ปัญหาที่ 1
ในญี่ปุ่นมีระบบการสอน
และฝึกผู้ที่มีความสามารถและมีการสนับสนุนที่ดี
ผิดกับในบ้านเรา ที่ยังขาด
คุณลิเลียน ไดแอซ บรรณาธิการอาวุโสของโตเกียวป็อบ
ผู้พิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นรายใหญ่ในหลายๆประเทศ
กล่าวว่า
"ในญี่ปุ่นนั้น อุตสาหกรรมการ์ตูนมีมากว่า 50 ปีแล้ว มีการพัฒนาระบบการฝึก
คือให้โอกาสนักวาดการ์ตูนมือใหม่ไปเป็นผู้ช่วยนักวาดการ์ตูนที่ดังแล้ว และมีประสบการณ์สูง
แม้นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นบางคน ไม่ประสบความสำเร็จในซีรีย์ที่เขาเขียนเรื่องแรกๆ
เช่น คุณ นัทสิกิ ทาคายะ ผู้วาดเรื่อง fruit basket เคยมีรวมเล่มออกมาก่อนหน้านี้หลายเรื่อง
ก็ไม่ดัง แต่ด้วยระบบที่ดีของญี่ปุ่นทำให้รู้ว่าจะหาคนเก่งๆที่ไหน
ในอเมริกา ยากที่จะให้นักวาดการ์ตูนพัฒนาประสบการณ์จนถึงจุดที่เขาสามารถทำงานได้ดีที่สุด
และตีพิมพ์ออกมา เพราะมีเรื่องของผลการลงทุนที่ต้องมีกำไรและได้ทุนคืน การ์ตูนรวมเล่ม 10 เล่มนั้น
อาจจะต้องใช้เวลาที่ 5 ปีในการบ่มเพาะผลงาน
แต่เราก็มีนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นของเรา คือคุณฟิลลิป สมิทธิ์ คนวาด MBQ
ยอดขายไม่ได้หรูอะไรเพราะโตเกียวป็อปไม่ได้ดันมาก
ปัญหาที่ 2
นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในแม็กกาซีนการ์ตูนรายเดือน
ปั่นงานเฉลี่ยได้จำนวนมากกว่าในบ้านเรา
(ด้วยค่าต้นฉบับที่ได้รับ) นักเขียนบางคนสามารถมีผู้ช่วยจำนวนมาก
เพื่อช่วยทำงานให้เสร็จทันในเวลาที่กระชั้นชิด
หลุยส์ เรเยส
"ผมชอบทำงานในวงการการ์ตูน เลยทำงานที่บริษัทแรดิคอล(เน้นคอมิคอเมริกัน)
เราเขียนตารางงานออกมาโดยให้นักวาดวาดสับดาห์ละ 3 หน้า ตอนที่ผมปรับตารางใหม่
เป็น 4 หน้า พวกเค้าก็บ่นกันขรมว่าสงสัยผมทำงานแบบญี่ปุ่นมากไปแล้ว
นักวาดในอเมริกาไม่ได้ทำงานแบบนั้น"
"ยกตัวอย่างนะ อย่างคุณฟิลลิป สมิทธิ์ วาดได้อาทิตย์ละ 7-8 หน้า
แต่นักวาดในญี่ปุ่นวาดได้ถึง 15 หน้า"
นักวาดการ์ตูน คุณ ลีอา ฟรังโก้ ได้ยินบทสนทนาดังกล่าวก็พูดขึ้นมา...
"ผมว่า...3 หน้าต่อสับดาห์ก็ไม่เลวนะ ปีนึงก็ตั้ง 150 หน้า
คือคุณอย่าเปรียบเทียบระหว่างงานแบบสตูดิโอในญี่ปุ่นกับนักวาดที่วาดคนเดียว
และยังคุมคุณภาพงานให้ดูดีอยู่ได้"
บ้านเราก็ปัญหาเหมือนกันคือ ทำงานกันคนเดียวและค่าต้นฉบับ
คนเดียวก็ไม่ไหวแล้ว ..การจะจ้างผู้ช่วยไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่การทำงานเป็นทีมแล้วทำงานเร็วขึ้น ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ
ปัญหาที่3
การพัฒนาการ์ตูนและดันให้เกิด,
ให้ขายดีนั้นเป็นไปได้ยากกว่าการซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนซักเรื่อง
คุณโรเบริ์ต แนปตัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของ Bandai กล่าวว่า
"การพัฒนาการ์ตูนซักเรื่องของเราเองนั้นใช้เงินมากกว่าซื้อลิขสิทธิ์ถึง 4 เท่า
ทางเราก็พิจารณาที่จะทำการ์ตูนเรื่องของเรา แต่ด้วยธุรกิจ เราต้องดำเนินต่อไปได้
เพราะงั้นเราจะทุ่มเททรัพยากรไปจุดที่ทำเงินก่อน การทำเองถึงเป็นเรื่องรองๆ"
"ในอุตสาหกรรมหนังสือ ของอเมริกานั้นเป็นระบบฝากขาย
พูดง่ายๆคือ ส่งหนังสือไป 10,000 เล่ม ทางร้านจะตีหนังสือคุณคืนได้เลย 9,000 เล่ม
และ 9,000 เล่มที่ไม่ทำเงินก็เท่ากับหายนะ คือรอวันเข้าเครื่องย่อยได้เลย"
คุณลิเลียน ไดแอซเสริม
"จริงๆเราก็อยากจะจ่ายให้อาร์ติสท์มากกว่านี้ แต่ด้วยโครงสร้างธุรกิจจริง มันทำยาก"
อันนี้ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับบ้านเรา..
ปัญหาที่ 4
แนวของเรื่องที่นักวาดการ์ตูนอยากจะวาด ไม่ใช่แนวที่ขายดี(ในอเมริกา)
"บางเรื่องอย่าง Dogby Walks Alone เหมือนการ์ตูนผู้ใหญ่ แต่ในอเมริกา
ไม่มีการ์ตูนผู้ใหญ่แนวแปลกๆที่ขายดี บางคนก็ชอบแนวนี้แหละ
แต่เอาจริง เล่มนี้ขายได้ร้อยกว่าเล่มเอง..."
"ในเกาหลี อุตสาหกรรมการ์ตูนไม่ใหญ่เท่าญี่ปุ่น ก็เลยมีงานแนวทดลอง แนวแปลกๆเยอะ
และก็ทำตลาดได้ดี ...ในญี่ปุ่นก็มี...แต่ก็ไม่ได้หวือหวา เทียบกับยอดขาย แต่ในเกาหลี
การ์ตูนประเภทเดียวกันนี้กลับเป็นหนังสือขายดี"
คิดว่าบ้านเราเหมือนเกาหลีตรงที่ถ้าเป็นแนวเด่นๆ แปลกๆ
จะสามารถตีตลาดได้เหมือนกันและเป็นหนังสือขายดีได้ด้วย
อยู่ที่กลุ่มตลาด คือถ้าเป็นแนวญี่ปุ่นก็จะเป็นตลาดเด็กลงมา
และคู่แข่งก็คือการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เลยยาก ถ้าไม่แตกต่าง
ปัญหาข้อนี้ก็วาดแนวที่อยากวาดไป แล้วก็ทำให้ดี และพยายามสร้างเอกลักษณ์ตัวเอง
ปัญหาที่ 5
การ์ตูนญี่ปุ่นในท้องถิ่นยุคแรกๆมีการลอกเลียนมากเกินไป
และล้มเหลวในการถ่ายทอดเนื้อเรื่อง
ในแบบที่ทำให้การ์ตูนญีปุ่นดึงดูดใจ
โรเบริ์ต แนปตัน
"ตอนที่ อดัม วอร์เรน(นักวาดเรื่อง Empower)วาดเรื่อง dirty pair นั้น
เค้าผสมผสานกัน คือมีอิทธิพลของการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ยังมีมุมมองแบบคอมิคอเมริกันอยู่มาก
ในช่วง 5-6 ปีหลัง ก็มีอาร์ติสท์หลายๆคนพยายามที่จะวาดแนวการ์ตูนญี่ปุ่น
แต่ก็มีการลอกเลียนอยู่มาก อาร์ติสท์ก็พยายามค้นหาวิธีว่าทำยังไง
หลุยส์ เรเยส
"ในญี่ปุ่น ไม่ได้มีการแบ่งแยกว่านี่คือมังก้านะ นี่แนวญี่ปุ่นนะ
เพราะว่ามังก้าก็คือการ์ตูนประเภทนึงเหมือนกัน ผมคิดว่า สำนักพิมพ์อเมริกัน
แยกเพราะผลทางการตลาด ไม่ใช่เพราะว่ามันแตกต่างจากคอมิคอเมริกันอย่างสิ้นเชิง
ทั้งแนวภาพ การเล่าเรื่อง"
ลิเลียน ไดแอซ
"คนลอกแบบระยะต้นๆก็คือวาดตาโต ผมสีๆ แต่ในความคิดของฉัน
การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นเป็น impressionistic คือสามารถดึงผู้อ่านได้ด้วยวิธีการเล่าเรื่องหลายๆแบบ
การใช้มุมกล้องต่างกันในแต่ละช่องช่วยดึงให้ผู้อ่าน อ่านจนสุดแต่ละหน้า
นักวาดชื่อดังก็มักทำได้ดีในจุดนี้ และนั่นคือจุดที่ดึงคนเข้าไปสู่เรื่องและอินกับมัน
นักวาดการ์ตูนควรเรียนรู้จุดนี้"
ปัญหาที่ 6
มันยากที่จะหาคนวาดเก่งๆและสามารถถ่ายทอดเนื้อเรื่องได้ดีในคนๆเดียวด้วย
ลีเลียน ไดแอซ
"ฉันได้ดูพอร์ทโฟลิโอมาถึง 5 ปีอาร์ติสท์บางคนมีทักษะการออกแบบคาแร็คเตอร์และการเล่าเรื่อง
แต่ไม่มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราวที่อยู่ในหัวออกมา มันต้องรวมกันระหว่างการวาดภาพ
และความเข้าใจว่าเนื้อเรื่องดำเนินอย่างไร ซึ่งหาได้ยากในคนๆหนึ่ง"
หลุย เรเยส
"ปัญหาที่เราเจอคือนักเขียนหน้าใหม่ที่พยายามจะเขียนรูปให้ดีและเขียนเรื่องให้ดีในเวลาเดียวกัน
มันยากที่จะเป็นทั้งนักวาดและนักเขียน เราเจอนักวาดที่ดีหลายคนเขียนเรื่องแย่
เราพยายามจะช่วยแต่มันเกินหน้าที่ที่บรรณาธิการจะทำได้"
อันนี้เข้าใจว่า ทักษะการวาดรูป กับทักษะการเล่าเรื่องมันใช้คนละอย่างกัน
และส่วนใหญ่คนวาดเก่งๆที่ทำให้เรื่องลื่นไหลได้ก็จะน้อยกว่า
คือถ้าเป็นนักวาดการ์ตูนที่ดีไม่ใช่วาดเก่งอย่างเดียว แต่ต้องถ่ายทอดเป็นด้วย
ปัญหาที่ 7
มันใช้เวลาที่จะพัฒนางานภาพและการเล่าเรื่องให้ดี
แต่นักวาดการ์ตูนหลายคน ทำเป็นอาชีพโดยยังไม่พร้อมจริง
หลุย เรเยส
"ผมเห็น..เด็กๆอายุ 14 ปีใน Deviantart ที่พูดว่า -ฉันมีไอเดียการ์ตูนเรื่องเยี่ยมๆนะ-
ผมพูดกับพวกเค้าว่า รอ อีก 10 ปีนะหนู ไปเรียนรู้วิธีการเขียนก่อนจะดีกว่า...."
"ผมรู้ว่าทุกคนต้องมีการเริ่มต้นแต่มันต้องใช้เวลา ไม่มีใครอยากจ้างเด็กอายุ 18
ที่ยังไม่รู้ว่าอนาคตอยากเป็นอะไร ลองใช้ชีวิตที่นอกเหนือจากการ์ตูนดูครับ
เรียนรู้และฝึกฝนเท่าที่ทำได้ สุดท้ายจะดีเองครับ"
โรเบิร์ต แนปตัน
"วาดพินอัพได้สวยๆก็ดีครับ แต่คือคุณต้องเรียนรู้วิธีการวาด sequential art
คือ ลำดับเรื่องเป็น"
หลุย เรเยส
"ผมไม่แคร์ครับว่าคุณจะวาดนารูโตะได้ 15 ท่า...แต่ที่ผมแคร์คือคุณวาดเรื่องให้เป็นเรื่อง
อ่านรู้เรื่อง เราอยากเห็นคุณสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านจากช่องหนึ่งไปอีกช่องหนึ่ง
คุณต้องสามารถรับคำวิจารณ์ได้และเข้าใจสิ่งต่างๆในระดับวิพากษ์วิจารณ์
การพูดว่า โห งานห่วยว่ะ ....ไม่ใช่คำวิจารณ์นะครับ คนที่พยายามวิจารณ์อย่างมีความคิด
อันนี้คุณควรฟัง ในระดับวิพากษ์วิจารณ์คือคุณต้องสามารถรับฟังได้ด้วย
ไม่ใช่โต้เถียงอย่างเดียว"
โรเบิร์ต แนปตัน
"ต้องอดทนครับ ผมได้วิจารณ์พอร์ทโฟลิโอมาก็มาก สิ่งที่เจอบ่อยคือ
อาร์ติสท์มักพูดว่า -นี่ยังไม่ดีที่สุดของผมนะ-
ถ้ามันไม่ใช่ -ที่ดีที่สุด-ของคุณ
ก็อย่าเอามาให้เราดูครับ ไม่ต้องเร่ง คุณไม่ได้วิ่งแข่งกับโลก
เตรียมพร้อมให้พร้อมจริงๆไม่ใช่ว่าบ.ก.ยังไม่ทันของคุณเห็นเลยคุณก็ชิงแก้ตัวซะแล้ว"
หลุยส์ เรเยส
"ใช้อินเตอร์เนทสิครับ เพื่อนที่ดีในยุคนี้
คือตอนนี้ถ้าคุณอยากร่วมงานกับใคร ไม่จำเป็นว่าคุณต้องอยู่อำเภอตำบลเดียวกัน
คุณแค่ติดต่อกันได้ นักเขียนและนักวาดสามารถหากันได้ง่ายขึ้นครับ"
โรเบิร์ต แนปตัน
"หรือจะทำเป็นเว็บคอมิคแบบเมก้าโตเกียวก็ได้ เป็นวิธีที่ดีนะครับ ได้ฝึกสกิลไปด้วย
ได้ดึงคนอ่านไปด้วย"
ลิเลียน ไดแอซ
"จริงค่ะ...เป็นวิธีที่ดี เพราะทางเราก็เจอนักวาดจากเว็บคอมิคเหมือนกัน
แต่ปัญหาของเว็บคอมิคคือทางคนทำมักพุ่งไปที่การวาดแต่ละหน้าออกมา
มากกว่าการใส่ใจกับความลื่นไหลของเนื้อเรื่อง"
ท้ายสุดของบทความ ผู้เขียนบทความนี้ได้บอกว่า..
อ่านจบแล้วมันหมายถึง คนที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนต้องมีความพยายามมากขึ้น
เพราะว่าสำนักพิมพ์ไม่มีการเอาเงินไปทิ้งขว้าง
นักเขียนการ์ตูนต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้เป็นมืออาชีพจริงๆ
ยังมีสำนักพิมพ์หลายๆสำนักพิมพ์ในปัจจุบันเปิดกว้างและให้โอกาสกับนักเขียนใหม่ๆ
เค้ารู้ว่าสิ่งที่เค้าเขียนนั้นอาจจะทำให้หลายคนจิตตก ก็เลยฝากบทส่งท้าย
กับคำพูดของ คน 2 คนคือ...
คุณซาโตชิ นิชิมูระ (ผู้กำกับอนิเม Trigun)
"ทำที่คุณชอบครับ แล้วคุณจะภูมิใจในผลงานและมีความสุขกับมัน"
คุณยาสุฮิโระ ไนโตว(ผู้วาด Trigun)
"ในญี่ปุ่นและหลายๆที่บนโลกนี้ มีคนที่วาดการ์ตูนเรื่อง ที่ไม่ชอบวาดรูปอยู่ด้วยครับ
เพราะฉะนั้นเราต้องพัฒนาฝีมือตัวเอง ทำงานเยอะๆ ก็จะทำให้มือดีขึ้น
สิ่งที่สำคัญคือทำให้เสร็จครับ ยิ่งทำมาก ก็ยิ่งเก่งขึ้นและถ้าคุณสามารถเขียนการ์ตูนเรื่อง
ที่คนอ่านสนุกไปด้วยได้ อันนั้นคือคุณจะได้เงินครับ"
บทความนี้ยกมาจากเว็บ exteen.com
ในญี่ปุ่นมีระบบการสอน
และฝึกผู้ที่มีความสามารถและมีการสนับสนุนที่ดี
ผิดกับในบ้านเรา ที่ยังขาด
คุณลิเลียน ไดแอซ บรรณาธิการอาวุโสของโตเกียวป็อบ
ผู้พิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นรายใหญ่ในหลายๆประเทศ
กล่าวว่า
"ในญี่ปุ่นนั้น อุตสาหกรรมการ์ตูนมีมากว่า 50 ปีแล้ว มีการพัฒนาระบบการฝึก
คือให้โอกาสนักวาดการ์ตูนมือใหม่ไปเป็นผู้ช่วยนักวาดการ์ตูนที่ดังแล้ว และมีประสบการณ์สูง
แม้นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นบางคน ไม่ประสบความสำเร็จในซีรีย์ที่เขาเขียนเรื่องแรกๆ
เช่น คุณ นัทสิกิ ทาคายะ ผู้วาดเรื่อง fruit basket เคยมีรวมเล่มออกมาก่อนหน้านี้หลายเรื่อง
ก็ไม่ดัง แต่ด้วยระบบที่ดีของญี่ปุ่นทำให้รู้ว่าจะหาคนเก่งๆที่ไหน
ในอเมริกา ยากที่จะให้นักวาดการ์ตูนพัฒนาประสบการณ์จนถึงจุดที่เขาสามารถทำงานได้ดีที่สุด
และตีพิมพ์ออกมา เพราะมีเรื่องของผลการลงทุนที่ต้องมีกำไรและได้ทุนคืน การ์ตูนรวมเล่ม 10 เล่มนั้น
อาจจะต้องใช้เวลาที่ 5 ปีในการบ่มเพาะผลงาน
แต่เราก็มีนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นของเรา คือคุณฟิลลิป สมิทธิ์ คนวาด MBQ
ยอดขายไม่ได้หรูอะไรเพราะโตเกียวป็อปไม่ได้ดันมาก
ปัญหาที่ 2
นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในแม็กกาซีนการ์ตูนรายเดือน
ปั่นงานเฉลี่ยได้จำนวนมากกว่าในบ้านเรา
(ด้วยค่าต้นฉบับที่ได้รับ) นักเขียนบางคนสามารถมีผู้ช่วยจำนวนมาก
เพื่อช่วยทำงานให้เสร็จทันในเวลาที่กระชั้นชิด
หลุยส์ เรเยส
"ผมชอบทำงานในวงการการ์ตูน เลยทำงานที่บริษัทแรดิคอล(เน้นคอมิคอเมริกัน)
เราเขียนตารางงานออกมาโดยให้นักวาดวาดสับดาห์ละ 3 หน้า ตอนที่ผมปรับตารางใหม่
เป็น 4 หน้า พวกเค้าก็บ่นกันขรมว่าสงสัยผมทำงานแบบญี่ปุ่นมากไปแล้ว
นักวาดในอเมริกาไม่ได้ทำงานแบบนั้น"
"ยกตัวอย่างนะ อย่างคุณฟิลลิป สมิทธิ์ วาดได้อาทิตย์ละ 7-8 หน้า
แต่นักวาดในญี่ปุ่นวาดได้ถึง 15 หน้า"
นักวาดการ์ตูน คุณ ลีอา ฟรังโก้ ได้ยินบทสนทนาดังกล่าวก็พูดขึ้นมา...
"ผมว่า...3 หน้าต่อสับดาห์ก็ไม่เลวนะ ปีนึงก็ตั้ง 150 หน้า
คือคุณอย่าเปรียบเทียบระหว่างงานแบบสตูดิโอในญี่ปุ่นกับนักวาดที่วาดคนเดียว
และยังคุมคุณภาพงานให้ดูดีอยู่ได้"
บ้านเราก็ปัญหาเหมือนกันคือ ทำงานกันคนเดียวและค่าต้นฉบับ
คนเดียวก็ไม่ไหวแล้ว ..การจะจ้างผู้ช่วยไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่การทำงานเป็นทีมแล้วทำงานเร็วขึ้น ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ
ปัญหาที่3
การพัฒนาการ์ตูนและดันให้เกิด,
ให้ขายดีนั้นเป็นไปได้ยากกว่าการซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนซักเรื่อง
คุณโรเบริ์ต แนปตัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของ Bandai กล่าวว่า
"การพัฒนาการ์ตูนซักเรื่องของเราเองนั้นใช้เงินมากกว่าซื้อลิขสิทธิ์ถึง 4 เท่า
ทางเราก็พิจารณาที่จะทำการ์ตูนเรื่องของเรา แต่ด้วยธุรกิจ เราต้องดำเนินต่อไปได้
เพราะงั้นเราจะทุ่มเททรัพยากรไปจุดที่ทำเงินก่อน การทำเองถึงเป็นเรื่องรองๆ"
"ในอุตสาหกรรมหนังสือ ของอเมริกานั้นเป็นระบบฝากขาย
พูดง่ายๆคือ ส่งหนังสือไป 10,000 เล่ม ทางร้านจะตีหนังสือคุณคืนได้เลย 9,000 เล่ม
และ 9,000 เล่มที่ไม่ทำเงินก็เท่ากับหายนะ คือรอวันเข้าเครื่องย่อยได้เลย"
คุณลิเลียน ไดแอซเสริม
"จริงๆเราก็อยากจะจ่ายให้อาร์ติสท์มากกว่านี้ แต่ด้วยโครงสร้างธุรกิจจริง มันทำยาก"
อันนี้ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับบ้านเรา..
ปัญหาที่ 4
แนวของเรื่องที่นักวาดการ์ตูนอยากจะวาด ไม่ใช่แนวที่ขายดี(ในอเมริกา)
"บางเรื่องอย่าง Dogby Walks Alone เหมือนการ์ตูนผู้ใหญ่ แต่ในอเมริกา
ไม่มีการ์ตูนผู้ใหญ่แนวแปลกๆที่ขายดี บางคนก็ชอบแนวนี้แหละ
แต่เอาจริง เล่มนี้ขายได้ร้อยกว่าเล่มเอง..."
"ในเกาหลี อุตสาหกรรมการ์ตูนไม่ใหญ่เท่าญี่ปุ่น ก็เลยมีงานแนวทดลอง แนวแปลกๆเยอะ
และก็ทำตลาดได้ดี ...ในญี่ปุ่นก็มี...แต่ก็ไม่ได้หวือหวา เทียบกับยอดขาย แต่ในเกาหลี
การ์ตูนประเภทเดียวกันนี้กลับเป็นหนังสือขายดี"
คิดว่าบ้านเราเหมือนเกาหลีตรงที่ถ้าเป็นแนวเด่นๆ แปลกๆ
จะสามารถตีตลาดได้เหมือนกันและเป็นหนังสือขายดีได้ด้วย
อยู่ที่กลุ่มตลาด คือถ้าเป็นแนวญี่ปุ่นก็จะเป็นตลาดเด็กลงมา
และคู่แข่งก็คือการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เลยยาก ถ้าไม่แตกต่าง
ปัญหาข้อนี้ก็วาดแนวที่อยากวาดไป แล้วก็ทำให้ดี และพยายามสร้างเอกลักษณ์ตัวเอง
ปัญหาที่ 5
การ์ตูนญี่ปุ่นในท้องถิ่นยุคแรกๆมีการลอกเลียนมากเกินไป
และล้มเหลวในการถ่ายทอดเนื้อเรื่อง
ในแบบที่ทำให้การ์ตูนญีปุ่นดึงดูดใจ
โรเบริ์ต แนปตัน
"ตอนที่ อดัม วอร์เรน(นักวาดเรื่อง Empower)วาดเรื่อง dirty pair นั้น
เค้าผสมผสานกัน คือมีอิทธิพลของการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ยังมีมุมมองแบบคอมิคอเมริกันอยู่มาก
ในช่วง 5-6 ปีหลัง ก็มีอาร์ติสท์หลายๆคนพยายามที่จะวาดแนวการ์ตูนญี่ปุ่น
แต่ก็มีการลอกเลียนอยู่มาก อาร์ติสท์ก็พยายามค้นหาวิธีว่าทำยังไง
หลุยส์ เรเยส
"ในญี่ปุ่น ไม่ได้มีการแบ่งแยกว่านี่คือมังก้านะ นี่แนวญี่ปุ่นนะ
เพราะว่ามังก้าก็คือการ์ตูนประเภทนึงเหมือนกัน ผมคิดว่า สำนักพิมพ์อเมริกัน
แยกเพราะผลทางการตลาด ไม่ใช่เพราะว่ามันแตกต่างจากคอมิคอเมริกันอย่างสิ้นเชิง
ทั้งแนวภาพ การเล่าเรื่อง"
ลิเลียน ไดแอซ
"คนลอกแบบระยะต้นๆก็คือวาดตาโต ผมสีๆ แต่ในความคิดของฉัน
การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นเป็น impressionistic คือสามารถดึงผู้อ่านได้ด้วยวิธีการเล่าเรื่องหลายๆแบบ
การใช้มุมกล้องต่างกันในแต่ละช่องช่วยดึงให้ผู้อ่าน อ่านจนสุดแต่ละหน้า
นักวาดชื่อดังก็มักทำได้ดีในจุดนี้ และนั่นคือจุดที่ดึงคนเข้าไปสู่เรื่องและอินกับมัน
นักวาดการ์ตูนควรเรียนรู้จุดนี้"
ปัญหาที่ 6
มันยากที่จะหาคนวาดเก่งๆและสามารถถ่ายทอดเนื้อเรื่องได้ดีในคนๆเดียวด้วย
ลีเลียน ไดแอซ
"ฉันได้ดูพอร์ทโฟลิโอมาถึง 5 ปีอาร์ติสท์บางคนมีทักษะการออกแบบคาแร็คเตอร์และการเล่าเรื่อง
แต่ไม่มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราวที่อยู่ในหัวออกมา มันต้องรวมกันระหว่างการวาดภาพ
และความเข้าใจว่าเนื้อเรื่องดำเนินอย่างไร ซึ่งหาได้ยากในคนๆหนึ่ง"
หลุย เรเยส
"ปัญหาที่เราเจอคือนักเขียนหน้าใหม่ที่พยายามจะเขียนรูปให้ดีและเขียนเรื่องให้ดีในเวลาเดียวกัน
มันยากที่จะเป็นทั้งนักวาดและนักเขียน เราเจอนักวาดที่ดีหลายคนเขียนเรื่องแย่
เราพยายามจะช่วยแต่มันเกินหน้าที่ที่บรรณาธิการจะทำได้"
อันนี้เข้าใจว่า ทักษะการวาดรูป กับทักษะการเล่าเรื่องมันใช้คนละอย่างกัน
และส่วนใหญ่คนวาดเก่งๆที่ทำให้เรื่องลื่นไหลได้ก็จะน้อยกว่า
คือถ้าเป็นนักวาดการ์ตูนที่ดีไม่ใช่วาดเก่งอย่างเดียว แต่ต้องถ่ายทอดเป็นด้วย
ปัญหาที่ 7
มันใช้เวลาที่จะพัฒนางานภาพและการเล่าเรื่องให้ดี
แต่นักวาดการ์ตูนหลายคน ทำเป็นอาชีพโดยยังไม่พร้อมจริง
หลุย เรเยส
"ผมเห็น..เด็กๆอายุ 14 ปีใน Deviantart ที่พูดว่า -ฉันมีไอเดียการ์ตูนเรื่องเยี่ยมๆนะ-
ผมพูดกับพวกเค้าว่า รอ อีก 10 ปีนะหนู ไปเรียนรู้วิธีการเขียนก่อนจะดีกว่า...."
"ผมรู้ว่าทุกคนต้องมีการเริ่มต้นแต่มันต้องใช้เวลา ไม่มีใครอยากจ้างเด็กอายุ 18
ที่ยังไม่รู้ว่าอนาคตอยากเป็นอะไร ลองใช้ชีวิตที่นอกเหนือจากการ์ตูนดูครับ
เรียนรู้และฝึกฝนเท่าที่ทำได้ สุดท้ายจะดีเองครับ"
โรเบิร์ต แนปตัน
"วาดพินอัพได้สวยๆก็ดีครับ แต่คือคุณต้องเรียนรู้วิธีการวาด sequential art
คือ ลำดับเรื่องเป็น"
หลุย เรเยส
"ผมไม่แคร์ครับว่าคุณจะวาดนารูโตะได้ 15 ท่า...แต่ที่ผมแคร์คือคุณวาดเรื่องให้เป็นเรื่อง
อ่านรู้เรื่อง เราอยากเห็นคุณสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านจากช่องหนึ่งไปอีกช่องหนึ่ง
คุณต้องสามารถรับคำวิจารณ์ได้และเข้าใจสิ่งต่างๆในระดับวิพากษ์วิจารณ์
การพูดว่า โห งานห่วยว่ะ ....ไม่ใช่คำวิจารณ์นะครับ คนที่พยายามวิจารณ์อย่างมีความคิด
อันนี้คุณควรฟัง ในระดับวิพากษ์วิจารณ์คือคุณต้องสามารถรับฟังได้ด้วย
ไม่ใช่โต้เถียงอย่างเดียว"
โรเบิร์ต แนปตัน
"ต้องอดทนครับ ผมได้วิจารณ์พอร์ทโฟลิโอมาก็มาก สิ่งที่เจอบ่อยคือ
อาร์ติสท์มักพูดว่า -นี่ยังไม่ดีที่สุดของผมนะ-
ถ้ามันไม่ใช่ -ที่ดีที่สุด-ของคุณ
ก็อย่าเอามาให้เราดูครับ ไม่ต้องเร่ง คุณไม่ได้วิ่งแข่งกับโลก
เตรียมพร้อมให้พร้อมจริงๆไม่ใช่ว่าบ.ก.ยังไม่ทันของคุณเห็นเลยคุณก็ชิงแก้ตัวซะแล้ว"
หลุยส์ เรเยส
"ใช้อินเตอร์เนทสิครับ เพื่อนที่ดีในยุคนี้
คือตอนนี้ถ้าคุณอยากร่วมงานกับใคร ไม่จำเป็นว่าคุณต้องอยู่อำเภอตำบลเดียวกัน
คุณแค่ติดต่อกันได้ นักเขียนและนักวาดสามารถหากันได้ง่ายขึ้นครับ"
โรเบิร์ต แนปตัน
"หรือจะทำเป็นเว็บคอมิคแบบเมก้าโตเกียวก็ได้ เป็นวิธีที่ดีนะครับ ได้ฝึกสกิลไปด้วย
ได้ดึงคนอ่านไปด้วย"
ลิเลียน ไดแอซ
"จริงค่ะ...เป็นวิธีที่ดี เพราะทางเราก็เจอนักวาดจากเว็บคอมิคเหมือนกัน
แต่ปัญหาของเว็บคอมิคคือทางคนทำมักพุ่งไปที่การวาดแต่ละหน้าออกมา
มากกว่าการใส่ใจกับความลื่นไหลของเนื้อเรื่อง"
ท้ายสุดของบทความ ผู้เขียนบทความนี้ได้บอกว่า..
อ่านจบแล้วมันหมายถึง คนที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนต้องมีความพยายามมากขึ้น
เพราะว่าสำนักพิมพ์ไม่มีการเอาเงินไปทิ้งขว้าง
นักเขียนการ์ตูนต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้เป็นมืออาชีพจริงๆ
ยังมีสำนักพิมพ์หลายๆสำนักพิมพ์ในปัจจุบันเปิดกว้างและให้โอกาสกับนักเขียนใหม่ๆ
เค้ารู้ว่าสิ่งที่เค้าเขียนนั้นอาจจะทำให้หลายคนจิตตก ก็เลยฝากบทส่งท้าย
กับคำพูดของ คน 2 คนคือ...
คุณซาโตชิ นิชิมูระ (ผู้กำกับอนิเม Trigun)
"ทำที่คุณชอบครับ แล้วคุณจะภูมิใจในผลงานและมีความสุขกับมัน"
คุณยาสุฮิโระ ไนโตว(ผู้วาด Trigun)
"ในญี่ปุ่นและหลายๆที่บนโลกนี้ มีคนที่วาดการ์ตูนเรื่อง ที่ไม่ชอบวาดรูปอยู่ด้วยครับ
เพราะฉะนั้นเราต้องพัฒนาฝีมือตัวเอง ทำงานเยอะๆ ก็จะทำให้มือดีขึ้น
สิ่งที่สำคัญคือทำให้เสร็จครับ ยิ่งทำมาก ก็ยิ่งเก่งขึ้นและถ้าคุณสามารถเขียนการ์ตูนเรื่อง
ที่คนอ่านสนุกไปด้วยได้ อันนั้นคือคุณจะได้เงินครับ"
บทความนี้ยกมาจากเว็บ exteen.com
7 ปัญหาที่การ์ตูนเรื่องแนวญี่ปุ่นในท้องถิ่นไม่รุ่ง