
ในญี่ปุ่นมีระบบการสอน
และฝึกผู้ที่มีความสามารถและมีการสนับสนุนที่ดี
ผิดกับในบ้านเรา ที่ยังขาด
คุณลิเลียน ไดแอซ บรรณาธิการอาวุโสของโตเกียวป็อบ
ผู้พิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นรายใหญ่ในหลายๆประเทศ
กล่าวว่า
"ในญี่ปุ่นนั้น อุตสาหกรรมการ์ตูนมีมากว่า 50 ปีแล้ว มีการพัฒนาระบบการฝึก
คือให้โอกาสนักวาดการ์ตูนมือใหม่ไปเป็นผู้ช่วยนักวาดการ์ตูนที่ดังแล้ว และมีประสบการณ์สูง
แม้นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นบางคน ไม่ประสบความสำเร็จในซีรีย์ที่เขาเขียนเรื่องแรกๆ
เช่น คุณ นัทสิกิ ทาคายะ ผู้วาดเรื่อง fruit basket เคยมีรวมเล่มออกมาก่อนหน้านี้หลายเรื่อง
ก็ไม่ดัง แต่ด้วยระบบที่ดีของญี่ปุ่นทำให้รู้ว่าจะหาคนเก่งๆที่ไหน
ในอเมริกา ยากที่จะให้นักวาดการ์ตูนพัฒนาประสบการณ์จนถึงจุดที่เขาสามารถทำงานได้ดีที่สุด
และตีพิมพ์ออกมา เพราะมีเรื่องของผลการลงทุนที่ต้องมีกำไรและได้ทุนคืน การ์ตูนรวมเล่ม 10 เล่มนั้น
อาจจะต้องใช้เวลาที่ 5 ปีในการบ่มเพาะผลงาน
แต่เราก็มีนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นของเรา คือคุณฟิลลิป สมิทธิ์ คนวาด MBQ
ยอดขายไม่ได้หรูอะไรเพราะโตเกียวป็อปไม่ได้ดันมาก
ปัญหาที่ 2
นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในแม็กกาซีนการ์ตูนรายเดือน
ปั่นงานเฉลี่ยได้จำนวนมากกว่าในบ้านเรา
(ด้วยค่าต้นฉบับที่ได้รับ) นักเขียนบางคนสามารถมีผู้ช่วยจำนวนมาก
เพื่อช่วยทำงานให้เสร็จทันในเวลาที่กระชั้นชิด
หลุยส์ เรเยส
"ผมชอบทำงานในวงการการ์ตูน เลยทำงานที่บริษัทแรดิคอล(เน้นคอมิคอเมริกัน)
เราเขียนตารางงานออกมาโดยให้นักวาดวาดสับดาห์ละ 3 หน้า ตอนที่ผมปรับตารางใหม่
เป็น 4 หน้า พวกเค้าก็บ่นกันขรมว่าสงสัยผมทำงานแบบญี่ปุ่นมากไปแล้ว
นักวาดในอเมริกาไม่ได้ทำงานแบบนั้น"
"ยกตัวอย่างนะ อย่างคุณฟิลลิป สมิทธิ์ วาดได้อาทิตย์ละ 7-8 หน้า
แต่นักวาดในญี่ปุ่นวาดได้ถึง 15 หน้า"
นักวาดการ์ตูน คุณ ลีอา ฟรังโก้ ได้ยินบทสนทนาดังกล่าวก็พูดขึ้นมา...
"ผมว่า...3 หน้าต่อสับดาห์ก็ไม่เลวนะ ปีนึงก็ตั้ง 150 หน้า
คือคุณอย่าเปรียบเทียบระหว่างงานแบบสตูดิโอในญี่ปุ่นกับนักวาดที่วาดคนเดียว
และยังคุมคุณภาพงานให้ดูดีอยู่ได้"
บ้านเราก็ปัญหาเหมือนกันคือ ทำงานกันคนเดียวและค่าต้นฉบับ
คนเดียวก็ไม่ไหวแล้ว ..การจะจ้างผู้ช่วยไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่การทำงานเป็นทีมแล้วทำงานเร็วขึ้น ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ
ปัญหาที่3
การพัฒนาการ์ตูนและดันให้เกิด,
ให้ขายดีนั้นเป็นไปได้ยากกว่าการซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนซักเรื่อง
คุณโรเบริ์ต แนปตัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของ Bandai กล่าวว่า
"การพัฒนาการ์ตูนซักเรื่องของเราเองนั้นใช้เงินมากกว่าซื้อลิขสิทธิ์ถึง 4 เท่า
ทางเราก็พิจารณาที่จะทำการ์ตูนเรื่องของเรา แต่ด้วยธุรกิจ เราต้องดำเนินต่อไปได้
เพราะงั้นเราจะทุ่มเททรัพยากรไปจุดที่ทำเงินก่อน การทำเองถึงเป็นเรื่องรองๆ"
"ในอุตสาหกรรมหนังสือ ของอเมริกานั้นเป็นระบบฝากขาย
พูดง่ายๆคือ ส่งหนังสือไป 10,000 เล่ม ทางร้านจะตีหนังสือคุณคืนได้เลย 9,000 เล่ม
และ 9,000 เล่มที่ไม่ทำเงินก็เท่ากับหายนะ คือรอวันเข้าเครื่องย่อยได้เลย"
คุณลิเลียน ไดแอซเสริม
"จริงๆเราก็อยากจะจ่ายให้อาร์ติสท์มากกว่านี้ แต่ด้วยโครงสร้างธุรกิจจริง มันทำยาก"
อันนี้ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับบ้านเรา..
ปัญหาที่ 4
แนวของเรื่องที่นักวาดการ์ตูนอยากจะวาด ไม่ใช่แนวที่ขายดี(ในอเมริกา)
"บางเรื่องอย่าง Dogby Walks Alone เหมือนการ์ตูนผู้ใหญ่ แต่ในอเมริกา
ไม่มีการ์ตูนผู้ใหญ่แนวแปลกๆที่ขายดี บางคนก็ชอบแนวนี้แหละ
แต่เอาจริง เล่มนี้ขายได้ร้อยกว่าเล่มเอง..."
"ในเกาหลี อุตสาหกรรมการ์ตูนไม่ใหญ่เท่าญี่ปุ่น ก็เลยมีงานแนวทดลอง แนวแปลกๆเยอะ
และก็ทำตลาดได้ดี ...ในญี่ปุ่นก็มี...แต่ก็ไม่ได้หวือหวา เทียบกับยอดขาย แต่ในเกาหลี
การ์ตูนประเภทเดียวกันนี้กลับเป็นหนังสือขายดี"
คิดว่าบ้านเราเหมือนเกาหลีตรงที่ถ้าเป็นแนวเด่นๆ แปลกๆ
จะสามารถตีตลาดได้เหมือนกันและเป็นหนังสือขายดีได้ด้วย
อยู่ที่กลุ่มตลาด คือถ้าเป็นแนวญี่ปุ่นก็จะเป็นตลาดเด็กลงมา
และคู่แข่งก็คือการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เลยยาก ถ้าไม่แตกต่าง
ปัญหาข้อนี้ก็วาดแนวที่อยากวาดไป แล้วก็ทำให้ดี และพยายามสร้างเอกลักษณ์ตัวเอง
ปัญหาที่ 5
การ์ตูนญี่ปุ่นในท้องถิ่นยุคแรกๆมีการลอกเลียนมากเกินไป
และล้มเหลวในการถ่ายทอดเนื้อเรื่อง
ในแบบที่ทำให้การ์ตูนญีปุ่นดึงดูดใจ
โรเบริ์ต แนปตัน
"ตอนที่ อดัม วอร์เรน(นักวาดเรื่อง Empower)วาดเรื่อง dirty pair นั้น
เค้าผสมผสานกัน คือมีอิทธิพลของการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ยังมีมุมมองแบบคอมิคอเมริกันอยู่มาก
ในช่วง 5-6 ปีหลัง ก็มีอาร์ติสท์หลายๆคนพยายามที่จะวาดแนวการ์ตูนญี่ปุ่น
แต่ก็มีการลอกเลียนอยู่มาก อาร์ติสท์ก็พยายามค้นหาวิธีว่าทำยังไง

หลุยส์ เรเยส
"ในญี่ปุ่น ไม่ได้มีการแบ่งแยกว่านี่คือมังก้านะ นี่แนวญี่ปุ่นนะ
เพราะว่ามังก้าก็คือการ์ตูนประเภทนึงเหมือนกัน ผมคิดว่า สำนักพิมพ์อเมริกัน
แยกเพราะผลทางการตลาด ไม่ใช่เพราะว่ามันแตกต่างจากคอมิคอเมริกันอย่างสิ้นเชิง
ทั้งแนวภาพ การเล่าเรื่อง"
ลิเลียน ไดแอซ
"คนลอกแบบระยะต้นๆก็คือวาดตาโต ผมสีๆ แต่ในความคิดของฉัน
การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นเป็น impressionistic คือสามารถดึงผู้อ่านได้ด้วยวิธีการเล่าเรื่องหลายๆแบบ
การใช้มุมกล้องต่างกันในแต่ละช่องช่วยดึงให้ผู้อ่าน อ่านจนสุดแต่ละหน้า
นักวาดชื่อดังก็มักทำได้ดีในจุดนี้ และนั่นคือจุดที่ดึงคนเข้าไปสู่เรื่องและอินกับมัน
นักวาดการ์ตูนควรเรียนรู้จุดนี้"
ปัญหาที่ 6
มันยากที่จะหาคนวาดเก่งๆและสามารถถ่ายทอดเนื้อเรื่องได้ดีในคนๆเดียวด้วย
ลีเลียน ไดแอซ
"ฉันได้ดูพอร์ทโฟลิโอมาถึง 5 ปีอาร์ติสท์บางคนมีทักษะการออกแบบคาแร็คเตอร์และการเล่าเรื่อง
แต่ไม่มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราวที่อยู่ในหัวออกมา มันต้องรวมกันระหว่างการวาดภาพ
และความเข้าใจว่าเนื้อเรื่องดำเนินอย่างไร ซึ่งหาได้ยากในคนๆหนึ่ง"
หลุย เรเยส
"ปัญหาที่เราเจอคือนักเขียนหน้าใหม่ที่พยายามจะเขียนรูปให้ดีและเขียนเรื่องให้ดีในเวลาเดียวกัน
มันยากที่จะเป็นทั้งนักวาดและนักเขียน เราเจอนักวาดที่ดีหลายคนเขียนเรื่องแย่
เราพยายามจะช่วยแต่มันเกินหน้าที่ที่บรรณาธิการจะทำได้"
อันนี้เข้าใจว่า ทักษะการวาดรูป กับทักษะการเล่าเรื่องมันใช้คนละอย่างกัน
และส่วนใหญ่คนวาดเก่งๆที่ทำให้เรื่องลื่นไหลได้ก็จะน้อยกว่า
คือถ้าเป็นนักวาดการ์ตูนที่ดีไม่ใช่วาดเก่งอย่างเดียว แต่ต้องถ่ายทอดเป็นด้วย
ปัญหาที่ 7
มันใช้เวลาที่จะพัฒนางานภาพและการเล่าเรื่องให้ดี
แต่นักวาดการ์ตูนหลายคน ทำเป็นอาชีพโดยยังไม่พร้อมจริง
หลุย เรเยส
"ผมเห็น..เด็กๆอายุ 14 ปีใน Deviantart ที่พูดว่า -ฉันมีไอเดียการ์ตูนเรื่องเยี่ยมๆนะ-
ผมพูดกับพวกเค้าว่า รอ อีก 10 ปีนะหนู ไปเรียนรู้วิธีการเขียนก่อนจะดีกว่า...."
"ผมรู้ว่าทุกคนต้องมีการเริ่มต้นแต่มันต้องใช้เวลา ไม่มีใครอยากจ้างเด็กอายุ 18
ที่ยังไม่รู้ว่าอนาคตอยากเป็นอะไร ลองใช้ชีวิตที่นอกเหนือจากการ์ตูนดูครับ
เรียนรู้และฝึกฝนเท่าที่ทำได้ สุดท้ายจะดีเองครับ"
โรเบิร์ต แนปตัน
"วาดพินอัพได้สวยๆก็ดีครับ แต่คือคุณต้องเรียนรู้วิธีการวาด sequential art
คือ ลำดับเรื่องเป็น"
หลุย เรเยส
"ผมไม่แคร์ครับว่าคุณจะวาดนารูโตะได้ 15 ท่า...แต่ที่ผมแคร์คือคุณวาดเรื่องให้เป็นเรื่อง
อ่านรู้เรื่อง เราอยากเห็นคุณสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านจากช่องหนึ่งไปอีกช่องหนึ่ง
คุณต้องสามารถรับคำวิจารณ์ได้และเข้าใจสิ่งต่างๆในระดับวิพากษ์วิจารณ์
การพูดว่า โห งานห่วยว่ะ ....ไม่ใช่คำวิจารณ์นะครับ คนที่พยายามวิจารณ์อย่างมีความคิด
อันนี้คุณควรฟัง ในระดับวิพากษ์วิจารณ์คือคุณต้องสามารถรับฟังได้ด้วย
ไม่ใช่โต้เถียงอย่างเดียว"
โรเบิร์ต แนปตัน
"ต้องอดทนครับ ผมได้วิจารณ์พอร์ทโฟลิโอมาก็มาก สิ่งที่เจอบ่อยคือ
อาร์ติสท์มักพูดว่า -นี่ยังไม่ดีที่สุดของผมนะ-
ถ้ามันไม่ใช่ -ที่ดีที่สุด-ของคุณ
ก็อย่าเอามาให้เราดูครับ ไม่ต้องเร่ง คุณไม่ได้วิ่งแข่งกับโลก
เตรียมพร้อมให้พร้อมจริงๆไม่ใช่ว่าบ.ก.ยังไม่ทันของคุณเห็นเลยคุณก็ชิงแก้ตัวซะแล้ว"
หลุยส์ เรเยส
"ใช้อินเตอร์เนทสิครับ เพื่อนที่ดีในยุคนี้
คือตอนนี้ถ้าคุณอยากร่วมงานกับใคร ไม่จำเป็นว่าคุณต้องอยู่อำเภอตำบลเดียวกัน
คุณแค่ติดต่อกันได้ นักเขียนและนักวาดสามารถหากันได้ง่ายขึ้นครับ"
โรเบิร์ต แนปตัน
"หรือจะทำเป็นเว็บคอมิคแบบเมก้าโตเกียวก็ได้ เป็นวิธีที่ดีนะครับ ได้ฝึกสกิลไปด้วย
ได้ดึงคนอ่านไปด้วย"
ลิเลียน ไดแอซ
"จริงค่ะ...เป็นวิธีที่ดี เพราะทางเราก็เจอนักวาดจากเว็บคอมิคเหมือนกัน
แต่ปัญหาของเว็บคอมิคคือทางคนทำมักพุ่งไปที่การวาดแต่ละหน้าออกมา
มากกว่าการใส่ใจกับความลื่นไหลของเนื้อเรื่อง"
ท้ายสุดของบทความ ผู้เขียนบทความนี้ได้บอกว่า..
อ่านจบแล้วมันหมายถึง คนที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนต้องมีความพยายามมากขึ้น
เพราะว่าสำนักพิมพ์ไม่มีการเอาเงินไปทิ้งขว้าง
นักเขียนการ์ตูนต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้เป็นมืออาชีพจริงๆ
ยังมีสำนักพิมพ์หลายๆสำนักพิมพ์ในปัจจุบันเปิดกว้างและให้โอกาสกับนักเขียนใหม่ๆ
เค้ารู้ว่าสิ่งที่เค้าเขียนนั้นอาจจะทำให้หลายคนจิตตก ก็เลยฝากบทส่งท้าย
กับคำพูดของ คน 2 คนคือ...
คุณซาโตชิ นิชิมูระ (ผู้กำกับอนิเม Trigun)
"ทำที่คุณชอบครับ แล้วคุณจะภูมิใจในผลงานและมีความสุขกับมัน"
คุณยาสุฮิโระ ไนโตว(ผู้วาด Trigun)
"ในญี่ปุ่นและหลายๆที่บนโลกนี้ มีคนที่วาดการ์ตูนเรื่อง ที่ไม่ชอบวาดรูปอยู่ด้วยครับ
เพราะฉะนั้นเราต้องพัฒนาฝีมือตัวเอง ทำงานเยอะๆ ก็จะทำให้มือดีขึ้น
สิ่งที่สำคัญคือทำให้เสร็จครับ ยิ่งทำมาก ก็ยิ่งเก่งขึ้นและถ้าคุณสามารถเขียนการ์ตูนเรื่อง
ที่คนอ่านสนุกไปด้วยได้ อันนั้นคือคุณจะได้เงินครับ"
บทความนี้ยกมาจากเว็บ exteen.com






7 ปัญหาที่การ์ตูนเรื่องแนวญี่ปุ่นในท้องถิ่นไม่รุ่ง