบบลึกๆ กันนะครับ
แทบทุกๆท่านคงจะเคยได้ยินทฤษฎีอันพิลึกพิลั่นที่กล่าวว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตกันแล้วใช่มั้ยครับ? แต่คราวนี้ผมจะมาเล่าถึงต้นกำเนิดอักษรไทยที่ฟังดูพิลึกไม่แพ้กัน แต่เป็นเรื่องจริงนะครับ!
ต้นกำเนิดอักษรไทยสามารถย้อนไปได้ถึงอักษรเฮียโรกลิฟฟิค(Egyptian hieroglyphs)จากดินแดนอียิปต์โบราณและ
อักษรฟินิเชียน(Phoenician alphabet)เลยทีเดียว!
เริ่มต้นก็คือชาวอียิปต์ประดิษฐ์อักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิคขึ้นมา จากนั้นชาวฟินิเชียนจากเลบานอนซึ่งได้ติดต่อกับชาวอิยิปต์ก็รับอักษรภาพมาดัดแปลงให้ใช้ง่ายขึ้นแล้วส่งต่ออักษรฟินิเชียน(Phoenician alphabet)ให้พ่อค้าชาวเมโสโปเตเมียไปพัฒนาต่อจนกลายเป็นอักษรอราเมอิค(Aramaic alphabet)ขึ้นมาแทนที่อักษรรูปลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์มที่ใช้กันมาแต่โบราณ
และเมื่อพ่อค้าจากอินเดียเข้าไปติดต่อกับชาวเมโสโปเตเมียก็ได้รับเอาอักษรอราเมอิคเข้ามาดัดแปลงจนปลายเป็นอักษรพราห์มี(Brahmi script)และอักษรพราห์มีก็ได้แพร่หลายไปยังอินเดียตอนใต้ในช่วงราชวงศ์ปัลลวะ และถูกพัฒนาต่อจนกลายไปเป็นอักษรปัลลวะ(Pallava alphabet)หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า"อักษรทมิฬ"
ต่อมาเมื่อผู้คนจากอินเดียใต้เข้ามาติดต่อค้าขายและ ตั้งถิ่นฐานในเอเชียอาคเนย์ ชนกลุ่มนี้ก็นำเอาอักษรปัลลวะเข้ามาเผยแพร่ให้ชนพื้นเมืองในแถบนี้ได้รู้จัก และถูกพัฒนาต่อจนกลายไปเป็นอักษรเขมร และกลายมาเป็นอักษรไทย-ลาวแบบที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง
จะว่าไปแล้วก็ไม่แปลกหรอกครับ เพราะว่าตัวอักษรในยูเรเซีย(ทวีปยุโรปกับเอเชีย)แทบจะทั้งหมด ล้วนแต่มีรากมาจากอักษรฟินิเชียนหรือเฮียโรกลิฟฟิคกันทั้งนั้น ตั้งแต่อักษรละติน กรีก ซีรีลลิค ฮีบรู อาหรับ ปัลลวี ซอกเดียน ไทย ลาว เขมร พม่า มอญ อักษรมาลายูฯลฯ
Credit:Penedge
ต้นกำเนิดของอักษรไทย