คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรกยังไม่มีชิปประมวลผลหรือระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน
โดยถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 400 กว่าปีที่แล้วส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์เหล่านี้มัก
ใช้ในการคำนวณมากกว่า
ลูกคิดของชาวจีนอุปกรณ์ชนิดแรกของโลก
ที่เป็นเครื่องมือในการคำนวณก็คือลูกคิดนั่นเอง
ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่
เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้สร้างอุปกรณ์ใช้
ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier’s Bones มีรูปร่างคล้ายสูตรคูณในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal คิดว่าน่าจะมีวิธีที่จะคำนวณ
ตัวเลขได้ง่ายกว่า
เขาได้ออกแบบ เครื่องมือช่วยในการคำนวณ
โดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุน
ครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้าย
จะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือ
ของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน
เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
เนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อย
ถูกต้องตรงความเป็นจริง เครื่องคำนวณของปาสคาลในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักรใดที่สามารถ
ทำตามคำสั่งหรือทำงานเองโดยอัตโนมัติได้
แต่ใน พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายาม
พัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการใส่คำสั่งให้ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้
และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard
สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามคำสั่งเป็นเครื่องแรก และตั้งแต่
Jacquard ได้ประดิษฐ์สิ่งนี้ขึ้นมาทำให้มีเครื่องกลเกิดขึ้นมาหลายอย่าง และได้มีเครื่องมือชนิดหนึ่ง
ที่ได้เปลี่ยนวงการของเครื่องคอมพิวเตอร์และการคำนวณ
โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้มีชื่อว่าเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) โดยเจ้าเครื่องนี้มีความคล้ายกับ
เครื่องคิดเลขในปัจจุบันนั่นเอง โดย Chales Babbage เป็นผู้สร้างเครื่องนี้ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2373
เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ
แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น
ได้พัฒนาความคิดไปถึงเครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คือเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์
(Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่
คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา
โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
1.ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
2.ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
3.ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
4.ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ
และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ
เครื่องหาผลต่างเป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียง
กับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมาก แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ
Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วน
ประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูง
ขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการ
วิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage
ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์ และหลังจากนั้นอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ก็เริ่มพัฒนาขึ้น
แต่มีอย่างหนึ่งที่ยังไม่มีในยุคนั้น สิ่งนั้นก็คือโปรแกรมนั้นเอง เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีใครคิดที่จะทำ
คอมพิวเตอร์สำหรับทำงานขึ้นมา
แต่ใน พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราว
เกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada
เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้
เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
(มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่าแก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้
Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรูที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือ
หลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น
ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูก
พัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์
ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต
ตอนนี้คอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนามาเรื่อยๆ จวบจนถึงยุคคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ โดยบริษัทที่ได้ทำคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) นั่นเอง
พ.ศ. 2480 ศาสตราจารย์ Howard Aiken แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้พัฒนาเครื่อง
คำนวณ ตาม แนวคิด ของ Babbage ร่วมกับวิศวกรของบริษัท IBM สร้างเครื่องคำนวณตามความคิดของ
Babbage ได้ สำเร็จ โดยเครื่องดังกล่าวทำงานแบบเครื่องจักรกลปนไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อในการ
นำเข้าข้อมูลสู่เครื่องเพื่อทำการประมวลผล การพัฒนาดังกล่าวมาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2487 โดยเครื่องมือนี้
มีชื่อว่า MARK 1 และเนื่องจากเครื่องนี้สำเร็จได้จากการสนับสนุนด้านการเงินและบุคลากรจากบริษัท IBM
ดังนั้นจึงมีอีกชื่อ หนึ่งว่า IBM Automatic Sequence Controlled Calculator และนับเป็นเครื่องคำนวณ
แบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก และในเมื่อมีเครื่องคำนวณที่สามารถคำนวณแบบอัตโนมัติได้
ทำให้มีคนคิดที่นำไปใช้ในสงคราม ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณที่มี อยู่ในสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมง
ในการคำนวณ การยิงจรวด 1 ครั้ง ดังนั้นกองทัพจึงให้กองทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ
Persper Eckert จาก, มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการสร้างคอมพิวเตอร์ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา
โดยนำหลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง ซึ่งมีข้อดีคือ
ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น และความคิดต่อมาในการพัฒนา
เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นก็คือ การค้นหาวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่องได้ เพื่อลดความยุ่งยาก
ของขั้นตอนการป้อนคำสั่งเข้าเครื่องครั้งต่อครั้ง มีนักคณิตศาสตร์เชื้อสายฮังกาเรียนชื่อ
Dr.John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นเดียวกับการ
เก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้า สำหรับการคำนวณ และการปฏิบัติการพื้นฐาน ไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง
แล้วเรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัสตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดนี้
ได้แก่ EVAC (Electronic Ddiscreate Variable Automatic Computer) ซึ่งสร้างเสร็จใน
พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริง ในปี พ.ศ. 2494 และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EVAC และให้ชื่อว่า EDSAC
(Electronic Delay Strorage Automatic Caculator)
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501)
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2501 เป็น
ยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ
(Vacuum tube) ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูงมาก
ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดี แต่จะมี
ปัญหาในเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่
ยุ่งยากและซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของ
ยุคนี้มีขนาดใหญ่ เช่น มาร์ค วัน (MARK I),
อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2507)คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
- เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็น
หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก
ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าและมีความแม่นยำ
มากกว่า มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปแบบ
ของสื่อแม่เหล็ก สามารถเขียนโปรแกรมระดับสูงได้
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513)ในภาพคือไอซี Intel 8008
- คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ วงจรไอซี
(Integrated Circuit) เป็นสารกึ่งตัวนำ
ที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon)
เรียกว่า “ชิป”
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ วงจร LSI (Large Scale Integration) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมาก
ลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้
เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการ
ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU
ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์”
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน)
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ วงจร VLSI
(Very-large-scale integration) เป็นการพัฒนา
ไมโครโพรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ก่อกำเนิด ไมโครโพรเซสเซอร์
ถึงแม้จะมีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ก็ตามแต่คอมพิวเตอร์ก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่และไม่สามารถเก็บข้อมูล
ได้มาก ทำให้ต้องพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์เพื่อการประมวลผมในคอมพิวเตอร์ให้แม่นยำขึ้น
โดยบริษัทที่พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์จนเป็นเหมือนปัจจุบันคือบริษัท อินเทล (Intel) นั่นเองเมื่อก่อนนั้น Intel (R) เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้
เมื่อปี ค.ศ. 1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ (Memory) ขนาด 1 Kbyte (ถือว่าเยอะมากในสมัยนั้น) มาเป็นรายแรกในปี ค.ศ. 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel (R) 4004
ในราคา 200 เหรียญสหรัฐฯ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโพรเซสเซอร์ (Micro Processor)
ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU
(Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง
ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น
ไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel (R) ได้ออก
ไมโครโพรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้
16 Kbyte ซึ่งทาง Intel (R) หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้น
ตลาดทาง รูป CPU4004ด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง เมื่อปี 1973 ทาง Intel (R) ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์
8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte
รูป CPU8088
- คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็ม
- ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทาง
ไอบีเอ็มได้เรียก เครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัล
แบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable
Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100
มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปล
ภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์
(Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเท่าที่ควร
เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ
ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์
(Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า
ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่าง
รวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ เริ่มจับตามอง
- กำเนิด แอปเปิ้ล
ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak
และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท
แอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer)
และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย
โดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญฯ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I
ออกมาไม่มากนักรูป Apple I - ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการ
ไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่แอปเปิ้ลจะขายระบบปฏิบัติการมากว่าขายเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเครื่องของ Intel และ IBM จะทำงานได้ดีกว่า
รูป Apple II
- กำเนิด ไมโครซอฟท์
เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์
รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ
จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่อง
แอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน
โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของ
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
รูปเครื่องแอทแอร์8800
- 1975–1985: สถาปนา
หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์)
ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบ หลังจาก
การสาธิตครั้งดังกล่าว, MITSก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก. ในขณะที่
บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวแม็กซิโก , และได้สถาปนาไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ
บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม
ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าเป็น
ผู้บริหารของไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และหลังจากนั้น เขาก็ได้รับรอง
บิลล์ เกตส์ เป็นซีอีโอ
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของไอบีเอ็ม-พีซี -IBM-PC มาจากแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของแอปเปิลซอฟท์ เบสิก
โดยมีส่วนประกอบของตัวแปลภาษาเบสิกที่อยู่ในเครื่องแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ซอฟท์การ์ด , ซีพียู Z80
สำหรับเครื่องแอปเปิล และ ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์เมื่อใช้เครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ CP/M
ในแอปเปิลซอฟท์ และ แอปแปิลดอส
- ไมโครซอฟท์สำนักงานใหญ่ ณ เมืองอัลบูเคอร์คี มลรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลา
สำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามา
เจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์
ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน
ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนาม
ในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับ
ไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS
(Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์
โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ
และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา
“ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ” ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS
ก็ได้แจ้งเกิดในวงการต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิ
การเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่า
จะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS
เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ
ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS
ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุดข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก
(ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์
มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทาง
การตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงาน
ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรม
ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตามหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983
และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้
รูปตัวอย่างคำสั่งในระบบปฎิบัติการ CP/M
รูป ตัวอย่างคำสั่งระบบปฎิบัติการ DOS , MS-DOS หรือ PC-DOS
- ปี 1985–1995: ไอพีโอ, โอเอสทู และวินโดวส์
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส
13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[19][5][6]ในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู
ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs.
หน้าจอระบบปฎิบัติการ OS/2
และพัฒนา Windows ควบคู่ไปด้วย
หน้าจอระบบปฎิบัติการ Windows1.0 ปี 1985 (2528)
หน้าจอระบบปฎิบัติการ Windows 2.0 1987 (2530)
ต่อมาไมโครซอฟท์ แยกตัวจาก OS/2 หันมาพัฒนา Windows อย่างเดียว
และ OS/2 หยุดพัฒนาในปี 2006 (2549)
หน้าจอระบบปฏิบัติการ Windows 3.0 – 3.11 ปี 1990 -1992 (2533-2535)
หน้าจอระบบปฎิบัติการ Windows95 ปี 1995 (2538)
หน้าจอระบบปฎิบัติการ Windows98 ปี 1998 (2541)
หน้าจอระบบปฎิบัติการ Windows Me ปี 2000 (2543) ออกคู่กับ Windows NT
หน้าจอ ระบบปฎิบัติการ WindowsXp ปี 2001 (2544)
หน้าจอระบบปฏิบัติการ WindowsVista ปี 2007 (2550)
หน้าจอระบบปฎิบัติการ Windows7 ปี 2009 (2552)
เครดิต : https://25feb.wordpress.com