ประวัติศาสตร์รถไฟญี่ปุ่น ตอนที่ 2
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
การที่โครงการชินคันเซ็นปรากฏออกมาเป็นรูปร่างได้ต้องยกความดีความชอบให้นาย Hideo Shima วิศวกรใหญ่ และนาย Shinji Sogo ประธานคนแรกของ JNR เพราะในช่วงแรกของการเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือชินคันเซ็นนั้นมีเสียงต่อต้านออกมาพอสมควรถึงเรื่องอนาคตของการขนส่งว่าจะเข้าสู่ยุคขนส่งทางอากาศและรถไฟก็จะตกยุคไปในที่สุด แต่นาย Shinji Sogo ได้ยืนกรานในแนวคิดรถไฟความเร็วสูงนั้นและสามารถผลักดันจนเป็นที่สำเร็จ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นนับเป็นชาติแรกที่มีการสร้างรถไฟความเร็วสูงแบบใหม่นี้
รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมติโครงการในปี 1958 สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในสาย Tokaido Shinkansen ที่เชื่อมระหว่างโตเกียวและโอซาก้า ระยะทาง 515 กิโลเมตร ซึ่งเป็นคนละเส้นกับ Tokaido Main Line เดิม แต่จะขนานกันไป โดยเป็นการวางระบบรางใหม่ทั้งระบบเป็นรางคู่ขนาดมาตรฐานหรือ 1.435 เมตร พร้อมทั้งยกระดับเส้นทางใหม่นี้ ญี่ปุ่นจำเป็นต้อง:X้เงินธนาคารโลกมาเป็นทุนก่อสร้างเส้นทางนี้ถึง 80 ล้าน ดอลล่าสหรัฐ แต่ภายหลังพบว่ามีการคำนวนงบที่ผิดพลาด ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นถึงสองเท่าตัว นาย Shinji Sogo จึงลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
ปีคศ. 1964 ทางรถไฟ Tokaido Shinkansen ก็สร้างแล้วเสร็จ โดยรถรุ่นแรกที่นำมาวิ่งคือ Shinkansen 0 Series ซึ่งมีความเร็วในการใช้งานจริงสูงสุดอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรถรุ่นนี้ถูกใช้เรื่อยมาจนปลดระวางไปในปีคศ. 2008 ทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่นี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผู้โดยสารถึง 100 ล้านคนภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี และมีผู้โดยสารรวม 1,000 ล้านคนในปี 1976 ช่วงนั้นจึงนับเป็นยุคทองของการรถไฟญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีการต่อขยายทางรถไฟสาย Sanyo Shinkansen จากโอซาก้าไปยังฮิโรชิม่าและฟุกุโอกะ ซึ่งสร้างเสร็จในปีคศ. 1975 นอกจากการวางเส้นทางชินคันเซ็นแล้วในช่วงนั้นรัฐบาลยังมีผลักดันให้ก่อสร้างรางเพิ่มเติมสำหรับทางรถไฟอีกส่วนใหญ่ที่ยังเป็นรางเดี่ยว แต่แผนการขยายและก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมนั้นหยุดชะงักลง เนื่องจากการรถไฟใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาลไปกับการวางระบบรางใหม่สำหรับรถไฟความเร็วสูงรวมไปถึงการโกงกิน และการใช้จ่ายในเรื่องไม่จำเป็น
จนกระทั่งปี 1987 การรถไฟมีหนี้สินถึง 280 ล้านดอลล่าสหรัฐ และสามารถกล่าวได้ว่าการรถไฟต้องจ่ายเงินไป 147 เยนเพื่อที่จะได้รายได้มาแค่ 100 เยน ค่าโดยสารพุ่งสูงขึ้นจนเกินกว่าค่าครองชีพจะรับไหวผู้โดยสารค่อยๆ หดหายลง
หรือนี่จะเป็นจุดจบของระบบรถไฟในญี่ปุ่น?
ยังหรอก...
แล้วจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหา?
ในปีคศ. 1987 นั่นเอง รัฐสภาญี่ปุ่นมีมติให้ แปรรูปการรถไฟอีกครั้งไปเป็นของเอกชนโดยแตกเป็นบริษัท 6 ย่อยตามภูมิภาคเช่น JR-Central, JR-West, JR-East ฯลฯ โดยเรียกรวมๆ กันว่า Japan Railways Group หรือ JR Group การแปรรูปเป็นเอกชนนี่เองทำให้แต่ละบริษัทมีอิสระในการดำเนินการมากขึ้นและที่สำคัญคือเกิดการแข่งขันระหว่างองค์กร โดยการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการลดจำนวนคนงาน และพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น จนทำให้ในปลายปี 1987 มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3.2% จากปี 1986 ผู้คนก็หันกลับมาสนใจการเดินทางด้วยรถไฟอีกครั้ง
นอกจาก JR Group จะประกอบไปด้วยบริษัทเดินรถตามภูมิภาคแล้วยังประกอบไปด้วยอีกสามบริษัทย่อยคือ JR Freight ดูแลเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ซึ่งก่อตั้งขึ้นพร้อมกับ 6 บริษัทแรก และอีกสองอย่างคือ Railway Technical Research Institute (RTRI) และ JR Information Systems
ซึ่ง RTRI นี่นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมากกับการพัฒนารถไฟในญี่ปุ่นในช่วงหลัง เนื่องจากเป็งองค์กรที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาทุกสิ่งที่เกี่ยวกับรถไฟ ตั้งแต่การพัฒนาความปลอดภัยไปจนถึงการออกแบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคต เช่น Maglev และรถไฟที่สามารถใช้ได้ทั้งรางแคบและรางมาตรฐาน
จากการทำงานอย่างเป็นเอกภาพระหว่าง JR Group ทำให้รถไฟในญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นมาใหม่และยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทั้งคุณภาพ การบริการและความเร็ว จนก้าวขึ้นเป็นแนวหน้าในการพัฒนาระบบรถไฟของโลกในทุกวันนี้
ปีนี่ก็เป็นปีครบรอบ 140 ปี ของรถไฟญี่ปุ่น และครบรอบ 25 ปี ของ JR Group แล้ว (และ 116 ปีรถไฟไทย) ถ้าเราลองมองดูดีๆ เราจะเห็นว่าประวัติศาสตร์มันมีอะไรหลายๆอย่างที่คล้ายๆกับรถไฟของประเทศไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ได้รับการช่วยเหลือจากต่างชาติ การใช้รางแบบแคบ หรือการเผชิญกับภาวะขาดทุนย่อยยับ แต่เค้าสามารถผ่านไปได้ในขณะที่เรายังอยู่ที่เดิม
หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างคือการ “วิจัย” ที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถสร้างอค์ความรู้จนพัฒนาต่อได้ด้วตนเอง และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความตั้งใจจริง ที่จะทำเพื่อประเทศชาติครับ
ผมก็หวังว่าสักวัน ไทยเราจะมีใช้อย่างเขาเช่นกัน แม่ว่าวันนี้เราจะตามหลังเค้าอยู่ 50 ปี ก็ตาม
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
ที่มา : www.pantip.com
ติดตาม ตอนที่ 1 >>> https://2th.me/thread-61240-1-1.html
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
การที่โครงการชินคันเซ็นปรากฏออกมาเป็นรูปร่างได้ต้องยกความดีความชอบให้นาย Hideo Shima วิศวกรใหญ่ และนาย Shinji Sogo ประธานคนแรกของ JNR เพราะในช่วงแรกของการเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือชินคันเซ็นนั้นมีเสียงต่อต้านออกมาพอสมควรถึงเรื่องอนาคตของการขนส่งว่าจะเข้าสู่ยุคขนส่งทางอากาศและรถไฟก็จะตกยุคไปในที่สุด แต่นาย Shinji Sogo ได้ยืนกรานในแนวคิดรถไฟความเร็วสูงนั้นและสามารถผลักดันจนเป็นที่สำเร็จ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นนับเป็นชาติแรกที่มีการสร้างรถไฟความเร็วสูงแบบใหม่นี้
ภาพ 0 Series Shinkansen ชินคันเซ็นรุ่นแรกสุด
รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมติโครงการในปี 1958 สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในสาย Tokaido Shinkansen ที่เชื่อมระหว่างโตเกียวและโอซาก้า ระยะทาง 515 กิโลเมตร ซึ่งเป็นคนละเส้นกับ Tokaido Main Line เดิม แต่จะขนานกันไป โดยเป็นการวางระบบรางใหม่ทั้งระบบเป็นรางคู่ขนาดมาตรฐานหรือ 1.435 เมตร พร้อมทั้งยกระดับเส้นทางใหม่นี้ ญี่ปุ่นจำเป็นต้อง:X้เงินธนาคารโลกมาเป็นทุนก่อสร้างเส้นทางนี้ถึง 80 ล้าน ดอลล่าสหรัฐ แต่ภายหลังพบว่ามีการคำนวนงบที่ผิดพลาด ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นถึงสองเท่าตัว นาย Shinji Sogo จึงลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เส้นทาง Tokaido Shinkansen ครับ เป็นเส้นสีส้มทึบ ไม่ใช่เส้นประนะครับ
ปีคศ. 1964 ทางรถไฟ Tokaido Shinkansen ก็สร้างแล้วเสร็จ โดยรถรุ่นแรกที่นำมาวิ่งคือ Shinkansen 0 Series ซึ่งมีความเร็วในการใช้งานจริงสูงสุดอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรถรุ่นนี้ถูกใช้เรื่อยมาจนปลดระวางไปในปีคศ. 2008 ทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่นี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผู้โดยสารถึง 100 ล้านคนภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี และมีผู้โดยสารรวม 1,000 ล้านคนในปี 1976 ช่วงนั้นจึงนับเป็นยุคทองของการรถไฟญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
ภาพ 0 Series Shinkansen ในพิพิธภัณฑ์
จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีการต่อขยายทางรถไฟสาย Sanyo Shinkansen จากโอซาก้าไปยังฮิโรชิม่าและฟุกุโอกะ ซึ่งสร้างเสร็จในปีคศ. 1975 นอกจากการวางเส้นทางชินคันเซ็นแล้วในช่วงนั้นรัฐบาลยังมีผลักดันให้ก่อสร้างรางเพิ่มเติมสำหรับทางรถไฟอีกส่วนใหญ่ที่ยังเป็นรางเดี่ยว แต่แผนการขยายและก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมนั้นหยุดชะงักลง เนื่องจากการรถไฟใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาลไปกับการวางระบบรางใหม่สำหรับรถไฟความเร็วสูงรวมไปถึงการโกงกิน และการใช้จ่ายในเรื่องไม่จำเป็น
จนกระทั่งปี 1987 การรถไฟมีหนี้สินถึง 280 ล้านดอลล่าสหรัฐ และสามารถกล่าวได้ว่าการรถไฟต้องจ่ายเงินไป 147 เยนเพื่อที่จะได้รายได้มาแค่ 100 เยน ค่าโดยสารพุ่งสูงขึ้นจนเกินกว่าค่าครองชีพจะรับไหวผู้โดยสารค่อยๆ หดหายลง
หรือนี่จะเป็นจุดจบของระบบรถไฟในญี่ปุ่น?
ยังหรอก...
แล้วจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหา?
ในปีคศ. 1987 นั่นเอง รัฐสภาญี่ปุ่นมีมติให้ แปรรูปการรถไฟอีกครั้งไปเป็นของเอกชนโดยแตกเป็นบริษัท 6 ย่อยตามภูมิภาคเช่น JR-Central, JR-West, JR-East ฯลฯ โดยเรียกรวมๆ กันว่า Japan Railways Group หรือ JR Group การแปรรูปเป็นเอกชนนี่เองทำให้แต่ละบริษัทมีอิสระในการดำเนินการมากขึ้นและที่สำคัญคือเกิดการแข่งขันระหว่างองค์กร โดยการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการลดจำนวนคนงาน และพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น จนทำให้ในปลายปี 1987 มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3.2% จากปี 1986 ผู้คนก็หันกลับมาสนใจการเดินทางด้วยรถไฟอีกครั้ง
ภาพนี้แสดงขอบเขตการดูแลของ JR แต่ละภาค
แถมอีกอันเพื่อความชัดเจนครับ
นอกจาก JR Group จะประกอบไปด้วยบริษัทเดินรถตามภูมิภาคแล้วยังประกอบไปด้วยอีกสามบริษัทย่อยคือ JR Freight ดูแลเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ซึ่งก่อตั้งขึ้นพร้อมกับ 6 บริษัทแรก และอีกสองอย่างคือ Railway Technical Research Institute (RTRI) และ JR Information Systems
ซึ่ง RTRI นี่นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมากกับการพัฒนารถไฟในญี่ปุ่นในช่วงหลัง เนื่องจากเป็งองค์กรที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาทุกสิ่งที่เกี่ยวกับรถไฟ ตั้งแต่การพัฒนาความปลอดภัยไปจนถึงการออกแบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคต เช่น Maglev และรถไฟที่สามารถใช้ได้ทั้งรางแคบและรางมาตรฐาน
ตัวอย่างรถไฟเปลี่ยนขนาดรางได้ Gauge Change Train รุ่น GCT01-201 ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาสามารถวิ่งได้บนราง 1,067 mm ถึง 1,435 mm
จากการทำงานอย่างเป็นเอกภาพระหว่าง JR Group ทำให้รถไฟในญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นมาใหม่และยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทั้งคุณภาพ การบริการและความเร็ว จนก้าวขึ้นเป็นแนวหน้าในการพัฒนาระบบรถไฟของโลกในทุกวันนี้
ปีนี่ก็เป็นปีครบรอบ 140 ปี ของรถไฟญี่ปุ่น และครบรอบ 25 ปี ของ JR Group แล้ว (และ 116 ปีรถไฟไทย) ถ้าเราลองมองดูดีๆ เราจะเห็นว่าประวัติศาสตร์มันมีอะไรหลายๆอย่างที่คล้ายๆกับรถไฟของประเทศไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ได้รับการช่วยเหลือจากต่างชาติ การใช้รางแบบแคบ หรือการเผชิญกับภาวะขาดทุนย่อยยับ แต่เค้าสามารถผ่านไปได้ในขณะที่เรายังอยู่ที่เดิม
หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างคือการ “วิจัย” ที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถสร้างอค์ความรู้จนพัฒนาต่อได้ด้วตนเอง และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความตั้งใจจริง ที่จะทำเพื่อประเทศชาติครับ
ผมก็หวังว่าสักวัน ไทยเราจะมีใช้อย่างเขาเช่นกัน แม่ว่าวันนี้เราจะตามหลังเค้าอยู่ 50 ปี ก็ตาม
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
ที่มา : www.pantip.com
ติดตาม ตอนที่ 1 >>> https://2th.me/thread-61240-1-1.html
ประวัติศาสตร์รถไฟญี่ปุ่น ตอนที่ 2