Google Translateptenthailand.com ขอเอาใจแฟนๆที่เป็นผู้หญืงและรักสุขภาพกันบ้างใน "10 โรคร้าย สุดอันตรายที่ผู้หญิงควรระวัง " |
| มะเร็งปากมดลูก |
มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นโรคร้ายอันดับแรกของสาวไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย อีกทั้งยังมีคู่นอนหลายคน และไม่รู้จักป้องกันตนเอง ทำให้ติดโรคได้ง่าย ๆ ทั้งนี้ ความน่ากลัวของมันอยู่ที่บางครั้งอาจไม่แสดงอาการอะไรเลยนานถึง 15 ปี กว่าจะทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งปากมดลูก โรคก็ลุกลามถึงระยะหลังที่ 3 ที่ 4 ซึ่งรักษาได้ยากแล้ว ป้องกันอย่างไรดี : ใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เข้ารับการตรวจภายในทุกปี โดยเฉพาะผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ส่วนสาวโสดที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งควรจะฉีดก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก |
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
เชื่อไหมว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มักพบได้บ่อยในผู้หญิง และเป็นมะเร็งที่ทำให้คนเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั่วโลก ที่สำคัญมักพบในประเทศที่มีการแข่งขันกันสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซึ่งอาจเป็นเพราะชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้คนต้องรีบรับประทานอาหาร โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าของอาหารที่บริโภคเข้าไป อีกทั้งยังไม่มีเวลาเข้าห้องน้ำขับถ่าย และยังเกิดความเครียดสะสม ส่งผลต่อลำไส้ได้ด้วย ป้องกันอย่างไรดี : ควบคุมน้ำหนักอย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน หรือทำพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดความอ้วน และหยุดสูบบุหรี่ด้วย ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ออกกำลังกายและรักษาหุ่นไม่ให้อ้วนจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้ดีขึ้นถึง 75% เลยทีเดียว |
เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ นั่นจึงทำให้คนเป็นเบาหวาน ซึ่งเบาหวานก็มีทั้งเบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทที่ 2 และเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ แต่โดยทั่วไปแล้วจะพบผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 (อินซูลินทำงานไปเป็นปกติ) มากที่สุด และผลของมันร้ายแรงถึงกระทั่งทำให้ตาบอด ไตวาย เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดในสมองได้เลย ป้องกันอย่างไรดี : ต้องควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ โดยการควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ ทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล และหากมีญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวานต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ |
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาการทั่วไปคล้าย ๆ กับไข้หวัดธรรมดา แต่ที่สังเกตได้ชัดคือ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงมาก และเจ็บคอ ซึ่งหากไม่รีบรักษา อาการจะหนักขึ้นจนทำให้ปอดอักเสบ เกิดการติดเชื้อในสมองและหัวใจ ทำให้เสียชีวิตได้เลย ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยงก็คือ เด็กเล็ก คนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันอย่างไรดี : หากอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรค ควรสวมหน้ากากอนามัย รักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคได้ |
6 | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease : COPD) |
|
|
|
เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยมาก เมื่อเป็นแล้วจะทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 3 ใน 4 เกิดจากการสูบบุหรี่ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ เกิดจากมลพิษทางอากาศ การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ รวมทั้งการประกอบอาชีพที่ต้องสูดเอาฝุ่นและสารเคมีเข้าไปในร่างกาย ป้องกันอย่างไรดี : แน่นอนค่ะ คุณต้องหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่หากปอดของคุณมีปัญหาอยู่แล้ว แนะนำให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพราะหากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาก็อาจทำร้ายปอดได้ค่ะ |
โรคมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยมากในผู้หญิงอายุระหว่าง 25-64 ปี สำหรับในประเทศไทย พบหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก แต่เมื่อปี พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา สถิติของหญิงไทยที่ป่วยมะเร็งเต้านมแซงหน้ามะเร็งปากมดลูกไปแล้ว แต่อัตราการเสียชีวิตยังน้อยกว่ามะเร็งปากมดลูก ป้องกันอย่างไรดี : ความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมจะสูงขึ้น หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้คุณสาว ๆ ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุก ๆ เดือน หากพบความผิดปกติ คือ มีก้อนที่เต้านม รูปร่างเต้านมเปลี่ยนแปลง หัวนมหดตัว คัน แดงผิดปกติ มีเลือดออก ให้ไปรับการตรวจจากแพทย์ และอย่าลืมไปให้แพทย์ตรวจปีละครั้ง |
จากการสำรวจผู้หญิงทั่วโลกในช่วงไม่นานมานี้ พบว่า มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งลำดับที่ 5 ที่ผู้หญิงทั่วโลกต้องเผชิญ และอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเพศหญิง ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ผู้หญิงทั่วโลกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นมากนั่นเอง และผู้หญิงจะไวต่อสารก่อมะเร็งมากกว่าผู้ชายด้วย ป้องกันอย่างไรดี : กว่า 90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้น หยุดสูบบุหรี่ซะ และหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่ ซึ่งเป็นบุหรี่มือสอง และนอกจากการสูบบุหรี่แล้ว การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และได้สูดดมแร่ใยหิน หรือแอสเบสตอส ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ |
ภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการทำงานของสมองลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความจำ ความเข้าใจ การใช้เหตุผล ซึ่งภาวะสมองเสื่อมนี้ เป็นอาการแสดงของหลาย ๆ โรค ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ และเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงสูงอายุ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาวะขาดฮอร์โมนเพศในวัยหมดประจำเดือน ป้องกันอย่างไรดี : จริง ๆ แล้วยังไม่มีวิธีป้องกันและรักษาโรคนี้อย่างชัดเจน เช่นนั้นแล้ว ทางที่ดีคือการกระตุ้นให้สมองได้ใช้งานอยู่เสมอ โดยอาจจะเล่นคอร์สเวิร์ด หรือเล่นเกมปริศนา ก็จะช่วยทำให้สมองได้ทำงานมากขึ้น นอกจากนั้นแล้ว การรับประทานอาหารจำพวกผักใบเขียวและน้ำมันปลา ก็ช่วยได้ |
2 | โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) |
|
|
|
นี่คือโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับต้น ๆ เช่นกัน และสำหรับหญิงไทย นี่คือโรคร้ายที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 เลยทีเดียว รู้ไหมว่า ผู้หญิงอย่างเรา ๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มากกว่ามะเร็งเต้านมถึง 2 เท่า แต่ทว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่รู้จักอาการของโรคนี้ และไม่เชื่อว่า โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกช่วงอายุ สำหรับโรคหลอดเลือดสมองนั้น ประกอบไปด้วย 3 โรคหลัก ๆ คือ เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตก และเส้นเลือดสมองอุดตัน โดยจะพบผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบมากที่สุด ทั้งนี้ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น หากในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไขมันในเลือดสูง หรือเป็นโรคหัวใจ เพราะฉะนั้น หากใครมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ตามัว อย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากถึงมือแพทย์ช้า มีสิทธิ์เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้เลยทีเดียว ป้องกันอย่างไรดี : ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่าสูบบุหรี่ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป ลดการทานอาหารที่มีไขมันและเค็มจัด ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากป่วยเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง |
หลายคนเข้าใจว่า มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้ว "โรคหัวใจและหลอดเลือด" ต่างหากที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้หญิงทั่วโลก และจากสถิติพบว่า อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้หญิงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ต่างกับผู้ชายที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงเข้ารับการตรวจสุขภาพน้อยกว่าผู้ชาย และการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้หญิงก็ให้ผลการตรวจได้ไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งเท่ากับผู้ชายด้วย ป้องกันอย่างไรดี : อย่าสูบบุหรี่ พยายามรักษาน้ำหนักตัว และคอเลสเตอรอลในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ด้วยการออกกำลังกาย และลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี สำหรับครอบครัวไหนที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด, เบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย |
10 โรคร้าย สุดอันตรายที่ผู้หญิงควรระวัง(ซ้ำขออภัย ฮาๆ)