คิดว่าใครๆหลายคน รู้จัก เคยได้ยินชื่อ เคยดูหนัง เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับเขาคนนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ลึกรู้จริง เกี่ยวกับเขา และ คู่หู เอาเป็นว่าตามหัวข้อ เชิญอ่านได้เลยค่ะ 1. ผู้แต่งคือเซอร์ อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เป็นแพทย์ชาวสก็อตแลนด์ แต่งเรื่องเชอร์ล็อก โฮลมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 54 เรื่อง 2. ต้นแบบของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ มาจาก มาจากนายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่ โรงพยาบาลเอดินเบิร์กรอยัล นายแพทย์อาวุโสสามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันทีเพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวได้มากมายจากข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์ ทึ่งมาก นายแพทย์เบลล์ยังเคยช่วยเหลือการสืบสวนคดีของตำรวจบางคดีอีกด้วย 3. เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีชื่อเต็มว่า วิลเลียม เชอร์ล็อก สก๊อต โฮล์มส์ 4. โฮล์มส์เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1854 5. โฮล์มส์มีพี่ชายหนึ่งคน ชื่อ ไมครอฟต์ โฮล์มส์ (Mycroft Holmes) เป็นคนที่รักสันโดษยิ่งกว่าโฮล์มส์ ออกจะค่อนไปทางเข้ากับผู้คนไม่ได้ แต่ในเรื่องมันสมองนั่น โฮลมส์กล่าวว่าพี่ชายเก่งกว่า แต่บางครั้งก้โยนงานมาให้น้องชายทำ 6.โฮล์มส์ชอบเสพโคเคนกับมอร์ฟิน จนเข้าขั้นติดเลยทีเดียว ซึ่งนี่เป็นนิสัยที่หมอวัตสันไม่ชอบเอามากๆ 7. โฮล์มส์สามารถเล่นไวโอลินได้ดีมาก และยังเป็นเจ้าของไวโอลินสตราดิวาเรียส อันมีชื่อเสียง 8. ถึงจะเล่นไวโอลินเก่ง แต่ตอนที่โฮล์มส์ติดปัญหาหรือคิดอะไรไม่ออก เขามักจะสีไวโอลินแบบไม่เป็นเพลง ทำนองว่าไสคันชักไปตามใจฉัน 9. โฮล์มส์ไม่มีความรู้ด้านวรรณกรรม ปรัชญา ดาราศาสตร์ แม้แต่นิดเดียว 10. แต่โฮล์มส์เชี่ยวชาญด้านเคมี อาชญวิทยา ธรณีวิทยา กฏหมาย กายวิภาค รวมไปถึงสามารถบอกได้ว่าขี้เถ้ายาสูบที่ตกอยู่ที่พื้นเป็นของยี่ห้ออะไร 11.โฮล์มส์รู้จักกับหมอวัตสันครั้งแรก ก้ตอนหาห้องเช่าคู่ ห้องพักที่ทั้งสองเช่าเป็นบ้านของมิสซิสฮัดสัน ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ โดยพวกเขาเช่าพื้นที่ชั้นสองของบ้าน ส่วนมิสซิสฮัดสันอาศัยอยู่ชั้นล่าง และทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารเช้าให้พวกเขาด้วย 12. หมอวัตสันเคยเล่าไว้ในตอน ซ้อนกล เมื่อตอนที่เขาย้ายออกไปจากบ้านเช่า และโฮลมส์อาศัยอยู่เพียงลำพังว่า เงินค่าเช่าที่โฮลมส์จ่ายมิสซิสฮัดสันนั้นมากพอจะซื้อตึกหลังนั้นได้เลยทีเดียว 13. หลังคิดว่าโฮล์มส์เสียชีวิต วัตสันได้ย้ายออกจากห้องเช่า แต่พอรู้ว่าโฮล์มส์ยังไม่ตาย วัตสันก็ตอบรับคำชวนให้กลับมาอยู่ด้วยกันอีก โดยโฮล์มส์ถึงกับออกเงินให้ญาติห่างๆของตัวเองซื้อที่ที่วัตสันอยู่ตอนนั้น เพื่อที่วัตสันจะได้กลับมาอยู่ด้วยกันตามเดิม 14. ศัตรูคู่ปรับของโฮล์มส์คือ ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ 15. มอริอาตี้คอยชักใยอยู่เบื้องหลังคดีหลายคดี แต่ไม่เคยมีใครจับได้ มอริอาร์ตี้เป็นผู้มีอำนาจขนาดว่าสามารถทำให้ทั่วยุโรปสั่นคลอนได้ ถูกขนานนามว่านโปเลียนแห่งโลกอาชญากรรม 16. ในตอนจบ ผู้เขียนได้ให้โฮล์มส์ตกหน้าผาตายพร้อม ศ.มอริอาตี้ ทว่าผู้อ่านได้เรียกร้องให้เขียนต่อ โฮล์มส์จึงกลับมามีชีวิตอีกครั้ง 17. ในตอน แผนผังเรือดำน้ำ โฮลมส์ได้รับของรางวัลจากการคลี่คลายคดีให้แก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นเข็มกลัดมรกต 18. โฮลมส์ไม่ได้แต่งงาน แต่เชื่อว่าเขาเคยมีความรักกับสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดเหตุที่ทำให้ทั้งสองไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และโฮลมส์ไม่เคยสนใจผู้หญิงคนไหนอีกเลย หญิงสาวในความทรงจำของโฮลมส์ผู้นั้นมีชื่อว่า ไอรีน แอดเลอร์ (Irene Adler) 19. ไอรีน แอดเลอร์ เกิดเมื่อปี ค.ศ.1858 ที่สหรัฐอเมริกา เมืองนิวเจอร์ซีย์ เป็น นักร้องโอเปร่า พรีม่า ดอนน่า ของ จักรวรรดิวอร์ซอ เธออาศัยอยู่ในบ้านเล็กๆที่ชื่อว่ ไบรโอนี่ (Briony) ถนน เซอร์เพ็นทาย (Serpentine) นักบุญ จอร์น วูด (John's Wood) ลอนดอน ประเทศอังกฤษ 20. โฮล์มส์ มีฝีมือทางมวยและดาบ 21. โฮล์มส์เป็นมิตรที่ดีกับสก็อตแลนด์ยาร์ด โดยฉพาะสารวัตรเลสเตรด กับ เกรกสัน ซึ่งสองคนนี้ไม่ค่อยถูกกันเท่าไหร่ 22. โฮล์มส์มักยกความดีความชอบในคดีให้แก่ฝ่ายตำรวจอยู่เสมอ ในตอน สัญญานาวี โฮลมส์เคยบอกว่า ในบรรดาคดีที่เขาสะสาง 53 คดี เขายกความสำเร็จให้เพื่อนตำรวจไปเสีย 49 คดี คงมีแต่เพียงหมอวัตสันที่บรรยายถึงความสามารถของเขาผ่านทางบันทึกเท่านั้น 23. พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่ "221 บี ถนนเบเกอร์" นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในโลกที่ตั้งขึ้นสำหรับตัวละครในนิยาย 24. อนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟใต้ดินถนนเบเกอร์ นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์เชอร์ล็อก โฮลมส์และวัตสัน ที่สถานทูตอังกฤษในกรุงมอสโคว์ 25. ปี ค.ศ. 1934 มีการก่อตั้ง สมาคมเชอร์ล็อก โฮลมส์ ขึ้นในกรุงลอนดอน และ หน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์ ก็ตั้งขึ้นในกรุงนิวยอร์ก สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน (แม้ว่าสมาคมเชอร์ล็อก โฮลมส์ จะสลายตัวไปในปี 1937 แต่ก็ได้กลับฟื้นขึ้นใหม่ในปี 1951) และยังมีสมาคมเชอร์ล็อก โฮลมส์ ตั้งขึ้นในประเทศอื่น ๆ อีก เช่น ในเดนมาร์ก อินเดีย และญี่ปุ่น 26. ความโด่งดังของเชอร์ล็อก โฮลมส์ ทำให้ผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่าเขามีตัวตนจริงและพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ 27. เชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้รับการบันทึกจากกินเนสส์บุ๊คว่าเป็น "ตัวละครที่มีผู้แสดงมากที่สุด" ภาพลักษณ์ของโฮลมส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของนักสืบ และส่งอิทธิพลต่อวรรณกรรมและการแสดงในประเภทรหัสคดีจำนวนมาก 28. สำหรับประเทศไทย มีการแปลเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นภาษาไทยครั้งแรก โดย หลวงสารานุประพันธ์ 29. ต่อมา อ. สายสุวรรณ แปลต้นฉบับเชอร์ล็อก โฮลมส์ จนครบทุกตอนทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวเป็นคนแรก จนกล่าวได้ว่าชุดที่อ.สายสุวรรณ แปลเป็นชุดที่ดีที่สุด 30. ข้อสุดท้าย ใครที่อ่านมาจนจบ แล้วเกิดความรู้สึกอยากอ่านเรื่องนี้ขึ้นมา ก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่าน |
30ข้อ เกี่ยวกับเชอร์ล็อก โฮล์มส์
[IMG]